“ชาติชาย” ยอมรับ “ป.ป.ช.” มีความเสี่ยงอาจถูกเซตซีโร่ เผยกรธ.ยึดคุณสมบัติตามรัฐธรรมนูญเป็นตัวกำหนด ยํ้าจะถูกยุบทั้งคณะหรือไม่อยู่ที่ สนช.พิจารณา
[caption id="attachment_144929" align="aligncenter" width="503"]
ชาติชาย ณ เชียงใหม่ กรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.)[/caption]
นอกจากคณะกรรมการการเลือกตั้ง(กกต.) และคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ(กสม.) อาจจะถูกโละทิ้ง หรือเรียกว่า “เซตซีโร่” เพื่อเปิดโอกาสให้มีการสรรหาใหม่ทั้งหมดหลังพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญมีผลบังคับใช้แล้วคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.)ก็อยู่ในข่ายที่อาจพ้นวาระไปทั้งหมดเช่นกัน
นายชาติชาย ณ เชียงใหม่โฆษกคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) เปิดเผยกับ“ฐานเศรษฐกิจ” ว่า ความเห็นส่วนตัว ในกรณีของการเซตซีโร่กรธ.นำเอาคุณสมบัติตามรัฐธรรมนูญเป็นตัวกำหนด ก็ต้องว่าไปตามรัฐธรรมนูญ ป.ป.ช.ก็ยังมีความเสี่ยงอยู่ ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.)จะพิจารณาอย่างไร เพราะตามรัฐธรรมนูญระบุชัดว่า ให้เป็นไปตามกฎหมายลูก
[caption id="attachment_158655" align="aligncenter" width="503"]
สุภา ปิยะจิตติ[/caption]
“หากมีหลายคนที่ขัดรัฐธรรมนูญในประเด็นของคุณสมบัติ ก็ต้องว่าไปตามนั้นในส่วนนี้เป็นเรื่องของกฎหมายลูกของ สนช.ที่ต้องไปอธิบายสังคม เขาเขียนกฎหมายในบทเฉพาะกาลว่าเซตซีโร่หรือไม่เซตซีโร่เป็นเพราะอะไร แต่ทั้งหลายทั้งปวงต้องไม่ขัดเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ”
++
กรธ.ไม่เกี่ยวเรื่องเซตซีโร่
ส่วนกรณีที่จะมีการเซตซีโร่ กกต.นั้น นายชาติชาย ยํ้าว่า กรธ.ไม่มีสิทธิที่จะไปเซตซีโร่องค์กรอิสระที่ใด ทุกอย่างให้เป็นไปตามรัฐธรรมนูญ ซึ่งหมายความว่าขาดคุณสมบัติหรือไม่ ใครที่ไม่มีคุณสมบัติตามรัฐธรรมนูญใหม่ก็ต้องพ้นจากหน้าที่ไป ใครที่มีคุณสมบัติก็อยู่ต่อไปตามวาระเดิม อันนี้คือสิ่งที่ยึดถือมาตลอดและหลักการของกรธ. แต่พอมาถึงขั้นการพิจารณาในชั้นคณะกรรมาธิการ (กมธ.) ในสนช. ทางกมธ.จะประกอบด้วยทั้ง 2 สภา มีฝ่ายรัฐบาล และคนนอก ขณะที่ตัวแทนจาก กรธ.จะมี 2 คนในการพิจารณา กมธ.จะไปหารือกันในชั้นนี้ ว่าจะเซตซีโร่ กกต.หรือไม่ ซึ่งทาง กรธ.ไม่เกี่ยวในชั้นนี้เลย
[caption id="attachment_158657" align="aligncenter" width="503"]
พล.อ.บุณยวัจน์เครือหงส์[/caption]
++
คุณสมบัติปปช.ตามรธน.ใหม่
ทั้งนี้ ตามรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ คุณสมบัติของป.ป.ช.ได้มีการกำหนดไว้ในมาตรา 232ว่า ผู้ที่ได้รับการสรรหาเป็นกรรมการ ป.ป.ช. ต้องมีคุณสมบัติอย่างใดอย่างหนึ่งต่อไปนี้
1.รับราชการหรือเคยรับราชการในตำแหน่งไม่ตํ่ากว่า อธิบดีผู้พิพากษามาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปี นับแต่ได้รับการเสนอชื่อเป็นกรรมการ ป.ป.ช.
2.รับราชการหรือเคยรับราชการในตำแหน่งไม่ตํ่ากว่าอธิบดีหรือหัวหน้าส่วนราชการที่เทียบเท่ามาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปีนับแต่ได้รับการเสนอชื่อเป็นกรรมการ ป.ป.ช.
