มูลนิธิเอสซีจี เพิ่มพัฒนาการเด็กปฐมวัย ด้วยการใช้หนังสือภาพ

26 มิ.ย. 2560 | 05:27 น.
นอกจากพ่อแม่ผู้ปกครองจะเป็นผู้มีหน้าที่ดูแลส่งเสริมพัฒนาการให้กับบุตรหลานอย่ างเหมาะสมในแต่ละช่วงวัยแล้ว ยังมีบุคคลอีกกลุ่มหนึ่งซึ่งมี ความสำคัญอย่างมากในการทำหน้าที่ ดูแลเด็กๆ ด้วยความใส่ใจเมื่อถึงวัยที่ พวกเขาต้องเข้าโรงเรียน นั่นก็คือ ‘คุณครูอนุบาล’ ที่ในแต่ละวันจะต้องคอยเฝ้าสั งเกต และเรียนรู้ลักษณะนิสัยใจคอของเด็กแต่ละคนอย่างใกล้ชิ ด เพื่อช่วยพัฒนาศักยภาพของเด็กๆ เหล่านั้นให้เติบโตขึ้นอย่างมี ประสิทธิภาพ มูลนิธิเอสซีจี ซึ่งยึดถืออุดมการณ์เชื่อมั่ นในคุณค่าของคนมาโดยตลอด จึงจัดการอบรมเวิร์คช็อปเพื่อแบ่งปันองค์ความรู้ และประสบการณ์จากผู้เชี่ยวชาญ ให้กับตัวแทนคุณครูอนุบาลทั่วประเทศกว่า 70 คน เพื่อให้เหล่าแม่พิมพ์ของชาติ สามารถนำกระบวนการเรียนรู้ และเครื่องมือต่างๆ ไปใช้เสริมสร้างพัฒนาการของเด็ กๆ ได้อย่างถูกต้องต่อไป

2 สุวิมล จิวาลักษณ์ กรรมการและผู้จัดการมูลนิธิเอสซีจี สุวิมล จิวาลักษณ์ กรรมการและผู้จัดการมูลนิธิ เอสซีจี ได้กล่าวว่า “มูลนิธิเอสซีจี เล็งเห็นความสำคัญของบุคลากรผู้ทำหน้าที่ดูแลและใกล้ชิดกับเด็ กเล็กเป็นอย่างมาก จึงได้ขยายแนวคิดเรื่องการใช้ หนังสือภาพและกระบวนการ ‘เล่านิทาน อ่านหนังสือ’ไปสู่กลุ่มคุณครูอนุบาลเหล่านี้ เพื่อจุดประกายให้พวกเขาได้ นำความรู้ไปใช้พัฒนาและเติมเต็มให้เด็กๆ มีสติปัญญาที่ดี มีจินตนาการ ความคิดสร้างสรรค์ และสมาธิที่ยาวนานขึ้น เพราะเราเชื่อว่ายิ่งเด็กเล็ กได้รับการพัฒนาเร็วเท่าไร พวกเขาก็จะยิ่งมีพัฒนาการที่ดี มากขึ้นเท่านั้น โดยเฉพาะการเล่านิทานอ่านหนังสื อนั้น ถือเป็นวิธีการที่ทำได้ง่าย ประหยัด ทรงพลัง และเป็นการลงทุนที่คุ้มค่ามากที่ สุดอย่างหนึ่ง เพียงอ่านหนังสือให้เด็กฟังวั นละ 10 – 15 นาทีเท่านั้น รวมทั้งเป็นโอกาสที่พ่อแม่จะได้ ช่วยพัฒนาลูกน้อย ทั้งด้านร่างกายหรืออารมณ์ ความรู้สึก และยังเป็นการเชื่อมสายใยรั กและความอบอุ่นของครอบครัวให้ แนบแน่นอีกด้วย ไม่เพียงเท่านี้ เรายังเชื่อว่าหนังสือที่เด็กรั กเพียงหนึ่งเล่มก็มีค่าพอที่ จะเสริมสร้างจิ นตนาการและความทรงจำที่ดีในวั ยเยาว์ให้พวกเขา จนมีคำกล่าวที่ว่า เด็กที่ชอบและคุ้นเคยกับหนังสื อตั้งแต่ยังเล็ก ก็จะยิ่งรักและผูกพันกับการอ่ านไปจนโต”

3 วรนันท์ ประเสริฐผล นักจิตวิทยาพัฒนาการเด็ก สำหรับ มูลนิธิเอสซีจี มุ่งมั่นสร้างวัฒนธรรมการเลี้ยงลูกด้วยหนังสือให้เกิดขึ้ นในสังคมไทยผ่านกระบวนการ ‘เล่านิทาน อ่านหนังสือ’ ภายใต้โครงการ “มหัศจรรย์หนังสือภาพ” มาตั้งแต่ปี 2547 โดยรณรงค์ส่งเสริมการให้ความรู้ และความเข้าใจเรื่องการใช้หนังสือภาพกับลูกน้อย ให้แก่พ่อแม่ ผู้ปกครองที่มีบุตรหลานวัยแรกเกิด - 6 ปี เพื่อปลูกฝังเด็กให้มีนิสัยรั กการอ่าน นอกจากนี้ มูลนิธิฯ ยังได้จัดทำชุดหนังสือภาพ ภายใต้โครงการ “นำหนังสือดีสู่เด็กไทย” มาตั้งแต่ปี 2551 เพื่อให้พ่อแม่ ผู้ปกครอง และผู้มีหน้าที่เกี่ยวข้องกั บเด็ก อย่างคุณครู ได้นำไปใช้พัฒนาเด็กเป็นประจำและต่อเนื่อง

