‘โซลาร์ดี’ บุกแดนกิมจิ ดูเทคโนโลยีผลิตแผงโซลาร์เซลล์

08 ก.ค. 2560 | 01:00 น.
อัปเดตล่าสุด :08 ก.ค. 2560 | 07:02 น.
โครงการผลิตไฟฟ้าพลังงานแสดงอาทิตย์บนหลังคาหรือโซลาร์รูฟท็อปเสรี กำลังเป็นที่สนใจของประชาชนอย่างกว้างขวาง ภายหลังที่กระทรวงพลังงาน ได้เปิดโซลาร์รูฟท็อปเสรีนำร่องไปแล้ว มีผู้สนใจเข้าร่วมโครงการจำนวน 184 ราย รวมกำลังผลิต 5.67 เมกะวัตต์ แต่ยังไม่สามารถขายเข้าระบบได้ ในขณะที่ปัจจุบันภาครัฐกำลังรอผลการศึกษาถึงความเป็นไปได้ที่จะเปิดโซลาร์รูฟท็อปเสรี ที่สามารถจ่ายไฟฟ้าเข้าระบบได้ ที่คาดว่าจะประกาศรบซื้อไฟฟ้าได้ในช่วงปลายปีนี้ ซึ่งได้สร้างความตื่นตัวให้กับผู้ประกอบการที่ดำเนินการจำหน่ายแผงโซลาร์เซลล์และติดตั้งเป็นอย่างมาก

-ดูเทคโนโลยีการผลิต
โดยบริษัท โซลาร์ ดี คอร์ปอเรชั่น จำกัด หนึ่งในผู้ประกอบการจำหน่ายและติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าบนหลังคาแบบครบวงจร ที่หวังจะสร้างการเติบโตของธุรกิจจากนโยบายดังกล่าว ล่าสุดได้พาสื่อมวลชนเยื่อมชมกิจการโรงงานแอลจี อิเลคทรอนิกส์ ณ เมืองกูมิ จังหวัดคย็องซังหนือ ประเทศเกาหลีใต้ ที่ป้อนแผงโซลาร์เซลล์ให้กับบริษัท ให้เห็นถึงกระบวนการผลิต และเป็นการสร้างมั่นใจให้กับลูกค้าถึงคุณภาพของผลิตภัณฑ์

สำหรับโรงงานแห่งนี้ มีทั้งสายการผลิตเซลล์ (cell) และโมดูล (Moduld) ที่เป็นระบบอัตโนมัต100% และห้องทดสอบประสิทธิภาพ เพื่อควบคุมคุณภาพและแผงโซลาร์เซลล์ ตลอดจนมีการติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์ที่ติดตั้งรอบๆ ตัวโรงงาน 3 เมกกะวัตต์ ที่ใช้ระบบผลิตไฟฟ้าบนหลังคาโรงงาน ซึ่งมีขนาดใหญ่ที่สุดในเกาหลีใต้

[caption id="attachment_174056" align="aligncenter" width="335"] สัมฤทธิ์ สิทธิวรานุวงศ์ สัมฤทธิ์ สิทธิวรานุวงศ์[/caption]

-ตอกย้ำความเชื่อมั่นสินค้า
นายสัมฤทธิ์ สิทธิวรานุวงศ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัทโซลาร์ดี คอร์ปอร์เรชั่น จำกัด ชี้ให้เห็นว่า การเดินทางมาครั้งนี้ เพื่อให้เห็นถึงกระบวนการผลิตและการประกอบแผงโซลาร์เซลล์ ของบริษัท แอลจี เพื่อสร้างความมั่นใจทั้งคุณภาพและมาตรฐานการผลิตแผงโซลาร์เซลล์ให้กับลูกค้า ที่ผ่านการทดสอบประสิทธิภาพ ในการควบคุมคุณภาพและมาตรฐานของแผงโซลาร์เซลล์ มีการทดสอบการรับความร้อนของการแผง การทดสอบด้านความชื้น ทดสอบความทนทานของละอองน้ำเกลือ และหมอกเพื่อป้องกันการกัดกร่อนชิ้นส่วนของแผงโซลาร์เซลล์ การทดสอบปริมาณไฟฟ้าที่ผลิตได้

การที่โซล่าร์ ดี เลือกใช้แผงโซลาร์แซลล์ของแอลจี เพราะเป็นแบรนด์ที่เลือกมาตั้งแต่เริ่มต้น ที่เน้นเรื่องของคุณภาพและดีไซน์ โดยได้รับความไว้วางใจจากลูกค้าแล้วกว่า 300-400 หลังคาเรือน และกระจายตัวกันอยู่ หากตัวแผงเกิดปัญหาหรือชำรุดขึ้นมา แน่นอนว่าย่อมต้องส่งผลกระทบกับบริษัท ที่ต้องรับผิดชอบเปลี่ยนตัวแผง ดังนั้น เราจึงต้องให้ความสำคัญในเรื่องของคุณภาพเป็นอย่างมาก เหมือนกับที่ทางแอลจีได้แจ้งไว้ เมื่อตอนไปดูแผงบนหลังคาโรงงานแอลจีว่า แผงนั้นติดมา 5 ปีไม่มีตำหนิเลย ซึ่งเป็นหัวใจหลักของแอลจีที่จะไม่ส่งของมีตำหนิให้กับลูกค้า

