โซลาร์ดีมอบแผงโซลาร์ฯหนุนงานวิจัยนิสิตวิศวะจุฬาฯ

19 เม.ย. 2560 | 05:20 น.
โซลาร์ดีมอบแผงโซลาร์ฯสนับสนุนงานวิจัย ให้แก่นิสิต คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในหัวข้อวิจัย การติดตั้งแผงลดความร้อนเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพแผงโซลาร์ และการคัดแยกชิ้นส่วนขยะจากแผงโซลาร์เพื่อนำกลับมาใช้ใหม่

พลังงานสะอาดได้เข้ามามีบทบาทสำคัญกับชีวิตประจำวันของเรามากขึ้น สังเกตได้จากหลายหน่วยงานทั้งภาครัฐ เอกชนและครัวเรือนต่างๆ เริ่มตระหนักถึงความสำคัญของสิ่งแวดล้อม และหันมาใช้พลังงานสะอาดเพิ่มขึ้น โดยดึงเอาพลังงานที่มีอยู่จากธรรมชาติมาใช้ให้เกิดประโยชน์ ทั้งพลังงานน้ำ พลังงานลม รวมถึงพลังงานแสงอาทิตย์ ซึ่งเป็นพลังงานสะอาดที่เหมาะกับสภาพอากาศของเมืองไทย ที่ควรได้รับการต่อยอดพัฒนา

นายสัมฤทธิ์ สิทธิวรานุวงศ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท โซลาร์ดี คอร์ปอเรชั่น จำกัด บริษัทจำหน่ายและติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าบนหลังคาแบบครบวงจร กล่าวว่า บริษัทฯ ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของพลังงานสะอาดที่มีบทบาทต่อการศึกษาไทย จึงให้การสนับสนุนงานวิจัยของนิสิตคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยได้ทำการส่งมอบแผง LG Mono X2 และ NeONแผ่นผลิตพลังงานแสงอาทิตย์ กำลังไฟ 315 วัตต์ จำนวน 4 แผง ให้กับคณาจารย์และนิสิตคณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เพื่อใช้ทำการศึกษาวิจัยในหัวข้ อ “การลดความร้อนให้กับแผงโซลาร์ เซลล์โดยติดตั้งระบบครีบอลูมิเนียม” และ“วัสดุและการแยกส่วนแผงเซลล์ แสงอาทิตย์ เพื่อนำวัสดุที่มีค่ากลับมาใช้ใหม่”

แม้ว่าแผงพลังงานโซลาร์เซลล์ จะถูกผลิตขึ้นมาเพื่อดึงเอาความร้อนจากแสงอาทิตย์ แปรเปลี่ยนเป็นพลังงาน เพื่อช่วยลดกำลังการใช้ไฟจากมิเตอร์หลัก แต่ด้วยสภาพภูมิอากาศที่ร้อนชื้นและอุณหภูมิสูงของเมืองไทย กลับส่งผลให้ประสิทธิ ภาพของแผงโซลาร์เซลล์ทำงานได้ ไม่เต็มประสิทธิภาพเท่าที่ควร จึงทำให้เกิดหัวข้อการวิจัย “การลดความร้อนให้กับแผงโซลาร์ เซลล์โดยติดตั้งระบบครีบอะลูมิเนียม” ในครั้งนี้ขึ้น

นายชนินทร์ ศีลธรรม และ นายศุภวิชญ์ วารีสุรหาญ นิสิตชั้นปีที่ 4 คณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า จากปัญหาที่เกิดขึ้น ได้คิดค้นต่อยอดและพัฒนาอุปกรณ์ ช่วยระบายความร้อนให้กับแผงโซลาร์เซลล์ ซึ่งได้ดำเนินการคิดค้นและติดตั้งแผงครีบอะลูมิเนียมเข้าไปบริเวณใต้แผง และอยู่ในระหว่างการทดสอบประสิทธิภาพ ซึ่งจากการติดตั้งอุปกรณ์ดังกล่าว คาดว่าจะสามารถช่วยกระจายความร้อนใต้แผง และส่งผลให้ตัวแผงมีประสิทธิภาพในการผลิตพลังงานมากขึ้น แต่ด้วยต้นทุนการผลิตอุปกรณ์ที่ สูงเกินไป จึงทำให้เกิดข้อจำกัดหากนำมาใช้ งานจริง ซึ่งถ้าหากได้นำงานวิจัยนี้ไปต่อยอดพัฒนา โดยเลือกใช้วัสดุที่ให้คุณสมบัติใกล้เคียงในต้นทุนที่ถูกลง คาดว่าจะสามารถช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานให้กับแผงโซลาร์ เซลล์ และเพิ่มกำลังการผลิตกระแสไฟฟ้าได้เป็นอย่างดี จนสามารถใช้งานได้จริงในครัวเรือนและภาคอุตสาหกรรม

14-นายณัฐภาส ฑีฆายุวัฒน นิสิตคณะวิศวะกรรมสิ่แวดล้อม จุฬา_00 นี่จึงเป็นอีกขั้นของการพัฒนาในวงการพลังงานสะอาดของเมื องไทยที่ควรได้รับการสนับสนุน

