แผนพัฒนาท่าเรือแหลมฉบังและมาบตาพุดเฟส 3 เดินหน้า เร่งศึกษาอีเอชไอเอ อุตตม-อาคม” ประชุมพิจารณาแผนพัฒนา 24 พ.ค. นี้ ก่อนเสนอนายกฯเคาะอนุมัติ 16 มิ.ย. 60
การพัฒนาท่าเรือแหลมฉบงั เฟส 3 และท่าเรอื มาบตาพุดเฟส 3 เป็นส่วนหนึ่งที่รัฐบาลจะลงทุนโครงสร้างพื้นฐานเพื่อรองรับการพัฒนาเขตเศรษฐกิจภาคตะวันออกหรืออีอีซีซึ่งในวันที่ 24 พฤษภาคมนี้ นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม นายอุตตมสาวนายน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม นายคณิศ แสงสุพรรณ เลขาธิการคณะกรรมการนโยบายการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก(กรศ.) และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะประชุม เพื่อพิจารณาโครงการลงทุนที่สำคัญของท่าเรือทั้ง 2 แห่งก่อนจะเสนอให้คณะกรรมการนโยบายการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก ที่มีพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีเป็นประธานพิจารณาในวันที่ 16 มิถุนายน 2560 นี้
ร.ต.ต.มนตรี ฤกษ์จำเนียร ผู้อำนวยการท่าเรือแหลมฉบังเปิดเผยถึงความคืบหน้าการพัฒนาท่าเรือแหลมฉบังขั้นที่ 3 ว่า ขณะนี้ได้จัดทำกระบวนการประชาพิจารณ์ครั้งที่ 2 เสร็จไปแล้ว และจะนำข้อเสนอและความเห็นต่างๆมาปรับปรุง คาดว่าจะสามารถจัดทำประชาพิจารณ์ครั้งที่ 3 ได้ในเดือนกันยายนปีนี้
สำหรับโครงการพัฒนาท่าเรือแหลมฉบังระยะที่ 3 มีวงเงินสำหรับลงทุน ทั้งในส่วนของภาครัฐและเอกชนไว้ 8.6 หมื่นล้านบาท โดยจะมีการก่อสร้างท่าเรือ 1,600 ไร่ ความยาวท่า 4,500 เมตร ความลึกแอ่งจอดเรือ18 เมตรจากระดับนํ้าทะเลปานกลาง ประกอบดว้ ย ท่าเทียบเรอืขนส่งรถยนต์ (Ro/Ro) 1 ท่า ท่าเทียบเรือสินค้าทั่วไปและตู้สินค้า 1 ท่า ท่าเทียบเรือตู้สินค้า 7 ท่า
สาเหตุสำคัญที่ต้องพัฒนา เพราะในปัจจุบันมีปัญหาด้านการจราจรและความแออัดของเรือที่ขยาย อาจจะทำให้การขยายตัวทางเศรษฐกิจนั้นสะดุด เพราะไม่สร้างความจูงใจให้กับนักลงทุนโดยขณะนี้อยู่ระหว่างการศึกษาผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ (อีเอชไอเอ) เนื่องจากต้องมีการถมทะเล
ส่วนผลกระทบที่คาดว่าจะเกิดขึ้นกับประมงพื้นบ้าน ท่าเรือจะต้องมีการเยียวยาและจะนำพื้นที่ว่างเปล่ากว่า 60 ไร่ มาจัดสรรพื้นที่ให้ผู้ได้รับผลกระทบและมีการสร้างตลาดประมงเพื่อที่ว่าจะให้ชาวบ้านสามารถพึ่งพาตนเองได้ในอนาคต
นางสาวนลินี กาญจนามัย ผู้อำนวยการสำนักงานท่าเรืออุตสาหกรรมมาบตาพุด เปิดเผยว่า การพัฒนาท่าเรือมาบตาพุดเฟส 3 อยู่ระหว่างการพิจารณารายงานศึกษาอีเอชไอเอ ของคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ โดยการทำรายงานครั้งนี้การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย(กนอ.)ได้ผ่านการรับฟังความเห็นของชุมชนในพื้นที่แล้ว
ปัจจุบันท่าเรือมาบตาพุดเป็นท่าเรืออุตสาหกรรมที่ใหญ่ที่สุด รองรับสินค้าได้ 25 ล้านตันต่อปี และการใช้งานเต็มศักยภาพแล้วจึงต้องขยายท่าเรือ โดยจะรองรับสินค้าเหลว สินค้าเทกองและสินค้าตู้คอนเทนเนอร์ แบ่งออกเป็น 6 ส่วน คือ 1.ท่าเทียบเรือสินค้าเหลว 2 ท่า มีพื้นที่ 200ไร่ ความยาวหน้าท่า 814 เมตร
2.ท่าเทียบเรือก๊าซ 3 ท่า มีพื้นที่ 200 ไร่ ความยาวหน้าท่า 1,415 เมตร 3.ท่าเทียบเรือบริการ4.คลังสินค้าและธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องกับก๊าซธรรมชาติ 150 ไร่ 5.บ่อเก็บกักตะกอน 450 ไร่ 6.เขื่อนกันคลื่น 2 ช่วง ความยาวรวม1,627 เมตร
ตามแผนที่วางไว้จะเปิดให้บริการท่าเรือมาบตาพุดเฟส3 ได้ในปี 2563 และตั้งงบลงทุนไว้ที่ 10,154 ล้านบาท โดยกระทรวงอุตสาหกรรมจะเสนอกรศ. เป็นผู้เลือกรูปแบบการลงทุน ซึ่งรูปแบบการลงทุนมี 2 แนวทาง คือภาคเอกชนร่วมลงทุนกับรัฐ (พีพีพี) และมอบให้ กนอ.เป็นผู้ลงทุนเองโดยใช้เงินของกนอ.หรือการกู้เงินมาลงทุน แต่ กนอ.คงไม่สามารถลงทุนเองทั้งหมดในครั้งเดียว
จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 37 ฉบับที่ 3,262 วันที่ 18 - 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2560