เจาะ! จุดแข็ง วิพากษ์! จุดอ่อน "3 ปี คสช."

22 พ.ค. 2560 | 08:28 น.
การบริหารประเทศในช่วง 3 ปีของคสช. แม้จะทำให้เศษฐกิจเติบโตอย่างต่อเนื่อง แต่การว่างงานกลับเพิ่มขึ้น อะไรคือจุดแข็งและจุดอ่อนของคสช. ไปติดตามจากรายงาน

นี่คือเสียงสะท้อนของคนในแวดวงต่างๆ ถึงผลงานของคสช.ในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา

คงต้องยอมรับว่า การบริหารประเทศในช่วง 3 ปีของรัฐบาลคสช. มีทั้งจุดแข็งและจุดอ่อน

ถ้าดูจากตัวเลขทางเศรษฐกิจ จะพบว่า 3 ปีภายใต้รัฐบาลคสช. เศรษฐกิจของประเทศเติบโตขึ้น ตัวเลขผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศเพิ่มขึ้น 2.4 ล้านล้านบาท

คนไทยมีรายได้เฉลี่ยต่อหัวเพิ่มขึ้น 38,000 บาทต่อคนต่อปี

ขณะที่การส่งออกสินค้า มีมูลค่าลดลง 1หมื่น 1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือ 3 แสน 8 หมื่นล้านบาท
อัตราการว่างงานเพิ่มขึ้น 1 แสนคน

แม้ตัวเลขเศรษฐกิจหลายด้านจะดีขึ้น แต่ถ้าดูจากผลสำรวจของสำนักวิจัยต่างๆจะพบว่า การแก้ปัญหาเศรษฐกิจยังเป็นจุดอ่อนสำคัญของรัฐบาล คสช.

 

“สวนดุสิตโพล” มหาวิทยาลัยสวนดุสิต สำรวจความเห็นของประชาชน ของถึงจุดแข็งจุดอ่อนของรัฐบาลพล.อ.ประยุทธ์ เมื่อต้นเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา พบว่า จุดแข็งของรัฐบาลทหาร อันดับ 1 คือ การปราบปรามทุจริตคอรัปชั่น ยาเสพติด และผู้มีอิทธิพล รองลงมาได้แก่ การช่วยเหลือเกษตรกร คนจน ผู้มีรายได้ การแก้ปัญหาการค้ามนุษย์ การดำเนินงานตามโรดแมป และจัดระเบียบสังคม เช่น การจัดระเบียบทางเท้า รถโดยสาร พื้นที่ป่าไม้ ตามลำดับ

ขณะที่จุดอ่อนของรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ อันดับ 1 คือ เศรษฐกิจตกต่ำ กระทบต่อรายได้ และรายจ่าย สินค้าแพง ค่าครองชีพสูง ต้องกู้หนี้ยืมสิน เป็นหนี้นอกระบบ รองลงมาได้แก่ การจำกัดสิทธิเสรีภาพ การใช้งบประมาณจำนวนมาก การจัดซื้อเรือดำน้ำ การแก้ปัญหาชายแดนใต้ และพคดีสำคัญไม่มีความคืบหน้า ตามลำดับ

รองประธานสภาองค์การนายจ้างผู้ประกอบการค้าและอุตสาหกรรมไทย ธนิต โสรัตน์ มองว่า ถ้าจะให้ประเมินเศรษฐกิจ 3 ปีของคสช. เป็นอย่างไร ต้องย้อนไปดูสถานการณ์ประเทศก่อนวันที่ 22 พฤษภาคม 2557 ก่อนการยึดอำนาจ ขณะนั้นเศรษฐกิจโต 0.8 % แต่ตอนนี้ไตรมาสแรกโต 3.3 % การส่งออกตอนนั้นก็ติดลบ ขณะที่ในปี 2559 เริ่มฟื้นตัว และไตรมาสแรกปี 60 ขยายตัว 5% ตอนนี้นักธุรกิจมีความเชื่อมั่นมีมากขึ้น ภาคการท่องเที่ยวดีขึ้น เพราะประเทศสงบ

แต่สิ่งที่ยังไม่ดีขึ้นคือ การลงทุนที่ยังติดลบ จากการบริโภคที่ยังไม่ขยายตัว กำลังซื้ออ่อนแอ ภาวะว่างงานสูงขึ้น

ขณะที่นักวิชาการ วิเคราะห์นโยบายด้านเกษตรของรัฐบาลจะเน้นแก้ปัญหาระยะยาว นำมาสู่เกษตรแปลงใหญ่ เพื่อลดต้นทุนการเพาะปลูก แต่เป็นนโยบายที่ยังไม่เหมาะกับเกษตรกรไทย ในขณะที่นโยบายสาธารณสุข เรามีผู้นำที่ไม่เชื่อหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า และมองเรื่องนี้เป็นภาระงบประมาณ

ปล่อยเสียง วิโรจน์ ณ ระนอง ผู้อำนวยการวิจัย ด้านเศรษฐศาสตร์สาธารณสุขและการเกษตร สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย หรือ ทีดีอาร์ไอ

และแน่นอนว่า สิ่งที่คนส่วนใหญ่อยากเห็นหลังจากนี้คือ ต้องการให้คสช.และรัฐบาลแก้ไขจุดอ่อน เพื่อคืนความสุขให้กับประชาชน ตามคำมั่นสัญญาที่เคยให้ไว้