ส่วนคุณสมบัติต้องห้ามนั้นได้บัญญัติไว้ในมาตรา 216 ว่าผู้ดำรงตำแหน่งในองค์กรอิสระต้องไม่มีลักษณะต้องห้ามดังต่อไปนี้
ไม่มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา 202 ดังนี้ เป็นหรือเคยเป็นผู้ดำ รงตำ แหน่งในองค์กรอิสระใด, เป็นหรือเคยเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสมาชิกวุฒิสภา ข้าราชการการเมือง ในระยะ 10 ปี ก่อนเข้ารับการคัดเลือกหรือสรรหา
++
7ป.ป.ช.รอตีความคุณสมบัติ
จากข้อก หนดในรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ส่งผลให้คณะกรรมการป.ป.ช.ชุดปัจจุบัน อาจได้รับผลกระทบจากการตีความเรื่องคุณสมบัติ หรือลักษณะต้องห้าม ประกอบด้วย 1.พล.ต.อ.วัชรพลประสารราชกิจ ประธานกรรมการเคยเป็นรองเลขาธิการนายกรัฐมนตรี (พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ) เมื่อปี 2557 ติดเงื่อนไขพ้นจากข้าราชการการเมืองไม่ถึง 10 ปี 2.นายปรีชา เลิศกมลมาศเคยเป็นเลขาธิการ ป.ป.ช.ในปี2552 ถือเป็นตำแหน่งหัวหน้าส่วนราชการ แต่นับเวลาดำรงตำแหน่ง จนถึงวันเข้ารับการสรรหาไม่ถึง 5 ปี
[caption id="attachment_158659" align="aligncenter" width="438"]
พล.ต.อ.สถาพร หลาวทอง[/caption]
3.พล.ต.อ.สถาพร หลาวทอง เคยเป็นผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค 3 เมื่อปี 2548 ก่อนย้ายเป็นจเรตำรวจ เกษียณอายุราชการ ปี 2555 เทียบเท่าตำแหน่งอธิบดีเมื่อนับเวลาดำรงตำแหน่งจนถึงวันเข้ารับการสรรหาไม่ครบ 5 ปี4.นายณรงค์ รัฐอมฤต เคยเป็นเลขาธิการป.ป.ช. เมื่อปี 2555 เข้ารับการสรรหาเป็นกรรมการป.ป.ช. เมื่อปี 2556 นับเวลาดำรงตำแหน่งไม่ถึง 5 ปีเช่นกัน
5.นายวิทยา อาคมพิทักษ์เคยเป็นกรรมการตรวจเงินแผ่นดินเมื่อปี 2557 เข้าข่ายมีลักษณะต้องห้ามเนื่องจากเคยเป็นกรรมการองค์กรอิสระ 6.พล.อ.บุณยวัจน์เครือหงส์ อดีตผู้อำนวยการสำนักงบประมาณกลาโหม จนถึงปี 2555 ต้องรอการตีความว่าตำแหน่งดังกล่าวเทียบเท่าอธิบดีหรือไม่ และนับเวลาการดำรงตำแหน่งถึงวันรับการสรรหาครบ 5 ปี หรือไม่
7.นางสาวสุภา ปิยะจิตติ เคยเป็นรองปลัดกระทรวงการคลัง ระดับ 10 เทียบเท่าอธิบดีตั้งแต่ปี 2549-2553 เข้ารับการสรรหาเป็นกรรมการ ป.ป.ช.ปี 2557 แต่รัฐธรรมนูญใหม่ระบุว่า ต้องรับและเคยรับราชการในตำแหน่งไม่ตํ่ากว่าอธิบดี หรือหัวหน้าส่วนราชการมาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปี
[caption id="attachment_158656" align="aligncenter" width="503"]
สุวณา สุวรรณจูฑะ[/caption]
ส่วนกรรมการ ป.ป.ช.อีก 2 คน ที่ไม่เข้าข่ายขาดคุณสมบัติ ประกอบด้วย นางสุวณา สุวรรณจูฑะ เป็นอธิบดีกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพตั้งแต่ปี 2549 และได้รับการเสนอชื่อเป็นกรรมการ ป.ป.ช. เมื่อปี2558 จึงดำรงตำแหน่งไม่ตํ่ากว่าอธิบดีหรือหัวหน้าส่วนราชการไม่น้อยกว่า 5 ปี นับแต่ได้รับการเสนอชื่อเป็นกรรมการ ป.ป.ช.
และนายสุรศักดิ์ คีรีวิเชียร เนื่องจากเคยเป็นอธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญากรุงเทพใต้ ตั้งแต่ปี 2551 และได้รับการเสนอชื่อเป็นกรรมการ ป.ป.ช. เมื่อปี 2558 ถือว่าอยู่ในการดำรงตำแหน่งไม่ตํ่ากว่าอธิบดีผู้พิพากษามาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปี นับแต่ได้รับการเสนอชื่อเป็น กรรมการ ป.ป.ช.จึงมีคุณสมบัติเข้าข่ายที่เป็นกรรมการ ป.ป.ช.
[caption id="attachment_158660" align="aligncenter" width="302"]
ปปช.หนาว‘เซตซีโร่’ พบ7คนคุณสมบัติส่อมีปัญหาตามรัฐธรรมนูญ[/caption]
จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 37 ฉบับที่ 3,268 วันที่ 8 - 10 มิถุนายน พ.ศ. 2560