ที่นี่ไม่มีความลับ : สงครามแบงก์ชาติ-คลัง

23 ก.ย. 2560 | 10:08 น.
อัปเดตล่าสุด :23 ก.ย. 2560 | 17:08 น.
1485517130232-3
ที่นี่ไม่มีความลับ
โดย..เอราวัณ

สงครามแบงก์ชาติ-คลัง

Default_Facebook
ธนาคารแห่งประเทศไทยจัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติจัดตั้งสำนักงานธนาคารแห่งประเทศไทย เมื่อ 26 ตุลาคม 2482 ด้วยแรงผลักดันอย่างเต็มกำลังของรัฐบุรุษ ปรีดี พนมยงค์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ในรัฐบาลพล.ต.หลวงพิบูลสงคราม (ยศในขณะนั้น) เป็นการจัดตั้งเพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับงานในธุรกิจธนาคารกลาง และทำหน้าที่บริหารเงินกู้ของรัฐบาลเป็นหลัก
123654

หลังการจัดตั้งฝ่ายการเมืองมักเข้าไปกำหนดนโยบาย จนกระทั่ง ศ.ป๋วย อึ๊งภากรณ์ เข้าไปเป็นผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เมื่อปี 2502 ได้มีการเปลี่ยนแปลงบทบาทของธนาคารแห่งประเทศไทย เป็นองค์กรในการบริหารนโยบายการเงินที่มีความเป็นอิสระมากขึ้น

ตลอดระยะเวลา 12 ปีเศษ (2502-2514) ศ.ป๋วยได้พยายามสร้างโครงสร้างที่ไม่ให้ฝ่ายการเมืองเข้ามาแทรกแซง

002

แบ่งแยกกันค่อนข้างเด็ดขาดว่า ธนาคารแห่งประเทศไทย จะดูแลเรื่องนโยบายการเงิน กระทรวงการคลัง จะดูแลเรื่องนโยบายการคลัง เพื่อให้มี 2 เครื่องมือหลักในการกระตุ้น หรือลดความร้อนแรงทางเศรษฐกิจยามจำเป็น


326598

ระบบเดินมาจนกระทั่งการลดค่าเงินบาทในปี 2527 ยุคป๋าเปรม พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ เป็นนายกรัฐมนตรี มีปู่ สมหมาย ฮุนตระกูล เป็นรมว.คลัง และมี นุกูล ประจวบเหมาะ เป็นผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย ทั้งนายกรัฐมนตรีและรมว.คลังเห็นร่วมกันว่าต้องลดค่าเงินบาท แต่ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทยไม่เห็นด้วย จึงตามมาด้วยการลาออกของ นุกูล ประจวบเหมาะ และมีการแต่งตั้ง กำจร สถิรกุล ขึ้นมาดำรงตำแหน่งแทน ขณะนั้นมีการลดค่าเงินบาทจาก 23 บาท เป็น 27 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯ ลดลงถึง 15%

5845

มา ณ วันนี้ เมื่อเกิดการแข็งค่าของเงินบาท จาก 35.84 เป็น 33.10 คิดเป็น 8% (เมื่อคิดจากช่วงต้นเดือนมกราคม) ถือว่าแข็งกว่าค่าเงินในภูมิภาคนี้ที่ประเทศอื่นๆ มีการแข็งค่าเพียง 4-5% ทำให้ปลัดกระทรวงการคลังสมชัย สัจจพงษ์ ถึงกับร้อนเล่นบทก้าวล่วงนโยบายการเงินอย่างเปิดเผย

ด้วยการเรียกร้องให้ธนาคารแห่งประเทศไทย ใช้เครื่องมือทางการเงิน คือลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย จนถูก วิรไท สันติประภพ ผู้ว่าการธปท.สวนหมัดด้วยการขอให้ใช้นโยบายการคลัง

2-4

เช่นให้รัฐวิสาหกิจที่มีกำไรเร่งคืนหนี้ต่างประเทศ ด้วยการมาซื้อเงินตราต่างประเทศออกไปชำระหนี้เพื่อลดสำรองเงินตราต่างประเทศ ก็จะช่วยให้ลดภาวะเงินบาทแข็งค่าลงได้บ้าง พร้อมกับยกความรอบคอบในด้านอื่นที่อาจกระทบจากการลดอัตราดอกเบี้ยมากกว่า “มองมุมเดียว”

กลายเป็นสงครามระหว่างผู้คุมนโยบายการเงินกับผู้คุมนโยบายการคลังไปโดยปริยาย

3-3

ความจริงเรื่องนี้ไม่ควรเกิดหากผู้มีบทบาททั้ง 2 ด้าน มานั่งหารือเพื่อหาวิธีการที่ดีที่สุดสำหรับประเทศ ถึงเวลาที่ อภิศักดิ์ ตันติวรวงศ์ รมว.คลัง และ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา จะต้องนั่งเป็นหัวโต๊ะ จับคนทั้ง 2 มานั่งเปิดอกคุยกันและต้องมีท่าทีร่วมกัน ไม่ใช่ออกมาทำสงครามผ่านสาธารณชนทำให้เกิดความสับสนทางนโยบาย

อภิศักดิ์ และบิ๊กตู่ จะนั่งนิ่งต่อไปไม่ได้แล้ว..

1-7

คอลัมน์ : ที่นี่ไม่มีความลับ /หน้า 16 หนังสือพิมพ์ฐานเศราฐกิจ / ฉบับ 3229  ระหว่างวันที่ 24-27 ก.ย.2560


ดาวน์โหลดอีบุ๊กแทรกข่าว-9-1-11