เอกชนจี้รัฐดันดีเซลเป็นบี10 พลังงานรับลูกนำร่องใช้ในรถไฟช่วยลดสต๊อกซีพีโอ

15 ม.ค. 2561 | 05:31 น.
อัปเดตล่าสุด :15 ม.ค. 2561 | 12:31 น.
ผู้ผลิตไบโอดีเซลจี้รัฐ เพิ่มมาตรการใช้ไบโอดีเซลเป็นบี 10 หลังพบความต้องการใช้ไม่กระเตื้อง ยันหากเพิ่มได้อีก 3 % จะช่วยเพิ่มการใช้ซีพีโอเพิ่มขึ้นกว่า 1 แสนตันต่อเดือน ช่วยลดการสต๊อก ขณะที่กระทรวงพลังงาน ออกมารับลูก ทดลองใช้ในรถไฟสายวงเวียนใหญ่-มหาชัย

นายศิริ จิระพงษ์พันธ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เปิดเผยว่า กระทรวงพลังงานอยู่ระหว่างการศึกษาโครงการนำร่องการใช้ไบโอดีเซลบี 10 หรือผสมไบโอดีเซลบี 100 ในสัดส่วน 10% จากปัจจุบันอยู่ที่ 7% โดยล่าสุดกระทรวงพลังงานโดยกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน (พพ.) กรมธุรกิจพลังงาน (ธพ.) ร่วมกับบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) และการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) ประชุมเพื่อพิจารณาแนวทางเพิ่มการใช้ไบโอดีเซลบี 10 สำหรับกิจการรถไฟ

[caption id="attachment_242287" align="aligncenter" width="503"] นายศิริ จิระพงษ์พันธ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน นายศิริ จิระพงษ์พันธ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน[/caption]

โดยจะเริ่มดำเนินการในสายเส้นทางวงเวียนใหญ่-มหาชัย ภายใต้การอนุมัติของกระทรวงคมนาคม คาดว่าจะสามารถ
เริ่มนำร่องได้ภายในสัปดาห์
สุดท้ายของเดือนมกราคมนี้ หากสามารถเพิ่มไบโอดีเซลบี 7 เป็นไบโอดีเซล บี 10 ได้จะส่งผลให้
ความต้องการใช้นํ้ามันบี100 
ปรับเพิ่มขึ้น

นายประพนธ์ วงษ์ท่าเรือ อธิบดีกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน (พพ.) เปิดเผยว่า กระทรวงพลังงานมีนโยบายส่งเสริมการใช้ไบโอดีเซลและเอทานอลเพิ่มขึ้น ในปีนี้จะมีโครงการนำร่องทดสอบการใช้
ไบโอดีเซลบี 10 ร่วมกับทาง ร.ฟ.ท. ซึ่งภาคเอกชนก็ต้องการให้กระทรวงพลังงานส่งเสริมการใช้ให้มากขึ้นในระดับการผสมที่ 10-15% ขึ้นไป

นายศาณินทร์ ตริยานนท์ กรรมการ บริษัท นํ้ามันพืชปทุม จำกัด ในฐานะนายกสมาคม
ผู้ผลิตไบโอดีเซลไทย กล่าวว่า ในปีนี้สต๊อกนํ้ามันปาล์มดิบ 
(ซีพีโอ) ยังอยู่ระดับสูง ภาครัฐจึงเร่งผลักดันส่งออกและเพิ่มปริมาณการใช้ในประเทศมาก
ขึ้น โดยพบว่าในปีที่ผ่านมาไทยส่งออกซีพีโอจำนวนมากใน
รอบหลายปีที่ผ่านมา ขณะที่กระทรวงพลังงานส่งเสริมการใช้เพียงไบโอดีเซลบี 7 เท่านั้น

tp8-3331-a ดังนั้น หากสามารถเพิ่มสัดส่วนผสมเป็นบี 10 ได้ เชื่อว่าจะทำให้ความต้องการใช้ซีพีโอเพิ่มขึ้น 1 หมื่นตันต่อเดือน จากปัจจุบันไบโอดีเซลบี 7 มีความต้องการใช้ซีพีโออยู่ที่ 7-8 หมื่นตันต่อเดือน ดังนั้นหากเป็นบี 10 จะทำให้ความต้องการใช้ซีพีโอเพิ่มเป็นกว่า 1 แสนตันต่อเดือน

