CAT เร่งขยาย LoRaWAN รับเทคโนโลยี IoT ในอนาคต

08 ม.ค. 2562 | 05:41 น.
เนื่องจากในปัจจุบัน กระแสของเทคโนโลยีด้านดิจิตอลในมีการเติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะในเรื่องของ IoT (Internet of Things) ที่ในอนาคตอันใกล้นี้จะมีอุปกรณ์ไอโอทีเกิดขึ้นทั่วโลกกว่า 4-5 หมื่นล้านชิ้น เครื่องใช้ไฟฟ้าต่าง ๆ ภายในบ้านเริ่มมีการนำเทคโนโลยีด้านไอโอทีมาติดตั้ง เพื่อที่จะส่งข้อมูลให้กับผู้ใช้งาน เช่นเดียวกับในประเทศไทยที่ในอีก 4-5 ปีข้างหน้า จะมีอุปกรณ์โอทีเกิดขึ้นราว 4-5 ล้านชิ้น เมื่อเปรียบเทียบผู้ใช้เลขหมายโทรศัพท์เคลื่อนที่ในไทยกับทั่วโลก ดังนั้น ความต้องการระบบโครงข่ายเพื่อรองรับการให้บริการ IoT ในประเทศไทยจึงมีมากขึ้น ทำให้ บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) หรือ CAT ได้มีการนำเทคโนโลยีโครงข่าย LoRa (Long Range Network) หรือ LoRaWAN ซึ่งเป็นโครงสร้างพื้นฐานที่จะมารองรับการให้บริการ IoT และเปิดให้บริการภายใต้ชื่อ "LoRa IoT by CAT" ในปี 2561 ที่ผ่านมา

TESA-5


ผนึก TESA หนุนพัฒนาทักษะ

ด้าน ดร.ณัฎฐวิทย์ สุฤทธิกุล ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ กลุ่มขายและผลิตภัณฑ์สื่อสารไร้สาย บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) หรือ CAT ได้นำเทคโนโลยี LoRaWAN เข้ามาร่วมสนับสนุนโครงการ Top Gun Rally ของสมาคมสมองกลฝังตัวไทย หรือ TESA ในปีนี้เป็นครั้งที่ 2 โดยในปี 2561 ที่ผ่านมานั้น ได้ร่วมกับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือและกรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช ในการพัฒนา "ระบบอัจฉริยะสำหรับอุทยานแห่งชาติ 4.0" เพื่อพัฒนาระบบการแจ้งเตือนเหตุการณ์ต่าง ๆ อาทิ แผ่นดินถล่ม, ต้นไม้ล้ม, ไฟป่า, ช้างข้ามถนน เป็นต้น ซึ่งมีผู้เข้าร่วมแข่งขันจำนวน 208 คน จาก 29 มหาวิทยาลัยทั่วประเทศ

จัดการโบราณสถานยุค 4.0

ทั้งนี้ ในปี 2562 นั้น CAT ได้นำโครงข่าย LoRaWAN และระบบคลาวด์ คอมพิวติ้ง มาสนับสนุนการประชันทักษะสมองกลฝังตัว "ระบบจัดการโบราณสถานแห่งชาติ 4.0" โดยสนับสนุนในเรื่องสัญญาณ LoRa ที่ครอบคลุมพื้นที่การแข่งขัน โดยการสนับสนุนอุปกรณ์ LoRa Developer Kit สำหรับการแข่งขัน พร้อมทั้งระบบ IRIS ClOUD เพื่อเก็บและประมวลผลข้อมูล โปรแกรม และระบบเซิร์ฟเวอร์ต่าง ๆ โดยมีนักศึกษา นักเรียน และคณาจารย์กว่า 300 คน เข้าร่วม จากสถาบันการศึกษาและหน่วยงานต่าง ๆ ทั่วประเทศกว่า 30 แห่ง ซึ่งหลังจากจบโครงการแล้ว แคทตั้งเป้าที่จะนำไอเดียทีมที่ชนะมาใช้งานจริง โดยจะขยายผลต่อยอดไปยังโบราณสถานในที่อื่น ๆ รวมถึงต่อยอดในการพัฒนาไปสู่การทำธุรกิจร่วมกัน

mus2-768x512

นอกจากนี้ แคทยังให้ความสำคัญในเรื่องของการสร้างบุคลากร เพื่อเป็นนักวิทยาศาสตร์ด้านข้อมูล โดยร่วมกับพันธมิตรในการเปิดรับสมัครผู้ที่สนใจ รวมถึงพนักงานในองค์กร เพื่อมาฝึกฝนพัฒนาทักษะวิเคราะห์ข้อมูลและเพิ่มองค์ความรู้ด้านบิ๊กดาต้า, AI และระบบคลาวด์ คอมพิวติ้ง

➣ LoRaWAN ด้านภาคการเกษตร

ขณะที่ ก่อนหน้านี้ทางด้านภาคการเกษตรมีหลายโครงการที่ประสบความสำเร็จจากการนำเทคโนโลยี LoRaWAN มาใช้ อาทิ โครงการฟาร์มเพาะเห็ดเศรษฐกิจ ที่ จ.พระนครศรีอยุธยา ที่ได้มีการติดตั้งอุปกรณ์ตรวจวัดความชื้น ระบบเปิดปิดอุปกรณ์รดน้ำ, โครงการจัดสร้างเครือข่ายสถานีตรวจวัดอากาศ จ.น่าน ได้ติดตั้งสถานีตรวจวัดอากาศครอบคลุมทั่วจังหวัดและรายงานผลแบบ Near เรียลไทม์ผ่านทางแอพพลิเคชัน เพื่อติดตามสถานการณ์ในพื้นที่ของตนเอง เนื่องจาก LoRaWAN สามารถส่งสัญญาณได้ไกลถึง 15 กิโลเมตร สามารถรองรับการขยายพื้นที่การผลิตของเกษตรกรได้มากขึ้น

mus4-768x512

 

ปี 62 ครอบคลุมพื้นที่กว่า 70%

ปัจจุบัน เทคโนโลยีโครงข่าย LoRaWAN ครอบคลุมพื้นที่ 1 ใน 3 ของจังหวัดหัวเมือง เช่น กรุงเทพฯ ขอนแก่น เชียงใหม่ ภูเก็ต รวมถึงจังหวัดในพื้นที่โครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก หรือ EEC อาทิ ระยอง ชลบุรี ฉะเชิงเทรา เป็นต้น โดยคาดว่าจะติดตั้งได้ครบทุกจังหวัดภายในไตรมาส 2 ปี 2562 ให้ครอบคลุมพื้นที่ทุกจังหวัดราว 70% หรือกว่า 98% ของจำนวนประชากร ด้วยงบการลงทุนบนโครงสร้างพื้นฐานเดิมที่มีอยู่

ติดตามฐาน