รัชกาลที่ 7 ในความทรงจำสยาม ณ พิพิธภัณฑ์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว

16 มิ.ย. 2561 | 23:41 น.
PPC-709 อาคารทรงยุโรปสีเขียวอ่อนภายใต้โครงสร้างสถาปัตยกรรมแบบนีโอคลาสสิค จุดศูนย์รวมทุกสายตาและความทรงจำตั้งอยู่อย่างสง่างามบริเวณเชิงสะพานผ่านฟ้า ลีลาศ มุมตัดระหว่างถนนหลานหลวงกับถนนดำรงรักษ์ หนึ่งในแลนด์มาร์กสำคัญบน ถนนราชดำเนินกลาง หมุดหมาย ความ ทรงจำแห่งสยามมากกว่า 1 ศตวรรษ

เรื่องราวที่เริ่มต้นนับแต่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินเมืองสิงคโปร์ ซึ่งขณะนั้นยังเป็นเมืองในอาณานิคมของอังกฤษ รวมถึงเมืองอาณานิคมของฮอลันดาอย่างเมืองปัตตาเวียและเมืองสมารัง ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงหลากหลายด้านซึ่งหนึ่งในนั้นคือ กระแสความนิยมในการเข้ามาค้าขายของห้างร้าน ตลอดจนสาขาของบริษัทต่างประเทศหลากหลายแห่ง

OLYMPUS DIGITAL CAMERA

ณ อาคารแห่งนี้ คือพื้นที่ซึ่งรัชกาลที่  5 โปรดเกล้าฯ ให้กรมพระคลัง ข้างที่ลงทุนก่อสร้างอาคารขนาดใหญ่ เพื่อเป็นที่ตั้งของห้างยอน แซมป์สัน แอนด์ ซัน (John Sampson & Son Limited) ห้างเพียงแห่งเดียวที่ตั้งบนถนนราชดำเนินนอก ถนนสายหลักของกรุงเทพฯ เมื่อ 100 ปีก่อน สมกับการเป็นสาขาของห้าง Messr. Sam
& Sampson & Son ห้างจำหน่ายผ้าและรับตัดเย็บเสื้อผ้า รองเท้า รวมถึงอานม้าชื่อดังย่านบอนด์สตรีต กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ

ระยะเวลาที่หมุนเวียนเปลี่ยนผ่าน ตลอดจนสถานการณ์ทางการเมืองหลากหลายรูปแบบทั้งในและนอกประเทศ จากอาคารแห่งนี้ได้เปลี่ยนเป็นที่ทำการรูปแบบอื่นๆ ทั้งการรับไม้ต่อจัดให้เป็นที่ทำการของห้างสุธาดิลก จำหน่ายวัสดุก่อสร้างและเครื่องสุขภัณฑ์สมัยใหม่ กระทั่งในเดือนกุมภาพันธ์ 2536 กระทรวงมหาดไทยได้ขอเช่าเป็นที่ทำการของกรมโยธาธิการ ก่อนสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์มอบสิทธิ์ การเช่าให้แก่ “สถาบันพระปกเกล้า” เพื่อใช้เป็นที่ตั้งพิพิธภัณฑ์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ในปี 2544

OLYMPUS DIGITAL CAMERA

โครงสร้างที่สะท้อนรสนิยมแห่งยุคสมัย เรื่องราวที่เริ่มต้นขึ้นจากบันไดก้าวแรกขึ้นไปสู่ชั้น 2 ลำดับเหตุการณ์ในพระชนมชีพพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 แห่งราชวงศ์จักรี พระราชโอรสองค์สุดท้ายในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ โดยละเอียด

ตั้งแต่เสด็จพระราชสมภพ การเสด็จฯ ไปศึกษายังต่างประเทศอันเป็นกุศโลบายสำคัญของการต่างประเทศในสมัยรัชกาลที่ 5 จนถึงยุคต่อๆ มา เครื่องทรงและของใช้ส่วนพระองค์ต่างๆ เปิดให้เราคนธรรมดาได้สัมผัสอย่างใกล้ชิด “พระมาลาฟาง” ทรงโปรด เครื่องทรงชุดทหาร เครื่องราชกกุธภัณฑ์ รวมถึงพระอัจฉริยภาพ ในด้านต่างๆ ในฐานะสุภาพบุรุษผู้รับหน้าที่เป็นพระมหากษัตริย์ผู้ปกครองพสกนิกรไทยให้อยู่อย่างร่มเย็น หนึ่งในจุดไฮไลต์ของนิทรรศการบริเวณชั้น 3 คือแบบจำลองสะพานพระพุทธยอดฟ้าและปฐมบรมราชานุสรณ์ซึ่งได้รับการออกแบบให้เป็นรูปลูกศร พระราชลัญจกรในรัชกาลที่ 7 และความหมายพ้องกับพระบรมนามาภิไธย ว่า “ประชาธิปกศักดิเดชน์” ซึ่งคำว่า “เดชน์” หมายถึง ลูกศร นั่นเอง

PPC-921

การซึมซับเรื่องราวด้วยการสัมผัสทางสายตาผ่านภาพและตัวอักษร ความรู้สึกที่หลอมรวมเป็นหนึ่งเดียวทำให้เรารับรู้ถึงความสุขเล็กๆ การดำรงพระชนมชีพอย่างเรียบง่าย พระราชหฤทัยที่เจ็บปวดแสนสาหัส จนถึงกาลแห่งการสวรรคต

กล่าวได้ว่าพิพิธภัณฑ์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว คือพื้นที่ซึ่งคนไทยจะได้รับรู้ถึงประวัติศาสตร์ห้วงหนึ่งของหัวเลี้ยวหัวต่อในสยามอย่างเต็มอิ่ม ช่วงเวลาที่ภาพการเมืองการปกครองในรัชกาลที่ 7 ปรากฏชัดเจนอย่างไม่น่าเชื่อ
สมกับสถานะของการเป็นพิพิธภัณฑ์พระมหากษัตริย์แห่งแรกของไทย

OLYMPUS DIGITAL CAMERA

พิพิธภัณฑ์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว เปิดให้บริการตั้งแต่เวลา 09.00 - 16.00 น. ตั้งแต่วันอังคาร - วันอาทิตย์ (หยุดวันจันทร์) ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ โทร. 0-2280-3413-4

กิจกรรมดีๆ ภายใต้แนวคิด “ย้อนกาลเก่า เล่ารัตนโกสินทร์ ยินผ่าน วรรณกรรม” โดย KTC Press Club จะพาท่านผู้อ่านไปเยี่ยมชมที่ไหนต่อ ติดตามได้ในฉบับหน้านะคะ

[caption id="attachment_290594" align="aligncenter" width="503"] OLYMPUS DIGITAL CAMERA OLYMPUS DIGITAL CAMERA[/caption]

หน้า 28 หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ฉบับ 3371 ระหว่างวันที่ 3 -6 มิ.ย. 2561

e-book-1-503x62-7