วันที่ 27 ธ.ค.59 หลังจากสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ลงมติผ่านร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ (ฉบับที่..) พ.ศ. .... เมื่อวันที่ 16 ธันวาคม 2559 ที่ผ่านมา ได้เกิดเหตุการณ์โกลาหลและบานปลายถึงขั้นเป็นสงครามในโลกไซเบอร์
นอกจากประชาชนร่วมลงชื่อคัดค้านร่างแก้ไข พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ จำนวนกว่า 3.6 แสนคน แล้วยังมีกลุ่มบุคคลที่ไม่เห็นด้วยบางส่วนได้แสดงจุดยืนผ่านเครือข่ายสังคมออนไลน์ในเชิงสัญลักษณ์ต่อเว็บไซต์ต่างๆ อีกทั้งยังมีกลุ่มแฮ็กเกอร์เข้าโจมตีและถล่มเว็บไซต์หน่วยงานราชการและมีการแฮกข้อมูลส่วนตัวของบุคคลสำคัญบางคน (ดูตารางประกอบประเด็นต่อต้านและข้อเท็จจริงเกี่ยวกับพ.ร.บ.คอมฯ)
กฎหมายฉบับดังกล่าวเป็นการปรับปรุงกฎหมายเดิม(พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550 ) ซึ่งได้แก้ไขใน 4 ประเด็นสำคัญๆดังนี้
1. นำมาตราที่มีการตีความผิด ๆ เเละนำไปใช้กับการหมิ่นประมาทออกไป 2. เพิ่มกรรมการกลั่นกรองเข้ามาตรวจสอบถ่วงดุล ดูแลไม่ให้กระทบสิทธิเสรีภาพ 3. ยกเว้นโทษผู้ให้บริการเมื่อได้ทำตามแนวทางที่ยอมรับได้ 4.เพิ่มเติมให้มีการเปรียบเทียบปรับในความผิดที่มีโทษสถานเบา เพื่อไม่ให้ประชาชนติดในกระบวนการยุติธรรมที่ต้องใช้เวลาและค่าใช้จ่าย
เหตุผลของการแก้ไขร่าง พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ รมว.ดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอี) ที่ชื่อนายพิเชฐ ดุรงคเวโรจน์ ชี้แจงว่า เนื่องจากปัจจุบันเทคโนโลยีได้เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วและรูปแบบการกระทำความผิดนั้นซับซ้อนมากขึ้น ดังนั้นการร่างกฎหมายโดยเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีต้องมีการปรับปรุงไปตามยุคสมัย
"กฎหมายนี้จะทำให้ประชาชนได้รับความเป็นธรรมที่รวดเร็วขึ้น อีกทั้งยังเพิ่มมาตรการดูแลเนื้อหาที่ผิดกฎหมายและเรื่องที่กระทบต่อความมั่นคงปลอดภัยของประเทศและการก่อการร้ายเพื่อลดผลกระทบต่อสังคม โดยการถ่วงดุลอำนาจระหว่างฝ่ายบริหารและฝ่ายตุลาการ ส่วนการปิดเว็บไซต์ก็ต้องผ่านกลไกของศาล เพื่อไม่ให้กระทบสิทธิเสรีภาพของประชาชน อีกทั้งยังสามารถตรวจสอบการทำงานของเจ้าหน้าที่ได้โดยหากเจ้าหน้าที่กระทำความผิดหรือทำไม่ถูกต้อง ก็ต้องรับโทษตามกฎหมายเช่นกัน"
ร่าง พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ ยังจะให้ความคุ้มครองภาคธุรกิจและปกป้องรากฐานของเศรษฐกิจดิจิทัลไม่ให้ถูกโจรกรรมข้อมูลต่าง ๆ ของประชาชนและแฮกระบบโครงสร้างพื้นฐานของประเทศ รวมทั้งลดการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาทางออนไลน์คุ้มครองเจ้าของแบรนด์ต่างๆ ไม่ให้ถูกละเมิด เช่น การประมูลของปลอมผ่านโซเชียลเน็ตเวิร์ก อีกทั้งปกป้องผู้บริสุทธิ์จากการส่งข้อมูลเท็จ ข้อมูลลวงตลอดจนเว็บที่ไม่เหมาะสม เช่น เว็บแชร์ลูกโซ่ เว็บพนัน ฯลฯ ปัญหาในสังคมก็จะลดลงตามไปด้วย
ส่วนประเด็นฮอตที่จุดชนวนให้เกิดสงครามในโลกไซเบอร์ นั่นคือ" ซิงเกิล เกตเวย์ "ในประเด็นนี้ได้รับการยืนยันจากรมว.ดีอีว่า ไม่ได้กำหนดเรื่องซิงเกิล เกตเวย์ เพื่อให้ได้ข้อมูลรอบด้าน ความเห็นและเสียงสะท้อนจากผู้ที่เกียวข้องที่มีต่อร่าง พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ พ.ศ.2559 นั้นเป็นเช่นใด
เริ่มจากกลุ่มพลเมืองต่อต้าน Single Gateway : Thailand Internet Firewall #opsinglegateway ที่โจมตีเว็บไซต์หน่วยงานราชการรวมทั้งนำมาโชว์บนโลกออนไลน์เพื่อจี้ภาครัฐจนกว่าจะยุติเเละยกเลิกการเตรียมใช้กฎหมายฉบับนี้ เเม้ฝ่ายรัฐบางส่วนจะบอกว่าพร้อมเปิดเวทีให้มาคุยกัน
เเต่เมื่อมองบทบาทของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เเละพล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรีฝ่ายความมั่นคงที่พูดตรงกันว่า พร้อมจับกุมทุกคนที่ทำผิดกฎหมาย เเละย้ำชัดไม่มีทางที่เเฮกเกอร์เหล่านี้เจาะข้อมูลได้
เเต่กลุ่มนี้ก็ยังไม่มีท่าทีที่จะยุติบทบาท เเละยังประกาศว่าพร้อมจะออกปฏิบัติการ"เยี่ยมบ้านลุงตู่"เป็นระยะ เเละนำหลักฐานที่ได้จากการเจาะเเละเข้าถึงฐานข้อมูลของหน่วยงานรัฐมาเเฉบนโลกออนไลน์
ก็ต้องติดตามกันว่าเเต่ละฝ่ายจะทำอย่างไรกันต่อในระยะเวลาข้างหน้า ....
