ซี.พี.ขานรับรัฐบาลเวียดนาม ดันผลิตกุ้ง 1 ล้านตันผงาดเบอร์ 1 โลก

06 ธ.ค. 2561 | 16:50 น.
อัปเดตล่าสุด :07 ธ.ค. 2561 | 06:47 น.
ซี.พี.หนุนนโยบายรัฐบาลเวียดนาม เพิ่มผลผลิตกุ้งเป็น 1 ล้านตัน ผงาดเบอร์ 1 โลกใน 7 ปี  เผย 25 ปีปูพรมลงทุนเวียดนามแล้วกว่า 1,000 ล้านดอลล์ เตรียมทุ่มอีก 220 ล้านดอลลาร์ ตั้งโรงงานผลิตไก่-หมูแปรรูปส่งออกไปญี่ปุ่น ยุโรป โชว์ยอดขายไตรมาส 3 โต 31%

นายมนตรี  สุวรรณโพธิ์ศรี กรรมการผู้จัดการ บริษัท ซี.พี.เวียดนาม คอร์ปอเรชั่น จำกัด เผยว่า จากที่ในปี 2025 (พ.ศ.2568) หรือในอีก 7 ปีข้างหน้านายกรัฐมนตรีของเวียดนามได้ประกาศจะผลักดันให้เวียดนามเป็นผู้ส่งออกกุ้งอันดับ 1 ของโลกแซงหน้าอินเดียซึ่งเป็นผู้ส่งออกอันดับ 1 ในปัจจุบัน รวมถึงไทยที่เคยเป็นผู้ส่งออกอันดับต้นๆ  จากในปี 2560 เวียดนามเป็นผู้ส่งออกอันดับ  3 โดยส่งออกได้กว่า 3.3 แสนตันนั้น ในส่วนของซี.พี.เวียดนามซึ่งอยู่ในภาคธุรกิจสัตว์น้ำโดยเฉพาะกุ้งซึ่งเป็นรายใหญ่สุดในเวียดนามจะเป็นส่วนสำคัญที่จะมีส่วนร่วมในการช่วยผลักดันเป้าหมายดังกล่าวให้สำเร็จ

[caption id="attachment_357985" align="aligncenter" width="503"] มนตรี สุวรรณโพธิ์ศรี มนตรี สุวรรณโพธิ์ศรี[/caption]

ทั้งนี้ในปัจจุบันซี.พี.ได้นำโมเดลการเลี้ยงกุ้งที่สำเร็จจากประเทศไทยไปใช้ที่เวียดนาม ซึ่งจะได้สนับสนุนให้เกษตรเวียดนามขยายการเลี้ยง โดยมีเป้าหมาย 5 แสนตันจาก 1 ล้านตันดังกล่าว มีแผนงานรองรับอาทิ จะเพิ่มโรงเพาะฟักเพื่อขยายการผลิตลูกกุ้ง จาก 1.2 หมื่นล้านตัว เป็น 5 หมื่นล้านตัว และขยายการผลิตอาหารกุ้งจากปัจจุบัน 3 แสนตันต่อปี ในปีหน้าจะสร้างโรงงานผลิตอาหารกุ้งอีก 1 โรง กำลังผลิต 2 แสนตันต่อปี

“ใน 25 ปีที่ผ่านมาของซี.พี.เวียดนามได้ลงทุนในธุรกิจสัตว์บก สัตว์น้ำ และอาหารสำเร็จรูปไปแล้วกว่า 1,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ที่จะมีการลงทุนใหม่ล่าสุดคือการตั้งโรงงานแปรรูปเนื้อไก่เพื่อส่งออกที่จังหวัดบิ่น เฟื๊อก  จะลงทุนประมาณ 200 ล้านดอลลาร์  และจะตั้งโรงงานแปรรูปเนื้อสุกรเพื่อส่งออกอีก 1 โรง ที่กรุงฮานอย เม็ดเงินลงทุนประมาณ 20 ล้านดอลลาร์ ทั้งสองโรงงานคาดจะแล้วเสร็จในต้นปีถึงกลางปี 2563 โดยมีแผนส่งออกไปญี่ปุ่น สหรัฐฯ รวมถึงกลุ่มประเทศสมาชิกความตกลงที่ครอบคลุมและก้าวหน้าสำหรับหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิก หรือ CPTPP อีก 10 ประเทศที่ความตกลงจะมีผลบังคับใช้ในปีหน้า ทำให้การส่งออกจากเวียดนามได้รับสิทธิประโยชน์ด้านภาษี รวมถึงส่งออกไปสหภาพยุโรป(27 ประเทศ)ที่ได้บรรลุข้อตกลงเอฟทีเอกับเวียดนามแล้ว รอเพียงการมีผลบังคับใช้”

