อนาคตโลจิสติกส์ประเทศไทย

13 มี.ค. 2561 | 23:05 น.
TP9-3347-1B โลกธุรกิจในปัจจุบันคือยุคของการปรับเปลี่ยนเชิงโครงสร้างเพื่อรองรับ e-Commerce/e-Trading และมุ่งไปสู่ความยั่งยืนหรือ Sustainability ซึ่งทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงหลายประการในตลาดการค้าและโลจิสติกส์ระหว่างประเทศ อาทิ การปรับเปลี่ยนไปสู่ Industry 4.0/e-Logistics รวมถึงการพัฒนาด้านเทคโนโลยีและกฎระเบียบเพื่อให้คำนึงถึงสิ่งแวดล้อมมากขึ้น คำถามสำคัญคือ “ผู้ประกอบการภาคการค้าและผู้ให้บริการโลจิสติกส์ระหว่างประเทศของไทย มีความพร้อมมากน้อยเพียงใดที่จะยืนหยัดท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นนี้?”

TP9-3347-2B กระแสการเติบโตของธุรกิจ e-Commerce และบริการโลจิสติกส์สมัยใหม่ที่พัฒนาไปสู่ door-to-door
service และให้บริการตลอด end-to-end supply chain ส่งผลให้สายเรืออันดับ 1 ของโลกอย่างเช่น Maersk Line ประกาศจุดยืนอย่างชัดเจนในการขยับตัวเองไปสู่ Global Integrator สำหรับการขนส่งในระบบคอนเทนเนอร์ โดยควบรวมกิจกรรมการขนส่งทางทะเล ท่าเรือ ทางถนน ระบบรางผ่านเส้นทาง China-Eurasia-Europe และบริการด้านโลจิส ติกส์ที่เกี่ยวเนื่อง เพื่อให้สามารถขนส่งสินค้าตั้งแต่ farm ไปสู่ refrigerators เป็นต้น ในทุกทางเลือกที่มีอยู่ และเพื่อคานอำนาจของ e-market place platform ขนาดใหญ่อย่างเช่น Amazon ที่เริ่มขยับเข้าไปให้บริการกระจายและจัดส่งสินค้าด้วยตนเองมากขึ้น ซึ่งเชื่อมั่นว่ากลยุทธ์สำคัญที่ Maersk จะเลือกใช้คือการหาพันธมิตรหรือควบรวมกิจการกับผู้ประกอบการท้องถิ่น พร้อมทั้งการพัฒนาระบบ Blockchain ร่วมกับ IBM เพื่อเป็น Global e-Logistics Platform ที่สามารถมั่นใจได้ในเรื่องของความปลอดภัย ซึ่งภาพที่ปรากฏถือเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญที่ผู้เล่นขนาดใหญ่ประกาศตัวอย่างชัดเจนในการลงมาแข่งขันกับผู้ให้บริการโลจิสติกส์รายย่อย

และในขณะที่ประเทศไทยเริ่มเผชิญกับปัญหามลพิษทางอากาศที่รุนแรงมากขึ้น แต่ยังไร้มาตรการที่ชัดเจนในการแก้ไขปัญหา องค์กรทางทะเลระหว่างประเทศ หรือ International Maritime Organization (IMO) ได้ผลักดันอย่างจริงจังให้เรือขนส่งสินค้าลดปริมาณการปล่อยมลพิษออกสู่ชั้นบรรยากาศ โดยกำหนดให้ ณ วันที่ 1 มกราคม 2020 เรือขนส่งสินค้าต้องใช้เชื้อเพลิงที่มี Sulfur ผสมเพียง 0.5% จากเดิม 3.5% ซึ่งส่งผลให้เกิดกระแสกดดันต่อเจ้าของเรือและผู้ให้บริการ 
โลจิสติกส์ที่เกี่ยวเนื่องต้องเร่งพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลง อาทิ การใช้เรือที่ใช้เชื้อเพลิง LNG การใช้อุปกรณ์ขนถ่ายสินค้าหน้าท่าและภายในลานกองตู้ที่ใช้พลังงานไฟฟ้าและเป็นระบบอัตโนมัติ เชื่อมโยงเข้ากับระบบบริหารจัดการที่เป็น e-Logistics ที่สมบูรณ์

แบนเนอร์รายการฐานยานยนต์-2 เพียงประเด็นสำคัญ 2 ประการที่เกริ่นให้ทราบก็บ่งบอกถึงความจำเป็นสำหรับผู้ให้บริการโลจิสติกส์ไทยที่ต้องปรับตัวและต้องทุ่มเททรัพยากรเพื่อให้สามารถรักษาธุรกิจของตนกับผู้ประกอบการค้าระหว่างประเทศของไทยซึ่งมีแรงกดดันทั้งด้านมาตรฐานและต้นทุนดำเนินการให้ได้ และแน่นอนว่าในระดับนโยบายของประเทศก็ต้องมองให้ออกว่า การค้าระหว่างประเทศที่เติบโต และส่งผลให้มูลค่าของโลจิสติกส์ระหว่างประเทศของสินค้าไทยเติบโตมากขึ้นตามไปด้วยนั้น หากแต่ “ผลประโยชน์ที่ได้รับนั้นอยู่ในรูปของเงินบาทที่จ่ายให้กับผู้ให้บริการโลจิสติกส์ไทยและก่อให้เกิดความมั่งคั่งภายในประเทศ หรือเป็นเงินตราต่างประเทศที่ต้องโอนออกนอกประเทศเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายให้กับ Global Logistics Service Provider?”

จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 38 ฉบับที่ 3,347 วันที่ 11 - 14 มีนาคม พ.ศ. 2561
ดาวน์โหลดอีบุ๊กแทรกข่าว