ทางออกนอกตำรา : 2018 Trade War 2019 Tech War?

02 ม.ค. 2562 | 13:07 น.
war 170403074011-mobapp-trump-jinping-flag-split-super-tease สวัสดีปีใหม่ท่านผู้อ่านทุก ท่าน ขออำนวยอวยพรให้ประสพแต่ความสุข ความเจริญ สุขภาพแข็งแรง เจริญด้วยสติปัญญา...

ศักราชใหม่ 2562 เดินทางตามกาลเวลามาหาเรา ทางออกนอกตำราฉบับนี้ จึงขอพาท่านมาเติมปัญญาด้วยบทความพิเศษของ บล.ไทยพาณิชย์ฯ ที่ต้องบอกว่าเฉียบขาด

เฉียบขาดเพราะเป็นการวิเคราะห์ที่ตรงกับสถานการณ์อย่างยิ่ง ทำให้เห็นโลก เห็นอนาคตที่ไล่ล่าเราได้อย่างดี เชิญสัมผัสแห่งปัญญาได้ครับ

ในปี 2018 เป็นปีที่ ประธานาธิบดีทรัมป์ ประกาศ สงครามการค้าตามที่เคยหาเสียงไว้ เริ่มต้นจากการประกาศขึ้นภาษีเครื่องซักผ้า Solar Cell เหล็กและอะลูมิเนียม โดยประเทศที่ได้รับผลกระทบคือประเทศที่เกินดุลการค้ากับสหรัฐฯ เป็นหลัก เช่น กลุ่มประเทศยุโรป แคนาดา และเม็กซิโก

แต่ประเทศที่ได้รับผลกระทบมากที่สุด ได้แก่ จีน โดยนอกจากจะได้รับผลกระทบจากการขึ้นภาษีนําเข้าในสินค้าแล้ว ยังถูกสหรัฐฯเก็บภาษีโดยเฉพาะในจีนเอง โดยอ้างประเด็นการที่จีนละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา และการบีบบังคับให้บริษัทที่เข้าไปลงทุนในจีนต้องถ่ายโอนเทคโนโลยี เป็นหลัก โดยขึ้นภาษีอัตรา 25% ในสินค้านําเข้ามูลค่า 5 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ (ซึ่งจีน ตอบโต้ด้วยการเก็บภาษีในสินค้ามูลค่าและอัตราที่เท่ากัน) และเก็บอีก 10% ในสินค้ามูลค่า 2 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐฯ พร้อมขู่ว่าจะขึ้นเป็น 25% ในปี 2019

อย่างไรก็ตาม พัฒนาการด้านสงครามการค้าโดยเฉพาะ ระหว่างจีนกับสหรัฐฯเป็นไปในทางที่ดีขึ้นหลังผลการหารือ นอกรอบระหว่างผู้นําทั้ง 2 ประเทศระหว่างการประชุมสุดยอดกลุ่ม G20 ระบุว่าสหรัฐฯตกลงจะคงอัตราภาษีไว้ที่ 10% ตามเดิม แลกกับการที่จีนยอมเริ่มเจรจาเรื่องประเด็นการบีบบังคับถ่ายโอนเทคโนโลยี การคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา และอื่นๆ และจะซื้อสินค้าเกษตร และอื่นๆ จากสหรัฐฯ ในจํานวนมากทันที โดยมีเป้าหมายเจรจาให้ได้ข้อตกลงภายใน 90 วัน แต่หากไม่สามารถบรรลุข้อตกลงได้ สหรัฐฯจะขึ้นภาษีสินค้านําเข้าจีน เป็นอัตรา 25%

รัฐบาล 4 ชาติแท็คทีมสหรัฐฯ แบนการใช้อุปกรณ์หัวเว่ย

อ่าน | ดาวโจนส์ปิดลบ 79.40 จุด กังวลสงครามการค้าสหรัฐฯ-จีน หลังแคนาดาจับกุมผู้บริหารหัวเว่ย
อ่าน | จีน-สหรัฐฯพักศึกการค้า แต่แคนาดาจับผู้บริหารหัวเว่ย งานนี้ต้องเคลียร์
อ่าน |
รัฐบาล 4 ชาติแท็คทีมสหรัฐฯ แบนการใช้อุปกรณ์หัวเว่ย

แต่แม้ว่าประเด็นด้านสงครามการค้าดูเหมือนจะบรรเทาลง ประเด็นด้านเทคโนโลยีก็กลับรุนแรงขึ้น หลังจากที่ทางการแคนาดา จับกุมตัว เมิ่ง หวั่นโจว ประธานเจ้าหน้าที่ด้านการเงิน หรือ CFO ของบริษัทหัวเว่ย เทคโนโลยีฯ (Huawei Technology) หลังจากที่หัวเว่ย ละเมิดมาตรการควํ่าบาตรอิหร่านที่สหรัฐฯกําหนด
คำต่อคำ อ่าน | แถลงการณ์โฆษกกระทรวงการต่างประเทศจีน โต้กระแสโจมตี 'หัวเว่ย'