นอกจากนั้น การใช้แผงโซลาร์เซลล์เพื่อผลิตกระแสไฟฟ้าในครัวเรือน เริ่มได้รับความนิยมในกลุ่มคนที่ เชื่อมั่นในพลังงานสะอาด  ซึ่งถ้าย้อนกลับไปเมื่อ 5-6 ปีที่แล้วในประเทศไทย มีการติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์เพื่อผลิตพลังงานแสงอาทิตย์ใช้ งานรวม 376 เมกกะวัตต์ในปี 2555และได้เพิ่มขึ้นเป็น 2,146  เมกกะวัตต์ ในสิ้นปี 2559 จะเห็นได้ว่ามีจำนวนเพิ่มขึ้นกว่า 5-6 เท่าตัว และหลังจากหมดอายุการใช้งาน จะทำให้เกิดขยะจากแผงโซลาร์เป็ นจำนวนมาก ซึ่งปัญหานี้ควรได้รับการจัดการอย่างเหมาะสม

นายณัฐภาส ฑีฆายุวัฒน์ และ นายเทพอวยพร ทิพย์วังเมฆ นิสิตชั้นปีที่ 4 คณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า จากปัญหาดังกล่าวจึงได้คาดการณ์ปริมาณการใช้โซลาร์ เซลล์และปริมาณขยะจากแผงโซลาร์ ที่จะเกิดขึ้นในอนาคตและทำวิจัยในหัวข้อ “วัสดุและการแยกส่วนแผงเซลล์ แสงอาทิตย์ เพื่อนำวัสดุที่มีค่านำกลับมาใช้ใหม่” เพื่อลดปริมาณขยะที่เกิดจากแผงโซลลาร์ โดยได้ทำการแยกส่วนประกอบแต่ละส่วนของแผงโซลาร์เซลล์ นำมาศึกษาวิธีการย่อยสลาย ซึ่งจากศึกษาพบว่าชิ้นส่วนทั้งหมดที่คัดแยกออกมา จะสามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้กว่า 90% ทั้งในภาคอุตสาหกรรมอื่นๆ รวมถึงในตลาดโซลาร์ด้วยเช่นกัน”

ด้าน ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พิชญ รัชฏาวงศ์ อาจารย์ภาควิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งเป็นอาจารย์ที่ปรึกษาในโครงการวิจัยดังกล่าว กล่าวว่า พลังงานสะอาดอย่างโซลาร์เซลล์ คือ อนาคตของประเทศไทย ที่ควรได้รับการพัฒนาและนำมาใช้ให้แพร่หลายมากขึ้นในอนาคต โดย บริษัท โซลาร์ดี คอร์ปอเรชัน จำกัด ก็นับเป็นหนึ่งในบริษัทผู้นำด้านพลังงานสะอาดของเมืองไทย ที่เลือกใช้แผงคุณภาพนำเข้าจากประเทศเกาหลีที่มีประสิทธิภาพ แต่ถ้าหากในอนาคตอันใกล้นี้ ประเทศไทยสามารถผลิตแผงพลังงานใช้เองได้ โดยตัวแผงที่ถูกออกแบบมาให้เข้ากับสภาพอากาศของเมืองไทย ก็น่าจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตพลังงานได้เป็นอย่างดี ทั้งนี้ การได้รับการสนับสนุนแผงโซลาร์เซลล์ LG Monocrystalline จากบริษัท โซลาร์ดี คอเปอเรชั่น จำกัด ในครั้งนี้นับเป็นสื่อการเรียน การสอนที่ช่วยให้นักศึกษาสามารถเข้าใจกลไกการทำงานของระบบผลิตพลังงานแสงอาทิตย์ได้อย่างดีเยี่ยม

ด้าน นายสัมฤทธิ์ สิทธิวรานุวงศ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท โซลาร์ดี คอร์เปอเรชั่น จำกัด ในฐานะที่โซลาร์ดี คือ องค์กรที่ยึดหลัก Simply Clean Energy ได้กล่าวว่า รู้สึกยินดีมากที่ได้มีส่วนร่วมกับโครงการวิจัยนี้ เนื่องจากตนเองนั้นได้จบการศึกษาที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และการวิจัยนี้ยังเป็นสิ่งที่ สามารถนำมาเรียนรู้และพัฒนาต่อไปได้เพื่อให้คนมีความเข้าใจต่อแผงโซลาร์เซลล์มากยิ่งขึ้นว่าสามารถนำกลับมารีไซเคิล และนำมาใช้ใหม่ได้ เพราะคนมักคิดว่าเมื่อหมดอายุ การใช้งานก็จะกลายเป็นขยะที่ย่อยสลายยาก และยังยินดีที่จะสนับสนุนโครงการ เพื่อการศึกษาแบบนี้ต่อไป พร้อมกล่าวทิ้งท้ายว่า ทาง Solar D จะมีแผงแบบใหม่ล่าสุดที่ประสิทธิภาพดีกว่าเดิมจาก LG  และระบบ Storage มาโชว์ที่งาน สถาปนิกในวันที่ 2 – 7 พ.ค. 2560 พร้อมโปรโมชั่นพิเศษมากมาย ”