นายสิริวุทธิ์ เสียมภักดี อดีตนายกสมาคมผู้ผลิตเอทานอลไทย เปิดเผยว่า ปัจจุบันมีกำลังการผลิตเอทานอลจากโรงงานรวม 6 ล้านลิตรต่อวัน เทียบกับความต้องการใช้เอทานอลอยู่ที่ 4 ล้านลิตรต่อวัน ดังนั้นหากภาครัฐส่งเสริมการใช้
แก๊สโซฮอล์เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะแก๊สโซฮอล์อี 20 และอี 85 จะไม่เกิดปัญหาขาดแคลนเอทานอล ขณะเดียวกันก็มีโรงงานเอทานอลเพิ่มเข้ามาในระบบทุกปี

728x90-03 โดยขณะนี้ราคานํ้ามันดิบปรับสูงขึ้นกว่า 50 ดอลลาร์สหรัฐฯต่อบาร์เรล เทียบกับช่วงที่ผ่านมาระดับ 40 ดอลลาร์สหรัฐฯ
ต่อบาร์เรล จึงมีการทบทวนการใช้ไบโอดีเซลและเอทานอล ซึ่งยอมรับว่าต้นทุนเอทานอลยัง
แพงเมื่อเทียบกับนํ้ามันดีเซลหน้าโรงกลั่น ล่าสุดเอทานอลอยู่ที่ 24 บาทต่อลิตร แต่ส่งผลประโยชน์ไปยังภาคเกษตรกร ดังนั้นภาครัฐจะต้องวางแผนการส่งเสริมการใช้รถยนต์ไฟฟ้า (อีวี) และรถยนต์นํ้ามันให้มีความเหมาะสม รวมทั้งต้องดูความพร้อมโรง กลั่นนํ้ามันด้วย เพราะหากส่งเสริมรถยนต์อีวีมากเกินไป ความต้องการใช้ไบโอดีเซลและเอทานอลจะลดลง

นายจิรวัฒน์ นุริตานนท์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท โกล บอลกรีนเคมิคอล จำกัด (มหาชน) หรือ GGC กล่าวว่า สำหรับภาพรวมความต้องการใช้ไบโอดีเซลในปีนี้คาดว่าจะเพิ่มสูงขึ้น โดยกลุ่มผู้ผลิตไบโอดีเซลจะเรียกร้องให้รัฐบาลสนับสนุนการใช้บี 100 
ผสมในนํ้ามันดีเซลมากขึ้น จากปัจจุบันที่ผสมอยู่ 7% หากเพิ่มเป็น บี10 เชื่อว่าจะช่วยดูดซับสต๊อก
นํ้ามันปาล์มดิบได้เพิ่มขึ้น 4 หมื่นตันต่อเดือน จะช่วยลดสต๊อก
นํ้ามันปาล์มดิบที่ปัจจุบันมีอยู่สูงถึง 4 แสนตัน จากระดับสต๊อกปกติที่อยู่ระดับ 2-3 แสนตัน 
ขณะที่ในบางประเทศ อย่าง
มาเลเซีย เตรียมบังคับใช้ บี10 อย่างเป็นทางการ และอินโดนีเซียก็ใช้ บี 15

จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 38 ฉบับที่ 3,331 วันที่ 14 - 17 มกราคม พ.ศ. 2561
ดาวน์โหลดอีบุ๊กแทรกข่าว-9