ด้าน นางอังคณา นีละไพจิตร กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) กล่าวว่า เห็นด้วยกับการปรับปรุงพ.ร.บ. ฉบับดังกล่าว ที่ผ่านมากสม. ได้ทำข้อเสนอแนะไปต่อสนช. เพื่อแสดงความกังวลเกี่ยวกับการกำหนดบทลงโทษในรายมาตรา และไม่มั่นใจคณะกรรมการที่จะเข้ามาทำหน้าที่วิเคราะห์พิจารณาข้อมูลว่าข้อมูลใดเป็นจริงหรือเป็นเท็จ เนื่องจากข้อมูลบางอย่างเป็นข้อคิดเห็นซึ่งเป็นเรื่องที่ละเอียดอ่อน ดังนั้นสนช.ควรคำนึงถึงความสงบเรียบร้อย ศีลธรรมอันดีต่อประชาชน รวมทั้งสิทธิ เสรีภาพในการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารของประชาชนด้วย
"ปริญญา หอมเอนก"ผู้เชี่ยวชาญด้านความปลอดภัยทางด้านอินเทอร์เน็ต มองว่า หลังจากที่ได้ศึกษาร่างพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ แล้ว พบว่าไม่เลวร้าย และมองว่ามีความทันสมัยพอที่จะนำออกใช้เป็นประกาศ เป็นร่างกฎหมายที่สมบูรณ์ถึง 90% โดยเฉพาะอย่างยิ่งสาระสำคัญของร่างดังกล่าวว่า ใครละเมิดสิทธิ์ต้องมีหมายศาล
"ไม่มีใครจะทำอะไรเกินเลยได้โดยไม่มีหมายศาล ถ้าทำติดคุก สั่งปิดเฟซบุ๊ก สั่งปิดเว็บไม่ได้ ต้องมีหมายศาลเพราะในมาตรา 18 (4) ขึ้นไปขอดูข้อมูลต้องมีเหตุอันควรที่รัฐมนตรีว่าการต้องลงนามสัญญาหลังจากนั้นส่งไปถึงศาล ยังมีคณะกรรมการกลั่นกรอง จำนวน 5 คน โดย 2 คนมาจากภาคเอกชน และในร่างกฎหมายยังระบุว่าต้องให้องค์กรสิทธิมนุษยชนมีส่วนร่วมด้วย และในร่างกฏหมายยังระบุว่าต้องจำโทษไม่เกิน 5 ปีปรับไม่เกิน 1 แสนบาท หรือ ทั้งจำและปรับ"
อีกหนึ่งเสียงที่น่าสนใจจากภาคผู้ประกอบการ "ภาวุธ พงษ์วิทยาภาณุ "กรรมการผู้จัดการ บริษัท ตลาดดอตคอม จำกัด ผู้ให้บริการอีมาร์เก็ตเพลส มีมุมมองว่า พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฉบับใหม่มีการปรับปรุงหลาย ๆอย่างดีขึ้น เช่น การมีศาลเข้ามามีบทบาทมากขึ้น การรับผิดชอบของผู้ให้บริการ การตัดการหมิ่นประมาทออก เป็นต้น
"กฏหมายส่วนใหญ่ดี แต่การตีความของแต่ละคน แต่ละกลุ่ม และการนำไปบังคับใช้แตกต่างกันตามวัตตถุประสงค์ของแต่ละกรณี จึงทำให้กฏหมายอาจมีช่องโหว่ และถูกนำไปใช้ในทางที่ผิดได้"
ผู้ประกอบการรายนี้มีความเห็นว่า "พ.ร.บ.นี้ผมเพิ่งเข้ามาช่วงท้าย ๆแต่กฎหมายนี้ฉบับแรกที่ออกไปเมื่อ 10 ปีก่อน (พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์พ.ศ.2550) ตอนที่ทำงานในสมาคมผู้ดูแลเว็ปไทย ได้มีโอกาสทำงานติดตามกฏหมายฉบับนี้อย่างใกล้ชิดในคณะทำงานร่างคู่ขนานของกฏหมายตัวนี้จากฟากเอกชน เเละยังเสนอแนะว่า ควรศึกษากฏหมายเหล่านี้เอาไว้โดยเฉพาะคนที่ทำงานเกี่ยวข้องกับเทคโนโลยี เพราะเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับพวกเราโดยตรงเลยทีเดียว"
"ผมเคยเจอปัญหากับกฏหมายนี้ในกรณียก Server ของTARAD.com เมื่อเกือบ 8 ปีก่อน ตอนนั้นแทบจะเป็นเรื่องของเจ้าหน้าที่รัฐล้วน ๆเลย"
บทสรุปร่างพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2559 ในสายตาบุคคลในข้างต้นนั้น ต่างมองว่าไม่ได้ลิดรอนหรือปิดกั้นเสรีภาพของประชาชน อีกทั้งยังให้ความเป็นธรรมกับผู้เสียหาย และสามารถดูแลระบบโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญของประเทศ เเต่ปฏิบัติการ