และถึงแม้ว่าพัฒนาการระหว่างทางการจีนและทางการสหรัฐฯ ในประเด็นสงครามการค้าและเทคโนโลยีจะดูดีขึ้นในระยะสั้น แต่ปฏิเสธไม่ได้ว่าการจับกุม CFO ของหัวเว่ยนั้น เกี่ยวข้องกับประเด็นด้านสงครามเทคโนโลยีทั้งในประเด็น ด้าน 1.การเป็นเสาหลักของกลยุทธ์ Made in China 2025 2.ประเด็นด้านการพัฒนาเทคโนโลยียุคที่ 5 (5G) และ 3.ในประเด็นด้านการจารกรรมทางไซเบอร์

ใน 2 ประเด็นแรก เกี่ยวข้องกันชัดเจน โดยหัวเว่ยในปัจจุบันได้เติบโตจากมูลค่าบริษัทที่ 3,000 ดอลลาร์สหรัฐฯใน 30 ปีก่อน มาเป็นผู้ผลิตเครือข่ายโทรคมนาคมใหญ่อันดับ 1 ของโลก และ ผู้ผลิตและจัดจําหน่ายโทรศัพท์มือถือใหญ่เป็นอันดับ 2 ของโลก โดยมีธุรกิจใน 170 ประเทศทั่วโลก และมีรายได้รวม 9.3 หมื่น ล้านดอลลาร์ ทําให้เป็นธุรกิจที่ขนาดเดียวกับ Microsoft และ Alphabet (บริษัทแม่ของ Google) และใหญ่เป็น 2 เท่าของ Alibaba
161261-1526-696x385 อ่าน | จับ ‘หัวเว่ย’ สกัด ‘จีน’ ยึด “5จี” 

การที่หัวเว่ยเป็นทั้งผู้ผลิตโครงข่ายและโทรศัพท์มือถือ ขนาดใหญ่ และเป็น Supplier สําคัญให้กับธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยี เช่น โทรศัพท์มือถือ รถยนต์ไฟฟ้า (EV) รวมถึงชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ ทําให้หัวเว่ยมีเทคโนโลยีลํ้าหน้าและพร้อมเป็นผู้นําอันดับ 1 ด้าน 5G โดย 1. สามารถผลิต Core Processor chips ที่มีประสิทธิภาพ เช่นเดียวกับ iPhone 2. เป็น 1 ใน 5 ผู้นําในการผลิต Server ของโลก 3. เร่งพัฒนาระบบปัญญาประดิษฐ์ (AI) เพื่อใช้ใน Server และ Wearable เพื่อแข่งขันกับเจ้าตลาดเช่น Qualcomm และ Nvidia

นอกจากประเด็นด้าน 5G แล้ว ประเด็นด้าน Cyber espionage ก็สําคัญ โดยนอกจากสหรัฐฯแล้ว หน่วยงานในหลายประเทศ กังวลว่าระบบของหัวเว่ยอาจเปิดช่องให้เกิดการ Hacking หรือโจรกรรมข้อมูลได้ง่าย ทางการต่างๆ จึงเริ่มควํ่าบาตร สินค้าและระบบของหัวเว่ย เช่น ออสเตรเลีย ไต้หวัน นิวซีแลนด์ ญี่ปุ่น รวมถึงได้มีการจัดตั้งหน่วยงานเพื่อที่จะตรวจสอบว่าหัวเว่ย มีการโจรกรรมข้อมูลจริงหรือไม่
หัวเว่ย-02 อ่าน | 'ทรัมป์' แบไต๋ให้จีนต่อรอง! แคนาดายอมให้ 'หัวเว่ย' ประกันตัว

หากใช้กรณีหัวเว่ย เป็นกรณีศึกษาของพัฒนาการสงครามการค้า (Trade War) ที่เปลี่ยนเป็นสงครามเทคโนโลยี (Tech War) แล้ว จะพบว่ามีความน่าสนใจใน 2 ประเด็น กล่าวคือ

ประเด็นที่ 1 ด้านสงครามการค้าอาจเริ่มลดความตึงเครียดลง แต่สงครามเทคโนโลยีอาจรุนแรงขึ้น เนื่องจากการขึ้นอัตราภาษีนําเข้าของสหรัฐฯนั้น จะทําได้ในระดับหนึ่ง เพราะหากสหรัฐฯยังขึ้นภาษีต่อเนื่อง จะกระทบเศรษฐกิจสหรัฐฯเอง เพราะรายชื่อสินค้าต่อไปที่จะเก็บภาษี เป็นสินค้าอุปโภคบริโภคเป็นหลัก ซึ่งจะกระทบต่อผู้บริโภคในสหรัฐฯมากขึ้น