-นำเข้าแผงตอบโจทย์
ส่วนกรณีที่มักถูกโจมตีว่า การพัฒนาพลังงานทดแทน โดยเฉพาะพลังงานแสงอาทิตย์ ส่วนใหญ่เป็นการนำอุปกรณ์จากต่างประเทศเข้ามา ทั้งที่ผู้ประกอบการคนไทยก็สามารถผลิตได้นั้น ส่งผลให้ประเทศไม่ได้ประโยชน์ มุมมองนี้นายสัมฤทธิ์ สะท้อนว่า ปัจจุบันผู้ประกอบการภายในประเทศ มีปัญหาด้านการเงิน และทยอยปิดดำเนินการ เนื่องจากไม่สามารถปรับตัวได้ทันตามเทคโนโลยีที่มีการปรับเปลี่ยนค่อนข้างเร็ว และมีต้นทุนการผลิตที่ถูกลง ในขณะที่ความต้องการเพิ่มมากขึ้น เมื่อผู้ประกอบการในประเทศไม่สามารถปรับตัวหรือไม่พัฒนาเทคโนโลยี การใช้แผงโซลาร์ที่ผลิตได้ในประเทศก็ไม่สามารถตอบโจทย์ของต้นทุนที่ถูกลงได้

นอกจากนี้ หากไม่มีการพัฒนาพลังงานแสงอาทิตย์หรือการใช้แผงที่มีประสิทธิภาพต่ำภายในประเทศ ทำให้ไม่สามารถผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์เพิ่มขึ้นได้ ก็จะส่งให้ต้องนำเข้าก๊าซธรรมชาติเหลวหรือแอลเอ็นจี และถ่านหินอยู่ดี ไม่ช่วยลดปริมาณการนำเข้า ในขณะที่การนำเข้าแผงโซลาร์เซลล์ที่มีประสิทธิภาพสูงและมีต้นทุนต่ำ จะมีข้อดีช่วยเพิ่มกำลังการผลิตไฟฟ้าได้ และเป็นการนำเข้าเพียงครั้งเดียวอยู่ได้นานถึง 25 ปี

[caption id="attachment_174055" align="aligncenter" width="503"] การติดตั้งโซลาร์เซลล์ของบริษัท แอลจีฯ ที่เมืองกูมิ ประเทศเกาหลีใต้ การติดตั้งโซลาร์เซลล์ของบริษัท แอลจีฯ ที่เมืองกูมิ ประเทศเกาหลีใต้[/caption]

-ชูจุดแข็งการออกแบบ
ดังนั้น ด้วยจุดแข็งของบริษัทที่มีอยู่ ไม่ว่าจะเป็นเทคโนโลยี และการออกแบบที่ทำให้กลมกลืนและประหยัดพื้นที่ในการติดตั้ง โดยเน้นด้านการดีไซต์ที่สวยงาม ในการติดตั้งบโซลาร์รูฟท็อป บนหลังคาบ้าน และกำลังจะรุกเข้าสู่ตลาดบนหลังโรงงานมากขึ้น ซึ่งจะช่วยสร้างรายได้ให้กับบริษัทได้มากขึ้น ซึ่งปัจจุบันการติดตั้งส่วนใหญ่อยู่ในกรุงเทพ และจังหวัดโดยรอบ รวมทั้งในต่างจังหวัด อาทิ ชลบุรี ลพบุรี ขอนแก่น เชียงใหม่ สุรินทร์ หาดใหญ่ เป็นต้น

"ลูกค้าส่วนใหญ่ยังเป็นเขตใกล้กรุงเทพฯ อาทิ ระยอง ชลบุรี ในกลุ่มที่กำลังซื้อสูง เวลาเราทำตลาดจะแยกเป็นส่วนของบ้าน และฝั่งโรงงาน เพราะทั้งสองอย่างมีความแตกต่างกันโดยสิ้นเชิง ขณะที่เรามองว่าโรงงานเวิร์คแต่บ้านไม่เวิร์ค แต่เราไม่เคยทิ้งตลาดบ้านยังทำการตลาดกับบ้านตลอด เพราะเชื่อว่ายังเป็นตลาดที่มีศักยภาพ"

ส่วนการติดตั้งหลังคาโรงงาน แม้จะน้อยกว่าบ้าน แต่ในช่วงหลังมามีความต้องการมาก และกำลังการผลิตแผงก็ตอบสนองได้มากขึ้นเช่น ที่ไปดูงานที่แอลจีโรงงานเดียวก็ป้อนความต้องการได้เป็นพันเมกกะวัตต์ ขณะที่บ้านต้องกระจายเพราะกำลังติดตั้งน้อยนกว่าโรงงาน

"ปัจจุบันเรามีการติดตั้งให้ลูกอาศัยประมาณ 300 หลัง โดยลูกค้าที่ใช้มากที่สุดเป็นโรงงานในระยอง สมุทรปราการ มูลค่าต่อหลังประมาณ 20-40 ล้านบาท หรือที่โรงงานขนาดใหญ่ มีถึง 100 ล้านบาท ซึ่งแผงโซลาร์เซลล์รับประกัน 15 ปี ถ้าเป็นระบบจะเริ่มที่ 5 ปี แต่เป็นสัญญาที่สามารถขยายได้" นายสัมฤทธิ์ กล่าว

สำหรับตลาดในต่างประเทศนั้น มองงว่า ขณะนี้เริ่มจะออกไปบุกเบิกมากขึ้น เพียงแต่ว่าศักยภาพของตลาดในปัจจุบันมันยังไม่มากพอ ดังนั้น ตลาดในประเทศไทย ยังถือว่าว่ามีศักยภาพมากที่สุดในอาเซียน ไม่ว่าจะเป็นพื้นที่การติดตั้ง และความต้องการที่เกิดขึ้น รวมถึงนโยบายของภาครัฐที่กำลังจะให้การส่งเสริมการติดตั้งอย่างเต็มที่

จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 37 ฉบับที่ 3,276 วันที่ 6 - 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2560