เยาวชนเพาเวอร์กรีน เรียนรู้การอนุรักษ์พันธุ์พืช-สัตว์หายาก

24 มิ.ย. 2560 | 01:00 น.
“อุดมลักษณ์ โอฬาร” ผู้อำนวยการสายอาวุโส-องค์กรสัมพันธ์ บริษัท บ้านปู จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า บ้านปู มีนโยบายสำคัญด้านการพัฒนาที่ยั่งยืน (sustainable development policy) ในกระบวนการดำเนินธุรกิจตั้งแต่ขั้นตอนวางแผนพัฒนากระบวนการผลิต ระหว่างการดำเนินการผลิต และภายหลังการปิดเหมือง ตัวอย่างโครงการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพที่สำคัญคือ โครงการที่เหมืองบารินโต (Barinto) และเหมืองอินโดมินโค (Indominco) รวมถึงโครงการพัฒนาชุมชนและสิ่งแวดล้อม ที่เหมืองเอ็มบาลุต ภายใต้การดูแลของ PT.Indo Tambangraya Megah (ITM) ซึ่งเป็นบริษัทลูกของบ้านปู ในประเทศอินโดนีเซีย จึงต้องการต่อยอดการเรียนรู้และสร้างความตระหนักในเรื่องนี้ให้แก่เยาวชน

[caption id="attachment_165430" align="aligncenter" width="412"] อุดมลักษณ์ โอฬาร อุดมลักษณ์ โอฬาร[/caption]

บ้านปูเชื่อว่า พลังความรู้คือพลังแห่งการเปลี่ยนแปลงและพัฒนา จึงส่งเสริมให้เยาวชนได้เปิดโลกทัศน์ เรียนรู้โลกกว้าง เห็นภาพกระบวนการทำงานของภาคธุรกิจที่ดำเนินตามแนวทางการพัฒนาอย่างยั่งยืน เพื่อประกอบธุรกิจควบคู่ไปกับการพัฒนาสังคม สิ่งแวดล้อม และชุมชน รวมถึงศึกษาทรัพยากร ธรรมชาติและวัฒนธรรมต่างถิ่น ที่นอกจากจะสร้างเสริมประสบ การณ์และแรงบันดาลใจแก่เยาวชน แล้ว ยังเชื่อว่าเยาวชนจะสามารถคิดวิเคราะห์และประยุกต์ใช้สิ่งใหม่ที่ได้เรียนรู้ และนำกลับไปปรับใช้ในการพัฒนาชุมชนและทรัพยากรในชุมชนได้อย่างยั่งยืน

[caption id="attachment_165426" align="aligncenter" width="503"] เยาวชนเพาเวอร์กรีนปีที่ 11 ตะลุยศึกษาความหลากหลายทางชีวภาพอินโดนีเซีย เยาวชนเพาเวอร์กรีนปีที่ 11 ตะลุยศึกษาความหลากหลายทางชีวภาพอินโดนีเซีย[/caption]

สิ่งที่เยาวชนได้จากการเดินทางเข้าค่าย Power Green Camp ครั้งนี้คือ เรียนรู้ การจัดการ วิธีการแก้ปัญหา เรื่องความหลากหลายทางชีวภาพและหัวข้อที่เกี่ยวข้องอื่นๆ เพื่อปลูกฝังจิตสำนึกของการร่วมกันอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมมากขึ้น ได้แก่

mp30-3272-1h mp30-3272-1c การจัดการความหลากหลายทางชีวภาพ ที่เหมืองเอ็มบาลุต มีการจัดการฟื้นฟูสภาพแวดล้อมของชุมชนรอบๆ แม้จะเป็นเวลากว่า 25 ปี ที่มีการขุดเหมืองเอ็มบาลุตแล้วก็ตาม นอกจากนี้ ยังมีการแบ่งส่วนทำเกษตรผสมผสาน และแปลงสาธิตเทคโนโลยีทางการเกษตรที่เรียกว่า Agriculture Techno Park ช่วย สร้างความรู้ใหม่ๆ ให้แก่ชุมชนทั้งเรื่องการปรับบ่อนํ้าในเหมืองให้เป็นแหล่งนํ้าสำคัญของชาวบ้าน ไว้ทำการเกษตรและเพาะพันธุ์ปลา เพื่อแบ่งให้ชุมชนนำไปบริโภคหรือค้าขายสร้างรายได้ รวมถึงสอนการสกัดนํ้ามันหอม Patchouli หรือนํ้ามันพิมเสน เพื่อส่งขายเป็นหัวเชื้อในอุตสาหกรรมเครื่องสำอางและนํ้าหอมทั้งในและต่างประเทศ และยังเป็นพื้นที่ต้นแบบให้กับเจ้าหน้าที่รัฐในการนำความรู้ไปแจกจ่ายให้กับประชาชนพื้นที่อื่นๆ อีกด้วย ซึ่งถือว่าเป็นการพัฒนาในรูปแบบของการส่งเสริมการเรียนรู้แก่สมาชิกชุมชนไปในตัว

mp30-3272-1d การอนุรักษ์พันธุ์สัตว์พื้นเมืองหายาก ณ ศูนย์อนุรักษ์ลิงอุรังอุตังบอร์เนียวและศูนย์อนุรักษ์หมีหมา และสวนสัตว์สไตล์ซาฟารี Taman Safari Bogor มีวิธีการอนุรักษ์สัตว์ก่อนจะปล่อยคืนสู่ป่าอย่างเป็นระบบ คือ มีการแบ่งเป็นระดับความพร้อมของสัตว์แต่ละตัวพร้อมที่จะถูกปล่อยคืนสู่ป่าหรือไม่ โดยมีการใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วย เช่น การฝังชิปในสัตว์แต่ละตัว เพื่อติดตามว่ามันเอาตัวรอดในธรรมชาติได้

mp30-3272-1g บ้านปู ได้ร่วมกับคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล นำ 3 เยาวชนโครงการ “ค่ายเพาเวอร์กรีน” ปีที่ 11 เดินทางไปเรียนรู้ด้านสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ เจาะลึกแนวทางการอนุรักษ์พืชพันธุ์และสัตว์ป่าหายาก ที่สวนสัตว์สไตล์ซาฟารี และศูนย์อนุรักษ์ลิงอุรังอุตัง บอร์เนียว พร้อมศึกษากระบวนการบริหารเหมืองเอ็มบาลุตของบ้านปู เยาวชนที่ได้รับเลือกให้ไปทัศน ศึกษา ได้แก่ นายพีรพัฒน์ หริเลิศรัฐ (พีท) ชั้น ม.4 โรงเรียนอัสสัมชัญสมุทรปราการ จ. สมุทร ปราการ นางสาวนินัฎดา หะยีแวสามะ (นัฎ) ชั้น ม.4 โรงเรียนดารุสสาลาม จ. นราธิวาส นางสาวศศินันท์พร จิรัชญาพงศ์ (หมิว) ชั้น ม.5 โรงเรียนสารภีพิทยาคม จ. เชียงใหม่

mp30-3272-1e จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 37 ฉบับที่ 3,272 วันที่ 22 - 24 มิถุนายน พ.ศ. 2560