สศอ. เร่งพัฒนา Big Data วางรากฐานแผนพัฒนาอุตสาหกรรม

27 มิ.ย. 2560 | 03:17 น.
สศอ. เร่งพัฒนา Big Data วางรากฐานแผนพัฒนาอุตสาหกรรม เตรียมเสนอแผน ต่อกระทรวงอุตฯ

สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) เร่งพัฒนาระบบข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data) เพื่อรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลสำหรับใช้กำหนดทิศทางการพัฒนาอุตสาหกรรมแห่งอนาคตเพื่อสร้างความเข็มแข็งให้กับประเทศไทย โดยเตรียมนำเสนอแผนต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม (รวอ.) ภายในเดือนมิถุนายน

[caption id="attachment_169918" align="aligncenter" width="335"] นายศิริรุจ จุลกะรัตน์ นายศิริรุจ จุลกะรัตน์[/caption]

นายศิริรุจ จุลกะรัตน์ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (ผศอ.) เผยว่า  สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรมได้รับมอบหมายจากกระทรวงอุตสาหกรรมให้เร่งจัดทำแผน Big Data for foresight เพื่อรวมรวมและวิเคราะห์ข้อมูลสำหรับนำมาใช้ประกอบการจัดทำยุทธศาสตร์การพัฒนาอุตสาหกรรมแห่งอนาคตเพื่อสร้างความเข้มแข็งให้กับประเทศไทย  โดยมีการหารือกับผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดทำระบบข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data) และผู้เชี่ยวชาญด้านการวิเคราะห์ภาพอุตสาหกรรมอนาคต (Industrial  Foresight) เพื่อนำไปใช้ประกอบในการจัดทำแผนฯ  ทั้งนี้ ทางสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรมได้เตรียมนำเสนอแผนต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม (รวอ.) ภายในเดือนมิถุนายน โดยแผนการพัฒนาระบบ Big Data ได้แบ่งออกเป็น 3 ด้าน ได้แก่ บุคลากร  ข้อมูล  และแบบจำลองอุตสาหกรรม  โดยมีรายละเอียด ดังนี้

แผนการพัฒนาระบบข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data)

1. บุคลากร จำเป็นต้องเร่งผลิตนักวิทยาศาสตร์ข้อมูล (Data Scientist) ซึ่งมีหน้าที่ค้นหาข้อมูลเชิงลึกและเป็นผู้วิเคราะห์ข้อมูลที่สำคัญ  โดยในระยะสั้นจำเป็นต้องจัดหาผู้เชี่ยวชาญภายนอกมาเป็นหัวหน้าทีมการทำBig Data for foresight รวมถึงการพัฒนาระยะกลางที่ต้องฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการและฝึกปฏิบัติจริงในการทำงานของบุคลากรภายใน สศอ. เพื่อร่วมกันพัฒนาระบบ Big Data ที่ทำหน้าที่รวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูล  นอกจากนี้ จำเป็นต้องจัดหาและพัฒนาบุคลากรในด้านต่าง ๆ ทั้งในระยะสั้นและระยะกลาง  ได้แก่ นักวิเคราะห์ (Business Analyst) นักพัฒนาระบบ (Developer) และวิศวกรข้อมูล (Data Engineer)

2. ข้อมูล  เป็นส่วนสำคัญสำหรับการวางภาพอนาคตของอุตสาหกรรม  โดยจำเป็นต้องพัฒนาการเชื่อมโยงข้อมูลสถานการณ์และแนวโน้มทั้งในและต่างประเทศ อาทิ ข้อมูลทางด้านสังคม  เทคโนโลยี  สิ่งแวดล้อม  เศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม และความมั่นคง(STEEP) ขีดความสามารถทางการแข่งขันของแต่ละประเทศ  ปัจจัยที่ส่งผลต่อการดำเนินธุรกิจอุตสาหกรรม  แนวโน้มการเปลี่ยนแปลงของโลก รวมถึงยุทธศาสตร์การพัฒนาของไทยและประเทศที่สำคัญ จากแหล่งข้อมูลที่เชื่อถือได้ทั้งในประเทศและต่างประเทศ เพื่อนำมาใช้ในการประเมินภาพเหตุการณ์จำลองอนาคตที่เป็นไปได้สำหรับภาคอุตสาหกรรม

3. แบบจำลองอุตสาหกรรม  เป็นการพัฒนาขึ้นมาจากระบบ Big Data  เพื่อสร้างแบบจำลองที่สามารถใช้ในการยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันของภาคอุตสาหกรรม  โดยถูกออกแบบให้ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพเพื่อสร้างและประเมินยุทธศาสตร์หรือนโยบายของรัฐบาลที่มีผลต่อการพัฒนา

ภาคอุตสาหกรรม  โดยใช้แบบจำลอง (Model Simulation) ที่สร้างขึ้นจากข้อมูลจำนวนมหาศาล รวมทั้งนำองค์ความรู้ด้านปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence : AI) และการเรียนรู้จากเครื่อง (Machine Learning) เพื่อใช้ประกอบการวิเคราะห์ (Data Analyst)  ในการพยากรณ์สถานการณ์ทั้งภายในและภายนอกประเทศได้อย่างถูกต้องและรวดเร็ว  โดยในขณะนี้อยู่ในระหว่างการพิจารณาระบบวิเคราะห์ (Data Analyst) และแบบจำลอง Data Model ให้เหมาะสมกับประเภทข้อมูล  เพื่อสร้างแบบจำลองโดยการหาอัลกอริทึม (Algorithm) ที่เหมาะสมกับข้อมูลที่มีประสิทธิภาพและสามารถปรับเปลี่ยนได้ตามสถานการณ์โลก

[caption id="attachment_169916" align="aligncenter" width="360"] นายศิริรุจ จุลกะรัตน์ นายศิริรุจ จุลกะรัตน์[/caption]

 

นายศิริรุจ กล่าวต่อไปอีกว่า การพัฒนาระบบ Big Data จะเป็นเครื่องมือที่สำคัญสำหรับการวิเคราะห์ภาพอุตสาหกรรมแห่งอนาคต (Industrial  Foresight)  โดยจะเชื่อมโยงข้อมูลกับหน่วยงานอื่น ๆ ทั้งภายในกระทรวงอุตสาหกรรม  หน่วยงานกระทรวงอื่น ๆ และหน่วยงานต่างประเทศ  เพื่อสร้างแบบจำลองที่ให้ข้อมูลที่มีประสิทธิภาพสำหรับการกำหนดทิศทางอุตสาหกรรมแห่งอนาคต  และนำไปสู่การกำหนดยุทธศาสตร์การพัฒนาอุตสาหกรรมเพื่อสร้างความเข้มแข็งให้กับประเทศไทย