คุณวรนันท์ ประเสริฐเมธ นักจิตวิทยาพัฒนาการเด็ก ซึ่งร่วมเป็นวิทยากรในการอบรมครั้งนี้กล่าวว่า “พัฒนาการในวัยเด็กมีส่วนสัมพันธ์กันหลายด้าน เช่น ด้านร่างกาย สติปัญญา ภาษา อารมณ์ และสังคม ดังนั้น เด็กในช่วงวัยแรกเกิด – 6 ปี จึงสมควรที่จะได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิดจากพ่อแม่ ผู้ปกครอง และผู้ที่เกี่ยวข้องอย่างคุณครู เป็นอย่างยิ่ง ไม่ว่าจะเป็นการเอาใจใส่ สังเกตพฤติกรรมการแสดงออก โดยเฉพาะการใช้อารมณ์ของเด็ก เพราะถ้าเด็กรู้ว่าตอนนี้เขารู้ สึกอย่างไร เขาจะเกิดความเข้าใจ เรียนรู้ภาษา และสมองจะเก็บบันทึกเป็นคลั งคำศัพท์ให้โดยอัตโนมัติ ทำให้เด็กสื่อสารได้อย่างเข้ าใจความหมาย และเมื่อเด็กยิ่งมีคลังคำศัพท์ เยอะเท่าไร ก็จะยิ่งสื่อสารได้เร็วเท่านั้น โดยพ่อแม่ ผู้ปกครอง และคุณครูสามารถเพิ่มคลังคำศัพท์ให้กับเด็กได้ ด้วยการใช้หนังสือภาพเป็นเครื่ องมือ เมื่อเด็กได้สัมผัสและพลิกดู ภาพจากหนังสือก็จะมีจิ นตนาการเกิดขึ้น สมองจะสร้างเรื่องราวและเชื่ อมโยงภาพกับประสบการณ์เข้าด้ วยกัน เมื่อเข้าใจเด็กจะได้คำศัพท์เพิ่ มเอง อีกทั้งหนังสือภาพสามารถเป็นสื่ อกลางระหว่างพ่อแม่ลูก ทำให้เกิดสายใยระหว่างกันได้ เมื่อลูกได้รับสัมผัสจากพ่อแม่ เช่น การอุ้มลูกนั่งตัก การกอดรัด ควบคู่ไปกับการใช้หนังสือ อีกทั้งเด็กจะจดจำน้ำเสียง จังหวะ ท่าทาง แม้กระทั่งความอุ่นจากร่างกายพ่ อแม่เอง นอกจากนี้ เด็กยังจะได้รับมุมมองทัศนคติ การมองโลกจากพ่อแม่ ผู้ปกครอง และผู้ที่อ่านให้ฟังอีกด้วย สรุปคือเมื่อเราสื่อสารกับลูกดี ก็จะเกิดเป็นผลลัพธ์ที่ดีตามมา”

4 ชีวัน วิสาสะ นักประพันธ์หนังสือภาพชื่อดังระดับประเทศ ครูชีวัน วิสาสะ นักประพันธ์หนังสือภาพสำหรับเด็ กชื่อดังระดับประเทศอีกหนึ่งวิทยากร ได้กล่าวเสริมว่า “หนังสือเกือบทั้งหมดบนโลกนี้ถู กออกแบบให้มีรูปทรงสี่เหลี่ ยมเพื่อให้สอดรับกั บขอบเขตการมองของมนุษย์ ซึ่งทำให้ผู้มองมีสายตาที่จดจ้ อง จิตใจจดจ่อ และนำไปสู่การเกิดสมาธิ เด็กเล็กจึงเหมาะที่จะเริ่มต้ นด้วยหนังสือที่มีรูปทรงสี่เหลี่ ยม แต่ต้องมีภาพในสัดส่วนที่มากกว่ าตัวหนังสือ ซึ่งเมื่อเด็กมองภาพจะเห็ นลายเส้น รูปทรง สี ที่แตกต่างกันไป สิ่งเหล่านี้จะเป็นตัวกระตุ้ นกระบวนการความคิด และเด็กจะพยายามเชื่อมโยงเข้ากั บประสบการณ์ของเขา จนเกิดการตีความ และเข้าใจ ทำให้สามารถรับรู้ถึงภาษาและสื่ อสารได้ อย่างไรก็ตาม การใช้หนังสือภาพกับเด็กนั้น จะต้องทำให้เด็กรู้สึกรั กและชอบหนังสือก่อน เด็กถึงจะรักการอ่าน โดยควรวางแผนการเล่าว่าจะดำเนิ นเรื่องอย่างไร ลงเอยอย่างไร เพื่อให้เด็กเข้าใจในสาระ โดยในขณะที่เล่าควรใช้คำศัพท์พื้ นฐานที่เด็กจะต้องใช้ในชีวิ ตประจำวัน เช่น พ่อ แม่ ลูก กิน นอน นั่ง อิ่ม หิว เป็นต้น และที่สำคัญควรจะสอดแทรกสิ่งที่ เป็นความรู้ คุณธรรม จริยธรรมเข้าไปด้วย เพราะขณะที่เด็กฟังเสียงผู้ใหญ่ อ่านอยู่นั้น สายตาของเด็กจะไล่ดูภาพในหนังสื อตรงหน้า ภาพในสายตาของเด็กกับเสียงที่ผู้ ใหญ่อ่านให้ฟังจะผสานกลมกลืนกั นจนเกิดเป็นภาพต่อเนื่องเคลื่ อนไหวในสมองเด็ก ซึ่งพลังจิ นตนาการของพวกเขาจะได้รับการเติ มให้เต็มเปี่ยมจากตรงนี้ และจะเกิดเป็นความสนุกขึ้นเอง”