กุ้ง

นายมนตรียังเผยถึง ผลประกอบการของซี.พี.เวียดนาม ในไตรมาสที่ 3 ของปีนี้ มียอดขายรวม 1,891 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เพิ่มขึ้น 31% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน  โดยสัดส่วน 60% มาจากฟาร์มเลี้ยงสัตว์(Farm)  33% จากอาหารสัตว์(Feed)  และอีก 7%  จากอาหารแปรรูป(Food) ส่วนภาพรวมยอดขายทั้งปีนี้ยังไม่สามารถระบุได้เพราะบริษัทอยู่ในตลาดหลักทรัพย์  แต่คาดจะมีผลประกอบการที่ดี จากแต่ละปีที่ผ่านมาบริษัทจะมียอดขายเพิ่มขึ้นเฉลี่ย 12% (ปี 2560 ซี.พี.เวียดนามมียอดขาย 1,947 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ) ซึ่งเมื่อโรงงานแปรรูปเนื้อไก่ และเนื้อสุกรเพื่อส่งออกสามารถเปิดดำเนินการได้ การขยายตัวของยอดขายต่อปีจะเพิ่มขึ้นแน่นอน

[caption id="attachment_357987" align="aligncenter" width="503"] โรงงานอาหารสัตว์ซี.พี.ที่ จ.ห่ายเยือง โรงงานอาหารสัตว์ซี.พี.ที่ จ.ห่ายเยือง[/caption]

สำหรับการลงทุนในเวียดนามมีแนวโน้มที่ดีต่อเนื่อง จากชาวเวียดนามกว่า 95 ล้านคน อายุเฉลี่ยอยู่ที่ 31 ปี ซึ่งเป็นคนรุ่นใหม่และอยู่ในวัยทำงานและเริ่มมีกำลังซื้อสูง ชาวต่างชาติหลั่งไหลเข้าไปลงทุน ขณะที่เศรษฐกิจ(จีดีพี)ของเวียดนามขยายตัวสูงเฉลี่ย  6.5% ต่อปี การเมืองก็มีเสถียรภาพ นโยบายรัฐบาลต่อเนื่อง  และเวียดนามยังเป็นสมาชิกขององค์กรระหว่างประเทศ หลายเวที ซึ่งบางเวทีไทยยังไม่ได้เข้าร่วมเช่น CPTPP ดังนั้นการส่งออกของซี.พี.จากเวียดนามจะช่วยเสริมศักยภาพบางส่วนที่ไม่สามารถส่งออกจากไทยได้ ทำให้เอื้อต่อการตัดสินใจการลงทุนของซี.พี.

cpv

อย่างไรก็ตาม แผนการลงทุน 5 ปีของซี.พี. เวียดนามจะกำหนดไว้กว้าง ๆ และปรับแก้ตามสถานการณ์ ตัวอย่างกรณีสุกรมีชีวิต แม้จะส่งออกไม่ได้จากเวียดนามยังเป็นเขตโรคปากเท้าเปื่อย แต่เนื่องจากฮานอยเป็นเขตติดต่อกับประเทศจีนทำให้ก่อนหน้านี้มีการลักลอบส่งออกมาก เกษตรกรได้ขยายกำลังเลี้ยงถึง 50 ล้านตัวต่อปี (ไทยผลิต 20 ล้านตัวต่อปี)เกินความต้องการ เมื่อจีนปราบปรามการลักลอบมากขึ้น ทำให้ราคาสุกรในปีที่ผ่านมาตกต่ำ เกษตรกรจำนวนมากเลิกเลี้ยง ทำให้ผลผลิตลดลง สถานการณ์ราคาในปีนี้จึงเพิ่มขึ้น 50%  มีส่วนช่วยต่อการขยายตัวของยอดขายของซี.พี.ในเวียดนามใน 3 ไตรมาสแรก

595959859