คนซื้อกังวลเทคโนโลยียานยนต์เปลี่ยน

01 ม.ค. 2561 | 11:46 น.
ฟอร์ดระบุรายงานแนวโน้มพฤติกรรมผู้บริโภค “Looking Further with Ford” ประจำปี 2018 เผยให้เห็นว่าการเปลี่ยนแปลงของสังคมโลกมีอิทธิพลต่อพฤติกรรมและทัศนคติต่างๆของผู้บริโภค

ในแต่ละปีฟอร์ดมีความสนใจในกระแส หรือเทรนด์ต่างๆเกี่ยวกับผู้บริโภคว่าจะเปลี่ยนแปลงอย่างไร และบริษัทควรจะตอบสนองอย่างไรบ้าง ดังนั้นจึงมีการทำรายงานแนวโน้มพฤติกรรมผู้บริโภค “Looking Further with Ford” เพื่อจะได้รับรู้และนำข้อมูลจากรายงานดังกล่าวไปเป็นเสมือนแผนที่ที่จะช่วยให้เข้าใจกระแสหลักในสังคม ที่จะมีอิทธิพลต่อพฤติกรรมผู้บริโภค และการดำเนินธุรกิจของแบรนด์ต่างๆ ในปี 2018

นายเชอริล คอนเนลลี ผู้จัดการฝ่ายเทรนด์ และ อนาคตผู้บริโภคระดับโลกของฟอร์ด กล่าวว่า การเปลี่ยนแปลงต่างๆ ของโลก การเมือง และความไม่เท่าเทียมกันทางสังคมได้เปลี่ยนแปลงความเป็นอยู่ของผู้คน และในขณะที่สังคมกำลังหาทางจัดการกับการพัฒนาสู่ความเป็นเมือง (urbanization) ที่เพิ่มสูงขึ้น การทำลายสภาพแวดล้อมและความไม่เสถียรทางเศรษฐกิจ ซึ่งฟอร์ดในฐานะบริษัทผู้นำด้านการสัญจรได้พัฒนาแนวทางสำหรับการสัญจรอัจฉริยะสำหรับทุกคน

mp23-3327-1B “ท่ามกลางช่องว่างระหว่างคนรวยกับคนจนที่เพิ่มสูงขึ้นและความวิตกกังวลว่าเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์อาจก่อให้เกิดผลเสียมากกว่าผลดี ฟอร์ดยังคงเชื่อมั่นในแนวคิดที่ว่า อิสระทางการเคลื่อนไหวจะช่วยขับเคลื่อนให้เกิดการพัฒนา”
ในรายงานดังกล่าว มีผลที่แสดงให้เห็นว่าผู้บริโภคกว่า 87% เห็นด้วยว่า เมืองต่างๆต้องการพัฒนาด้านตัวเลือกในการเดินทาง ซึ่งฟอร์ดมีความตั้งมั่นที่จะส่งมอบหนทางการแก้ไขปัญหาให้กับผู้บริโภคไม่ว่าจะอาศัยอยู่ที่ใดและขณะที่เทคโนโลยีการเชื่อมต่อและรถยนต์ขับเคลื่อนอัตโนมัติที่ยั่งยืนกำลังเปลี่ยนแปลงวิธีการสัญจรของผู้คนอย่างรวดเร็ว ฟอร์ด มุ่งมั่นในการนำเสนอความก้าวหน้าด้านการเดินทางที่ผู้บริโภคสามารถไว้วางใจได้

“ลักษณะของสังคมเช่นนี้ได้สะท้อนการทำงานของพวกเราที่ฟอร์ด รวมถึงความมุ่งมั่นของพวกเราในการส่งมอบหนทางแก้ไขปัญหาที่เชื่อถือได้เพื่อช่วยให้ชีวิตของผู้บริโภคและสังคมดียิ่งขึ้น โดยฟอร์ดยังคงมุ่งมั่นสร้างสรรค์นวัตกรรมที่มีความหมายและยั่งยืน”นาย คอนเนลลี กล่าว และว่า

สรุปกระแสหลัก 10 ประการจากรายงาน “Looking Further with Ford”