11 ภาพกิจกรรม
ครูเอียด - ละเอียด คำสุนทร ผู้สอนระดับชั้นอนุบาล 1 – 2 โรงเรียนวัดหนองเมือง (สามัคคีราษฎร์รังสฤษฎ์) อ.บ้านหมี่ จ.ลพบุรี หนึ่งในผู้เข้ารับการอบรมได้กล่ าวว่า “ครั้งนี้เหมือนได้มาเติมเต็ มองค์ความรู้เกี่ยวกับพั ฒนาการของเด็กและการใช้เครื่ องมือเพื่อพัฒนาเด็กให้สมบูรณ์ ขึ้น เพราะได้เรียนรู้วิธีการเลื อกและใช้หนังสือภาพให้เหมาะกั บช่วงวัยของเด็ก อีกเรื่องที่น่าสนใจมากคือการสื่ อสารกับเด็กผ่านการสังเกตอารมณ์ ของพวกเขา ซึ่งถ้าเราเข้าใจและปฏิบัติกั บเด็กอย่างถูกวิธีแล้ว เด็กจะมีพัฒนาการทางสังคมที่ ยอดเยี่ยม และเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่ดีได้ต่ อไป”

ด้าน ครูฝ้าย - ชุติมา ปลดเปลื้อง ผู้สอนระดับชั้นเตรียมอนุบาล ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กค่ายภาณุรั งษี โรงเรียนกองทัพบกอุปถัมภ์โยธิ นวิทยา อ.เมือง จ.ราชบุรี กล่าวว่า “รู้สึกดีใจมากที่ได้มาร่วมกิ จกรรมในครั้งนี้ เพราะทำให้เข้าใจและมีความมั่ นใจมากขึ้นที่จะนำหนังสื อภาพไปใช้เพื่อช่วยพัฒนาเด็กๆ ต้องขอขอบคุณมูลนิธิเอสซีจีที่ จัดการอบรมในลักษณะนี้ขึ้น อยากให้จัดต่อไปเรื่อยๆ และขยายไปถึงคุณครูที่อยู่ในพื้ นที่ห่างไกลด้วย”

มูลนิธิเอสซีจี หวังว่าการผลักดันและขยายแนวคิ ดการใช้หนังสือภาพผ่ านการอบรมกระบวนการ ‘เล่านิทาน อ่านหนังสือ’ ในครั้งนี้ จะสามารถจุดประกายให้คุณครู นำเครื่องมือที่ประหยัด ง่าย และทรงพลังนี้ ไปใช้กับเด็กๆ ในวงกว้างขึ้น เพราะไม่ว่าโลกแห่งเทคโนโลยี จะก้าวล้ำไปแค่ไหน แต่การรักษาโลกแห่งจินตนาการ ความคิดสร้างสรรค์ และความคิดที่งดงามในวัยเด็กไว้ ก็เป็นเรื่องสำคัญ เพราะสิ่งเหล่านี้ถือเป็นภูมิคุ้ มกันชั้นดีให้เด็กน้อยเมื่ อพวกเขาเติบโตขึ้น

สำหรับผู้ที่สนใจหนังสื อภาพในโครงการ “นำหนังสือดีสู่เด็กไทย” โดยมูลนิธิเอสซีจี สามารถหาซื้อได้ตามร้านหนังสื อชั้นนำทั่วไป ซึ่งรายได้จากการจำหน่ ายจะสบทบเข้า ‘กองทุนนำหนังสือดีสู่เด็กไทย’ โดยมูลนิธิเอสซีจี ที่จะนำรายได้ทั้งหมดไปจัดพิมพ์ หนังสือภาพเพื่อมอบให้ศูนย์พั ฒนาเด็กเล็กและโรงเรียนอนุ บาลในชนบทที่ขาดแคลนต่อไป สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่มู ลนิธิเอสซีจี โทร.02-586-2547 อีเมล [email protected] เว็บไซต์www.scgfoundation.org หรือ Facebook มหัศจรรย์หนังสือภาพ