ผุดทางคู่ 1.7 แสนล้าน กรศ.ดัน 10 โครงการเชื่อม 3 ท่าเรือแบบไร้รอยต่อ

10 พ.ค. 2560 | 03:00 น.
อัปเดตล่าสุด :10 พ.ค. 2560 | 07:10 น.
กรศ.เปิดแผนลงทุนรถไฟทางคู่ 1.7 แสนล้าน ใน10 โครงการ เชื่อมโยง 3 ท่าเรือแหลมฉบัง-สัตหีบ-มาบตาพุด คาดระยะแรกเริ่มก่อสร้างในปี 2563

ในการประชุมคณะกรรมการบริหารการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก(กรศ.) เม่อวันที่ 4 พฤษภาคม ที่ผ่านมา ได้เห็นชอบสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร(สนข.) การ่าเรือแห่งประเทสไทย การนิคมอุตสาหกรรม (กนอ.) การท่าเรือสัตหีบ ร่วมกันเร่งศึกษาแผนแม่บทโครงข่ายรถไฟทางคู่เชื่อมดยงกับ 3 ท่าเรือ ได้แก่ ท่าเรือแหลมฉบัง ท่าเรือสัตหีบ และท่าเรือมาบตาพุด และการขนส่งสินค้าในภูมิภาคอย่างไรรอยต่อให้แล้วเสร็จใน 1 เดือนเพื่อนำเสนอในการประชุมคณะกรรมการนโยบายการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก ที่มีพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธานในวันที่ 16 มิถุนายนนี้

นายอุตตม สาวนายน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ในฐานะประธานการประชุมคณะกรรมการบริหารการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (กรศ.) เปิดเผยกับ"ฐานเศรษฐกิจ"ว่า สำหรับการพัฒนารถไฟทางคู่เพื่อเชื่อมโยงท่าเรือทั้ง 3 แห่งแบบไร้รอยต่อ จะใช้บงลงทุนประมาณ 1.7 แสนใน 10 โครงการ ระยะเวลา 10 ปี (2561-2570) แบ่งการก่อสร้างเป็น 3 ระยะ โดยระยะแรกจะดำเนินการเชื่อมโยง 3 ท่าเรือ จะดำเนินการโครงการเพิ่มประสิทธิภาพทางรถไฟช่วงหัวหมาก-ฉะเชิงเทรา-ศรีราชา ระยะทาง 125 กิโลเมตร โครงการเดินรถไฟขนสินค้าไทย-กัมพูชา โครงการรถไฟทางคู่ ช่วงศรีราชา-มาบตาพุด ระยะทาง 70 กิโลเมตร และโครงการเชื่อมสถานีบรรจุและแยกสินค้ากล่อง (ICD) ฉะเชิงเทรา

ส่วนระยะที่ 2 จะเป็นการรองรับนิคมอุตสาหกรรม ที่จะมีโครงการรถไฟทางคู่ ช่วงศรีราชา-ระยอง ระยะทาง 79 กิโลกเมตร และช่วงระยอง-มาบตาพุด ระยะทาง 22 กิโลเมตร โครงการรถไฟทางเดี่ยว ช่วงระยอง-จันทบุรี-ตราด ระยะทาง 150 กิโลเมตร และการดำเนินงานในระยะที่ 3 เป็นการก่อสร้างเชื่อมโยงกับภูมิภาค จะเป็นโครงการรถไฟทางคู่ ช่วงระยอง-จันทรบุรี-ตราด ระยะทาง 188 กิโลเมตร โครงการรถไฟทางคู่ ช่วงคอลงสิบเก้า-อรัญประเทศ ระยะทาง 174 กิโลเมตร โครงการรถไฟทางคู่ช่วงท่าแฉลบ-พานทอง ระยะทาง 120 กิโลเมตร โครงการไอซีดี หนองปลาดุก

ทั้งนี้ จากการลงทุนในโครงการดังกล่าวแล้วเสร็จภายในปี 2570 จะช่วยให้สามารถขนส่งสินค้าทางรางได้ 42 ล้านตันต่อปี จากปัจจุบันการขนส่งทางรางมีเพียง 11 ล้านต้นต่อปี ซึ่งจะช่วยให้เกิดการขนส่งสินค้าในภูมิภาคได้สะดวกขึ้น และยังช่วยลดต้นทุนด้านโลจิสติกส์ของประเทศ ที่มีการตั้งเป้าหมายการขนส่งด้วยระบบรางได้ 20-30 % ของการขนส่งสินค้าทั้งประเทศ และยังเป็นการสร้างความเชื่อมั่นให้กับนักลงทุนที่จะมาลงทุนในอีอีซีอีกด้วย

โดยในส่วนของการดำเนินงานระยะแรก ในส่วนของโครงการรถไฟทางคู่ช่วงศรีราชา-สัตหีบ-มาบตาพุด และการแก้ปัญหาจุดตัดทางรถไฟช่วงหัวหมาก-ฉะเชิงเทรา-ศรีราชา จะศึกษาและออกแบบในรายละเอียดให้แล้วเสร็จภายในปี 2561 และใน 6 เดือนแรกของปี 2562 จะดำเนินการจัดทำรายงานผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมหรืออีไอเอให้แล้วเสร็จ และในเดือนกรกฎาคม 2562 จะประกาศเชิญชวนผู้รับเหมาก่อสร้าง และเริ่มก่อสร้างในปี 2563 คาดว่าจะดำเนินการก่อสร้างแล้วเสร็จในปี 2565

จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 37 ฉบับที่ 3,259 วันที่ 7 - 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2560