Thai BEV พัฒนา CSR สู่ กิจการเพื่อสังคม

13 มี.ค. 2559 | 11:00 น.
ถ้าจะพูดถึงการตอบแทนสู่สังคมของ บริษัทเครื่องดื่มยักษ์ใหญ่ บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) ที่พวกเราเห็นเด่นชัดมานาน ก็คือ การแจกผ้าห่ม แต่การทำซีเอสอาร์ หรือการคืนสิ่งดีๆ กลับสู่สังคม ไม่ได้มีอยู่เพียงเท่านั้น "วิเชฐ ตันติวานิช" ผู้ช่วยกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) ได้พูดถึงการทำซีเอสอาร์ของไทยเบฟไว้อย่างละเอียด

[caption id="attachment_37143" align="aligncenter" width="379"] วิเชฐ ตันติวานิช ผู้ช่วยกรรมการผู้อำนวยการใหญ่  บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) วิเชฐ ตันติวานิช
ผู้ช่วยกรรมการผู้อำนวยการใหญ่
บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน)[/caption]

"แผนซีเอสอาร์ของเราเยอะมาก และปีนี้เราก็เข้มข้นขึ้น...บริษัทที่เติบโตแล้ว มันจะไปหยุดกั้นไม่ให้เติบโตหรือไม่มีกำไรมากมาย คงทำไม่ได้ เพราะธุรกิจต้องขยายออกไป แต่เมื่อธุรกิจโตถึงจุดหนึ่ง มันควรที่จะไหลกลับไปสู่สังคมบ้าง"

[caption id="attachment_37146" align="aligncenter" width="500"] water-festival water-festival[/caption]

โครงการซีเอสอาร์ของไทยเบฟ เกิดจากความเชื่อเรื่องการดำเนินธุรกิจให้มีความยั่งยืนและเติบโตอย่างมั่นคง หลักๆ ที่ไทยเบฟ ดำเนินการอยู่ มีทั้งส่วนที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจ และไม่เกี่ยวข้องกับธุรกิจ ให้ความสำคัญกับทั้งด้านธุรกิจ อุตสาหกรรม และเศรษฐกิจ แต่รวมถึงผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทั้งภายในและภายนอกองค์กร ผ่านการใส่ใจ รับผิดชอบทั้งต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม

[caption id="attachment_37145" align="aligncenter" width="500"] แจกผ้าห่มต้านภัยหนาว แจกผ้าห่มต้านภัยหนาว[/caption]

โครงการหลักๆ ที่ไทยเบฟทำ ผ่านกิจกรรม 5 ด้าน คือ สังคม การศึกษา-เยาวชน สาธารณสุข ศิลปะวัฒนธรรม และกีฬา "วิเชฐ" บอกว่า สาเหตุที่ต้องทำทั้ง 5 ด้าน เพราะการทำธุรกิจมันเกี่ยวกับทุกเรื่อง สิ่งที่ทำจึงตั้งแต่เรื่องของการบริจาค ทั้งที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจและไม่เกี่ยวข้อง ทางตรงก็คือ การทำโครงการชุมชนดีมีรอยยิ้ม คำว่าชุมชนที่ว่า ก็คือชุมชนรอบๆ โรงงาน เช่น โครงการเยาวชนต้นแบบบางคูวัด ให้เด็กๆ ได้ออกแบบมาว่าทำอย่างไร ชุมชนของเขาจึงจะมีความสุขอย่างยั่งยืน เช่น โครงการบิณฑบาตความโกรธ โครงการถุงผ้ามหาสนุก โครงการตลาดนัดนักเรียน และโครงการคลินิกฟุตบอล

[caption id="attachment_37148" align="aligncenter" width="503"] เยาวชนต้นแบบชุมชนบางคูวัด เยาวชนต้นแบบชุมชนบางคูวัด[/caption]

ลักษณะของการช่วยชุมชน จะเน้นการให้ความรู้สร้างความยั่งยืน ไม่เพียงแค่นำเงินไปบริจาคเฉยๆ แต่ต้องให้คนในชุมชนร่วมกันคิด ร่วมกันทำ เช่น โครงการสร้างสนามฟุตบอลให้กับโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน หากบริจาคเงินสร้าง 1.5 ล้านบาท ก็จะได้สนาม แต่การให้คนในชุมชนมาช่วยกัน ใช้เงินเพียง 7 แสนบาท แต่เมื่อสนามชำรุด ทุกคนมีความรู้ซ่อมแซมได้ เป็นความรู้ที่อยู่ติดกับชุมชนไปตลอด ซึ่งรูปแบบนี้องค์กรอื่นๆ สามารถนำไปเป็นต้นแบบได้ ขยายวงกว้างในการช่วยเหลือสังคมได้ด้วย

ส่วนซีเอสอาร์ที่ไม่เกี่ยวข้องกับธุรกิจ เช่น การจัดงานสืบสานวัฒนธรรมไทย ริเวอร์เฟสติวัล, วอเตอร์ เฟสติวัล ริเวอร์ ทุกเดือนเมษายนและพฤศจิกายน รวมไปถึงโครงการเยาวชนเจ้าบ้านสืบสานวัฒนธรรม หรือจูเนียร์มัคคุเทศก์ คัดเลือกเด็กๆ ที่เกี่ยวข้องกับชุมชน ที่เกี่ยวข้องกับโครงการวอเตอร์กับริเวอร์ฯ ให้เขาได้เรียนรู้เกี่ยวกับประวัติความเป็นมาของชุมชนเขาเอง และต้องพูดภาษาอังกฤษด้วย นอกจากเด็กได้ความรู้ ชุมชนได้ประโยชน์แล้ว ยังเป็นการช่วยกระตุ้นการท่องเที่ยวของประเทศไปในตัว

นอกจากนี้ ยังมีการสร้างศูนย์ซี อาเซียน ที่ใช้งบมากกว่า 100 ล้านบาท เพื่อใช้เป็นศูนย์กลางในการเชื่อมโยงธุรกิจ ศิลปะ และวัฒนธรรมของชุมชนอาเซียน โดยเน้นไปที่สังคมของคนรุ่นใหม่ ตรงนี้คือ กิจการเพื่อสังคม (Social Enterprise) ที่ไทยเบฟจะขยายผลตรงนี้ให้เพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ

[caption id="attachment_37144" align="aligncenter" width="500"] ทีมวอลเล่ย์บอลหญิง ทีมวอลเล่ย์บอลหญิง[/caption]

สำหรับกีฬา ที่ผ่านมาจะเห็นว่าไทยเบฟสนับสนุนกีฬาฟุตบอลมาก แต่จริงๆ ไทยเบฟ สนับสนุน 18 ประเภทกีฬา และมี 50 ทีมกีฬาที่ไทยเบฟสนับสนุน เป้าหมายของการสนับสนุนกีฬา ไม่ใช่แค่เพียงการเป็นสปอร์ตมาร์เก็ตติ้ง แต่เป็น "สปอร์ตแมนชิฟ" ที่เป็นมากกว่าแค่การสนับสนุน แต่เป็นการสร้างและขยายผลให้คนมีน้ำใจนักกีฬา พัฒนาการกีฬาของประเทศให้แข็งแกร่งขึ้นไปพร้อมๆ กัน

ทั้งหมดนั่นคือเป้าหมายและแนวคิดในการคืนกลับสู่สังคมของไทยเบฟ ที่ต่อไปนี้ จะให้ความสำคัญกับเรื่องของ กิจการเพื่อสังคม (Social Enterprise) มากเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ

จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 36 ฉบับที่ 3,138 วันที่ 10 - 12 มีนาคม พ.ศ. 2559