1.ยุคของการใช้เหตุผล ผู้บริโภคต่างค้นหาแนวทางใหม่ๆ เพื่อแก้ไขปัญหาและปรับตัวในสภาพแวดล้อมที่มีความหลากหลาย และมีความวุ่นวาย

2. การตื่นตัวของนักเคลื่อนไหว เริ่มมีการตั้งคำถามเกี่ยวกับภูมิปัญญาแบบเก่า และความคาดหวังแบบเดิมๆ เมื่อปัจเจกบุคคลถกเถียงว่าควรมีการเปลี่ยน แปลงด้านใดบ้าง

แบนเนอร์รายการฐานยานยนต์-2-2-503x69 3. ใส่ใจในความไม่เสมอภาค ต่างค้นหาแนวทางใหม่เพื่อช่วยพัฒนาการเข้าถึงการศึกษาที่มีคุณภาพ รวมถึงการเพิ่มประสิทธิภาพของเหล่าพนักงาน ปิดช่องว่างทางด้านค่าจ้าง และมอบมาตรฐานความเป็นอยู่และสาธารณูปโภคในราคาที่เอื้อมถึงได้สำหรับทุกคน

4. ความเห็นอกเห็นใจผู้อื่น ผู้คนเริ่มครุ่นคิดถึงบทบาทของตนเองในสังคม และมุ่งมั่นหาวิธีที่จะเป็นส่วนหนึ่งของสังคมนี้

5.ความสำคัญของสุขภาพจิต ผู้คนรวมถึงภาครัฐและภาคเอกชนต่างให้ความสำคัญเกี่ยวกับสุขภาพจิตที่ดีกันมากขึ้น

6. วัตถุนิยมบำบัด ผู้บริโภคไล่ล่าหาสินค้าใหม่ๆ และมีความแตกต่าง โดยมองหาสิ่งของและประสบ การณ์ที่นำมาซึ่งความสุข ในขณะที่บริการต่างๆ มุ่งมอบประสบการณ์ที่เปี่ยมประสิทธิภาพ และอีกประการคือ ผู้บริโภคในปัจจุบันพบว่า พวกเขาสามารถซื้อสิ่งหนึ่งที่ไม่เคยมีขายมาก่อนได้ นั่นก็คือ เวลา

7.ข้อมูลถูกเปิดเผยอย่างช่วยไม่ได้ โดยฐานข้อมูลขนาดใหญ่อาจนำไปสู่อคติมหาศาลได้ หากวันหนึ่งข้อมูลส่วนบุคคลถูกปล่อยปละละเลย ผู้บริโภคก็ทำได้เพียงคาดหวังว่าเหล่าบริษัทต่างๆ จะใช้ประโยชน์จากข้อมูลเหล่านี้อย่างมีความรับผิดชอบ

8.จุดเปลี่ยนของเทคโนโลยี เทคโนโลยีเสมือนจริง เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ และเทคโนโลยีรถยนต์ขับเคลื่อนอัตโนมัติที่ดูเหมือนจะเป็นเรื่องของอนาคตข้างหน้า ได้ถูกนำมาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน โดยผู้คนทั่วโลกต่างเริ่มตั้งคำถามถึงผลเสียที่อาจจะเกิดขึ้นในสังคมจากเทคโนโลยีชาญฉลาดเหล่านี้

9. โสดอย่างเป็น สุข เพราะการแต่งงานและการเป็นพ่อแม่อาจไม่ได้เป็นบรรทัดฐานแห่งความสุขที่ผู้คนฝันใฝ่อีกต่อไป

10. การเตรียมการที่ยิ่งใหญ่สำหรับมหานครต่างๆ ภายในปี 2050 มีการคาดการณ์ว่า ประชากรเกือบ 75 % ทั่วโลกจะอาศัยอยู่ในเขตเมือง ดังนั้นต้องวางแผนการเดินทาง การจ้างงาน การสร้างครัวเรือน การจัดการด้านความเป็นอยู่ที่ดี และจัดการสาธารณูปโภคอย่างชาญฉลาด เพื่อให้สามารถตอบรับประชากรที่เพิ่มสูงขึ้น

จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 37 ฉบับที่ 3,327 วันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2560 - 3 มกราคม พ.ศ. 2561
ดาวน์โหลดอีบุ๊กแทรกข่าว-9