แพลตฟอร์มถูกกฎหมายใกล้ตาย!! ผลสำรวจพบคนไทยกว่า 45% ใช้ทีวี Box ดูหนังและรายการทีวีละเมิดลิขสิทธิ์
นายนีล เกน ผู้จัดการทั่วไปของพันธมิตรเพื่อการต่อต้านการละเมิดลิขสิทธิ์ (CAP) กล่าวว่า
"ผลกระทบของการละเมิดลิขสิทธิ์ไม่ได้มีต่อผู้สร้างสรรค์ผลงานเท่านั้น แต่ยังก่อให้เกิดความเสียหายต่อผู้บริโภคทั่วไปอีกด้วย เพราะคอนเทนต์ละเมิดลิขสิทธิ์มักมากับมัลแวร์ (Malware)" ผู้บริโภคทั่วไปมักต้องกด
"คลิกเพื่อรับชม" ซึ่งทำให้การแพร่กระจายมัลแวร์เกิดขึ้นเพียงชั่วพริบตา ดังนั้น
ผู้บริโภคที่ชอบของ "ฟรี" หรือ กลุ่มที่จ่ายเงินค่าสมัครสมาชิถูก ๆ เพื่อดูคอนเทนต์ละเมิดลิขสิทธิ์ จึงมีความเสี่ยงในการติดมัลแวร์ ประมาณครึ่งหนึ่งของผู้บริโภคที่ตอบแบบสอบถาม (47%) ที่มีกล่อง ISD กล่าวว่า ได้ซื้อกล่องมาจากร้านค้าอี-คอมเมิร์ซชื่อดังที่ใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รวมถึงร้านค้าในห้างไอที หรือตามงานแสดงสินค้าที่เกี่ยวกับอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เกือบ 1 ใน 3 ของผู้บริโภคที่มีกล่อง ISD (31%) อ้างว่า ได้ซื้ออุปกรณ์มาจากแพลตฟอร์มสื่อสังคมออนไลน์ที่ได้รับความนิยมมากที่สุดแห่งหนึ่งของโลก
นอกจากปัญหาระยะสั้นที่มีต่อผู้ประกอบการที่เป็นเจ้าของแพลตฟอร์มถูกกฎหมายอันเนื่องมาจากผู้ใช้บริการบอกเลิกรับสมาชิก ปัญหาระยะยาวที่เกิดขึ้นจากกล่อง ISD คือ ผู้ใช้กล่องมักเป็นวัยหนุ่มสาวที่มีอายุระหว่าง 18-24 ปี ซึ่งมากกว่า 3 ใน 4 (77%) ได้ยกเลิกบริการแบบบอกรับสมาชิก เพราะตนซื้อกล่องทีวี Box มาแล้ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งได้บอกเลิกการบอกรับสมาชิกในการดูคอนเทนต์ต่างประเทศ (40%)
จากผลสำรวจล่าสุดของ YouGov พบว่า คนไทยดูหนังหรือรายการทีวีละเมิดลิขสิทธิ์ผ่านทีวี Box มากขึ้น ทีวี Box คือ อุปกรณ์สตรีมมิ่งผิดกฎหมาย (Illicit Streaming Devices : ISDs) หรือที่รู้จักในชื่อ
"กล่องแอนดรอยด์ หรือ กล่อง IPTV" ที่ผู้ใช้สามารถชมรายการโทรทัศน์และวีดีโอออนดีมานด์แบบละเมิดลิขสิทธิ์ได้ โดยอาจจะมีการเก็บค่าใช้บริการทั้งแบบรายเดือนและรายปี ซึ่งผลสำรวจจาก YouGov พบว่า แอพพลิเคชันที่ได้รับความนิยมสูงสุดของไทย คือ Mango TV, HD Playbox และ U Play ผลสำรวจของ YouGov ได้รับการสนับสนุนจาก
"พันธมิตรเพื่อการต่อต้านการละเมิดลิขสิทธิ์" (Coalition Against Piracy : CAP) ซึ่งเป็นหน่วยงานภายใต้สมาคมอุตสาหกรรมวิดีโอแห่งเอเชีย (Asia Video Industry Association : AVIA) ได้ชี้ให้เห็นถึงผลกระทบของการสตรีมมิ่งคอนเทนต์ละเมิดลิขสิทธิ์ที่มีต่อบริการโทรทัศน์แบบบอกรับสมาชิกที่ถูกกฎหมาย พบว่า ผู้บริโภคจำนวน 45% ที่ซื้อกล่อง ISD หรือ อุปกรณ์ส่งสัญญาณผ่านระบบไร้สาย (WiFi) ไปที่เครื่องโทรทัศน์ (Dongle) มากกว่า 2 ใน 3 (69%) บอกว่า ได้ยกเลิกบริการโทรทัศน์แบบบอกรับสมาชิกบางส่วนหรือทั้งหมด เนื่องจากมีกล่อง ISD แล้ว 24% บอกว่า ได้ยกเลิกการบอกรับสมาชิกของไทย ส่วนบริการโทรทัศน์แบบบอกรับสมาชิกจากต่างประเทศที่ให้บริการลูกค้าในเอเชียแปซิฟิกได้รับผลกระทบมากที่สุด โดยพบว่า เกือบ 1 ใน 3 (30%) ของลูกค้าคนไทยได้ยกเลิกการเป็นสมาชิก เพราะมีกล่อง ISD แล้ว