นอกจากนั้น การขึ้นภาษีก็ไม่ได้ทําให้สหรัฐฯขาดดุลการค้ากับจีนลดลงแต่กลับเพิ่มมากขึ้นเนื่องจากเศรษฐกิจสหรัฐฯยังเติบโต แข็งแกร่ง จึงนําเข้าสินค้าจากจีนมากขึ้น โดยใน 9 เดือนแรก สหรัฐฯขาดดุลกับจีนเพิ่มขึ้น 10.49% และมีแนวโน้มว่าจะขาดดุล สูงสุดเป็นประวัติการณ์ในปีนี้ ดังนั้น หากพัฒนาการยังเป็นเช่นนี้ เป็นไปได้ว่าทางการสหรัฐฯอาจไม่เพิ่มระดับการขึ้นภาษี แต่จะหันมากํากับรายอุตสาหกรรม-รายบริษัทแทน ทําให้ผลกระทบต่อสงครามการค้าต่อเศรษฐกิจโลกในฐานะห่วงโซ่การผลิตโลก (Global supply chain) อาจไม่รุนแรงมากนัก
ยก-1 อ่าน |  'แอปเปิ้ล' งานเข้า ศาลจีนสั่งห้ามขาย 'ไอโฟน' เกมโต้กลับกรณีจับ "CFO หัวเว่ย" เริ่มยก 1

ประเด็นที่ 2 ในประเด็นหัวเว่ย หากสหรัฐฯคุมเข้มโดยการเรียกร้องให้ประเทศพันธมิตรควํ่าบาตรสินค้า และ/หรือ บริการเครือข่ายของหัวเว่ยแล้ว อาจกระทบต่อผลประกอบการของหัวเว่ยได้พอสมควร รวมถึงกระทบต่อการเป็นผู้นําด้านเทคโนโลยีของจีนในอนาคต โดยหากทางการสหรัฐฯสั่งการให้ธุรกิจของตนห้ามทําธุรกรรมซื้อขายกับหัวเว่ย (เช่นเดียวกับที่เคยทํากับ ZTE ที่เป็นบริษัทเทคโนโลยีอันดับ 2 ของจีน) แล้ว จะส่งผลกระทบต่อห่วงโซ่การผลิตของธุรกิจ เทคโนโลยีพอสมควร

ในการผลิตโทรศัพท์มือถือ (Smart Phone) นั้น หัวเว่ยต้องใช้ Chips ที่ผลิตจากบริษัทสหรัฐฯ เช่น Intel และ NXP รวมถึงจากประเทศที่เป็นพันธมิตรด้านความมั่นคง เช่น อังกฤษ ญี่ปุ่น ไต้หวัน เกาหลีใต้ เป็นต้น ซึ่งหากประเทศเหล่านี้ประกาศควํ่าบาตรหัวเว่ย อาจทําให้บริษัทที่เคยเป็น Supplier สําคัญของหัวเว่ย จําเป็นต้องหยุดทําธุรกรรมกับหัวเว่ย ซึ่งจะทําให้บริษัทที่เป็นลูกค้าสําคัญของหัวเว่ยและต้องพึ่งพาหัวเว่ยในการเป็นห่วงโซ่การผลิต ประสบปัญหาขาดชิ้นส่วนในการผลิตสินค้า
9-3432-1 อ่าน | จีนกางปีกป้อง‘หัวเว่ย’เดินหน้ารุก 5G โลก

หากพิจารณาในภาพรวม กระแสดังกล่าวจะทําให้อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์และเทคโนโลยีเกิดการเปลี่ยนแปลง โดยอาจนําไปสู่การเปลี่ยนวิถีการค้า (Trade Diversion) โดยในระยะสั้น กระแสดังกล่าวจะทําให้เกิดการเปลี่ยนแปลง (Disrupt) ในระบบห่วงโซ่อุปทาน และจะกระทบต่อการผลิตสินค้าเทคโนโลยี

ขณะที่ในระยะต่อไปอาจกระทบต่อแนวทางการเป็นผู้นําด้านเทคโนโลยีของจีน เนื่องจากทั้งลูกค้า และ Supplier ของหัวเว่ยและผู้ผลิตจีนอาจหลีกเลี่ยงการทําธุรกิจกับบริษัทเทคโนโลยีจีนในอนาคต

| คอลัมน์ : ทางออกนอกตำรา
| โดย...บากบั่น บุญเลิศ
| หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ฉบับ 3432 หน้า 6 ระหว่างวันที่ 3-5 ม.ค.2562
595959859


[caption id="attachment_368633" align="aligncenter" width="335"]  เพิ่มเพื่อน [/caption]