รัฐออกมาตรการช่วยเหลือ SMEs ชุดใหม่

05 พ.ค. 2560 | 05:24 น.
คณะกรรมการประชารัฐชุส่งเสริม SMEs Startup และ Social Enterprise ภายใต้คณะกรรมการสานพลังประชารัฐ มีเครือข่ายพันธมิตรทั้งภาครัฐและเอกชนกว่า 67 หน่วยงาน ได้มีการจัดการประชุมในวันที่ 5 พฤษภาคม 256 เพื่อสรุปกิจกรรม และวางกรอบการส่งเสริมและพัฒนา SMEs ในปี 2560

โดยได้ร่วมกันพิจารณามาตรการช่วยเหลืออย่างครบวงจรในทุกมิติ ทั้งในด้านการช่วยเหลือทางด้านการเงิน และการพัฒนาด้านอื่นๆ เช่น การเพิ่มผลิตภาพ การพัฒนาผลิตภัณฑ์ การตลาด เป็นต้น โดยมีการติดตามความคืบหน้าการปล่อยสินเชื่อจากกองทุนพัฒนาเอสเอ็มอีตามแนวประชารัฐ 2 หมื่นล้านบาท และสินเชื่อ SME Transformation Loan 1.5 หมื่นล้านบาท
ทั้งนี้ ในส่วนของกองทุน 2 หมื่นล้านบาทนั้น ได้ทำหลักเกณฑ์ และระบบต่างๆเรียบร้อยแล้ว จะเริ่มปล่อยกู้ได้ในช่วงปลายเดือนพฤษภาคม โดยจะมีกิจกรรมสัญจรเพื่อชี้แจงโครงการในต่างจังหวัดจำนวน 8 ครั้ง ซึ่งคาดว่าจะช่วยเหลือเอสเอ็มอีรายที่มีศักยภาพได้กว่า 5,000 ราย ขณะที่สินเชื่อ SME Transformation Loan 1.5 หมื่นล้านบาท คาดว่าจะช่วยเหลือเอสเอ็มอีได้ 3,000 ราย

นอกจากนี้ ยังได้มีการพิจารณาการช่วยเหลือผู้ประกอบการช่วยเหลือกลุ่มผู้ประกอบการรายย่อยขนาดเลกมาก (Micro) ที่เป็นผู้ประกอบการรายเดียวมีการจ้างงานไม่เกิน 5 คน โดยจะใช้งบประมาณจากกองทุนฟื้นฟูเอสเอ็มอีของ สสว. วงเงิน 2 พันล้านบาทมาให้กู้ยืมแก่ Micro SME และรัฐวิสาหกิจวงเงินรวม 500 ล้านบาท รายละไม่เกิน 2 แสนบาท ซึ่งคาดว่าจะมีผู้ประกอบการที่ได้รับประโยชน์ไม่ต่ำกว่า 2,500 ราย อีกทั้งยังมีโครงการยกระดับมาตรฐานสินค้าของ Micro SME และวิสาหกิจชุมชนให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาดวงเงิน 100 ล้านบาท โดยคาดว่าจะเข้าถึง Micro SME และวิสาหกิจชุมชนได้ไม่ต่ำกว่า 10,000 ราย

อย่างไรก็ดี ยังมีแนวทางการสร้างเครือข่ายและความร่วมมือของเอสเอ็มอีในภูมิภาคอาเซียน เป็นอีกหนึ่งในเป้าหมายในการยกระดับเอสเอ็มอี ดังนั้น คณะทำงานประสารพลังประชารัฐจึงมีแผนการจัดงาน ASEAN SME Shift Up 2017:CONNECTION ในปลายเดือนสิงหาคม เพื่อยกระดับความรู้ ความสามารถ และสร้างโอกาสเอสเอ็มอีในภูมิภาคอาเซียนและสร้างเครือข่ายความเข้มแข็งและความร่วมมือในภูมิภาคอาเซียน เพื่อสู้กับการแข่งขันในตลาดโลก

สำหรับกลุ่มเป้าหมายที่คาดว่าจะได้รับประโยขน์ในการจัดงานครั้งนี้ประมาณ 20 ล้านคน โดยในงานจะมี 4 กิจกรรมประกอบด้วย 1.การปะชุม ซึ่งเป็นการรวมตัววิทยากร ผู้ชำนาญการจากทั่วโลกเพื่อแชร์ประสบการณ์ จัด Broadcast Live งานสัมมนาไปตามภูมิภาคต่างๆในไทย ,2.การตลาดยุคใหม่ เป็นการรวมตัวของผู้ชำนาญการในด้านดิจิตอลมาร์เก็ตติ้ง การซื้อขายออนไลน์ รวมถึงการค้าขายผ่านช่องทางต่างๆระหว่างประเทศ ,3.การแสดงสินค้า โดยจัดแสดงสินค้าที่เกิดจากความคิดสร้างสรรค์ และเป็นประโยชน์ รวมถึงเทรนด์ใหม่ล่าสุดโดยเน้นกลุ่มอุตสาหกรรมด้านครีเอทีพ อาทิ แฟชั่น สปา สินค้าตกแต่ง และ4.กิจกรรมการแลกเปลี่ยนความรู้ CLMV (CLMV Knowledge Exchange)

ผลที่จะได้รับคือ เกิดการเชื่อมโยงเอสเอ็มอีในภูมิภาคอาเซียนโดยใช้กลุ่ม CLMV ขับเคลื่อนและผลักดันสู่เวทีโลก รวมถึงเกิดการเรียนรู้เทคโนโลยีใหม่ๆเพื่อพัฒนาและต่อยอดไปเป็น Smart SMEs/Smart Startup และขับเคลื่อน SMEs ด้วยเทคโนโลยีและความคิดสร้างสรรค์ เพื่อสร้างมูลค่าการค้าการลงทุน โดยเมื่อการต่อยอดและพัฒนามีประสิทธิภาพจะก่อให้เกิดการลงทุนได้อย่างมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืนได้อย่าเป็นรูปธรรม