ขณะที่ กรมทรัพย์สินทางปัญญา กระทรวงพาณิชย์ หน่วยงานที่ดูแลกฎหมายลิขสิทธิ์ ได้ให้ความเห็นว่า เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการแก้ไขปัญหา จึงได้เสนอแก้ไขกฎหมายลิขสิทธิ์ โดยเพิ่มบทบัญญัติกำหนดฐานความผิดสำหรับกรณีการให้บริการ การผลิต จำหน่าย หรือ นำเข้าอุปกรณ์ลักลอบรับชมทีวีโดยละเมิดลิขสิทธิ์ ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบในหลักการของร่างกฎหมายตามที่กระทรวงพาณิชย์เสนอแล้ว เมื่อวันที่ 16 ต.ค. ที่ผ่านมา หลังจากนี้จะเข้าสู่กระบวนการตรวจพิจารณาร่างกฎหมายของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา โดยร่างกฎหมายดังกล่าวได้กำหนดให้เอาผิดกับผู้ผลิตหรือจำหน่ายกล่องรับชมทีวีแบบละเมิดลิขสิทธิ์อย่างชัดเจน นับเป็นก้าวสำคัญอีกก้าวหนึ่งในการแก้ไขปัญหาการละเมิดลิขสิทธิ์ในยุคปัจจุบัน
นายสมพันธ์ จารุมิลินท รองประธานกรรมการบริหาร ทรูวิชั่นส์ กล่าวว่า "การละเมิดลิขสิทธิ์ที่เกิดขึ้นมากในขณะนี้ นำมาซึ่งอันตรายหลายประการ ประการแรก คือ อันตรายต่อผู้บริโภคจากการติดมัลแวร์และสปายแวร์ที่ฝังอยู่ในเว็บไซต์และแอพพลิเคชันละเมิดลิขสิทธิ์ ประการที่ 2 คือ การสนับสนุนอาชญากรรมเหล่านี้ทำให้เกิดความเสียหายต่อธุรกิจที่ถูกต้องตามกฎหมาย ประการที่ 3 คือ การทำลายโมเดลประเทศไทย 4.0 ซึ่งพยายามขับเคลื่อนเศรษฐกิจด้วยนวัตกรรมและเป็นหนึ่งในผู้นำโลกในด้านเศรษฐกิจดิจิทัล ผู้บริโภคควรให้ความระมัดระวังกับเรื่องการละเมิดลิขสิทธิ์ เนื่องจากความเสียหายที่เกิดจากมัลแวร์ สปายแวร์ และ RATs นั้น กระทบต่อผู้บริโภคโดยตรงและยังส่งผลกระทบต่อประเทศและเศรษฐกิจของเรา ทรูวิชั่นส์มีความยินดีให้ความร่วมมือกับกรมทรัพย์สินทางปัญญา พันธมิตรเพื่อการต่อต้านการละเมิดลิขสิทธิ์ (CAP) และผู้มีส่วนได้เสียทั้งหมดที่เกี่ยวข้อง เพื่อช่วยให้ความรู้กับสาธารณชนให้รับทราบถึงผลกระทบและอันตรายที่เกิดขึ้นจากการละเมิดลิขสิทธิ์"
พันธมิตรเพื่อการต่อต้านการละเมิดลิขสิทธิ์ (Coalition Against Piracy, CAP) ซึ่งเป็นหน่วยงานภายใต้สมาคมอุตสาหกรรมวิดีโอแห่งเอเชีย (Asia Video Industry Association, AVIA) ประกอบด้วย ผู้สร้างและผู้จัดจำหน่ายเนื้อหาวิดีโอชั้นนำในเอเชีย สมาชิก ได้แก่ : BeIN Sports, Discovery, บริษัท วอลต์ดิสนีย์, ฟ็อกซ์เน็ตเวิร์คสกรุ๊ป, HBO Asia, NBCUniversal, Netflix, Premier League, Turner Asia-Pacific, A & E Networks, Astro, BBC Worldwide, CANAL +, Cignal, La Liga, Media Partners Asia, สมาคมบาสเกตบอลแห่งชาติ, PCCW Media, Singtel, Sony Pictures เครือข่ายโทรทัศน์เอเชีย, TVB, True Visions, TV5MONDE และ Viacom International Media Networks