'อียู' ปลดล็อกใบเหลืองส่งออกอาหารทะเล มั่นใจ! โตทะยาน

09 ม.ค. 2562 | 08:54 น.
อัปเดตล่าสุด :09 ม.ค. 2562 | 20:28 น.
เอกชนฟุ้ง! สินค้าเกษตรแปรรูปโตทะยานต่อเนื่อง "ทูน่า" กลุ่มผัก-ผลไม้-อาหารทะเล ขณะที่ "กุ้ง" ในประเทศไม่เพียงพอส่งออก แนะรัฐส่งเสริมนำเข้าวัตถุดิบแปรรูปส่งออกเลียนโมเดลทูน่า ผวาเป้าส่งออกปี 62 แผ่ว! ส่งสัญญาณรัฐเร่งสกัดค่าเงินบาทแข็ง ห่วงค่าแรงขึ้น ชี้! แข่งขันยาก หวังอานิสงค์ปลดล็อกใบเหลือง คาดออเดอร์เพิ่ม



DSC_2064
ดร.พจน์ อร่ามวัฒนานนท์ รองประธาน กรรมการสภาหอการค้าแห่งประเทศไทยและประธานคณะกรรมการสายงานธุรกิจ เปิดเผยว่า ธุรกิจเกษตรและอาหารของไทย นับว่าเป็นอุตสาหกรรมหลักของประเทศ โดยสัดส่วนของภาคการเกษตรต่อ GDP ของประเทศไทย ในปี 2560 อยู่ที่ 8.2% และจำนวนแรงงานในภาคการเกษตร มีทั้งสิ้นกว่า 11.78 ล้านคน คิดเป็น 31.5% ของแรงงานทั้งหมด และคิดเป็นครัวเรือนของประเทศไทยทั้งหมดมากกว่า 50% ของครัวเรือนทั้งหมดของประเทศ จากตัวเลขดังกล่าวเมื่อเปรียบแล้วน่าตกใจ เพราะแรงงานภาคเกษตรหายไปจากระบบกว่า 1 ล้านคน และมีแนวโน้มลดลงด้วย


DSC_2083

"นโยบายหอการค้าไทยและสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ปี 2562 ใช้นโยบาย "ตลาดนำการผลิต" โดยดูตั้งแต่ต้นน้ำ คือ การร่วมมือกับเกษตรกร วิสาหกิจชุมชน สหกรณ์ สภาเกษตรกรแห่งชาติ ในมิติต่าง ๆ กลางน้ำ คือ การบูรณาการในการดูแลถ่ายทอดความรู้วิชาการ การพัฒนาตั้งแต่กระบวนการผลิต รูปแบบผลิตภัณฑ์ การแปรรูปผลิตภัณฑ์ การจัดการคุณภาพสินค้า เพื่อเสริมสร้างรายได้ให้แก่ครัวเรือนเกษตรกรไทย และปลายน้ำ คือ การส่งเสริมมาตรฐานสินค้าเกษตรและหาช่องทางการตลาด ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ให้สมาชิกผู้ประกอบการหอการค้าทั่วประเทศสามารถแข่งขันได้อย่างยั่งยืน"


619283832

ด้าน ดร.ชนินทร์ ชลิศราพงศ์ นายกสมาคมอุตสาหกรรมทูน่าไทย กล่าวว่า สถานการณ์และแนวโน้มการส่งออกสินค้าทูน่า ปี 2562 คาดว่าจะเติบโตได้ 10% จากมูลค่าการส่งออกรวม 8.2 หมื่นล้าน ทั้งจากการส่งออกทูน่ากระป๋องและทูน่าลอยด์ และอาหารสัตว์เลี้ยงกระป๋อง (ทำจากปลา) สาเหตุที่เติบโตได้เพิ่มขึ้น เนื่องจากแนวโน้มวัตถุดิบมีเสถียรภาพและภาครัฐสามารถที่ปลดใบเหลืองประมงสำเร็จ ทำให้ทั่วประเทศยอมรับสินค้าสัตว์น้ำของไทย นอกจากนี้ ทางอุตสาหกรรมทูน่าได้สนับสนุนการทำประมงพื้นบ้านและพาณิชย์ โดยรับซื้อปลาโอที่จับจากเรือไทย ซึ่งชาวประมงได้รับประโยชน์เพิ่มขึ้นจากปลาที่ตัวใหญ่ขึ้น


611009 (22)

เช่นเดียวกับ นายวิศิษฐ์ ลิ้มลือชา นายกสมาคมผู้ผลิตอาหารสำเร็จรูป สถานการณ์อุตสาหกรรมอาหารและอาหารสำเร็จรูป ปี 2561 มีปริมาณการส่งออก 8 ล้านตัน เพิ่มขึ้น 3.2% มูลค่าการส่งออก 21,415 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้น 7.3% การส่งออกอาหารสำเร็จรูปโดยรวม มีปริมาณการส่งออก 2.8 ล้านตัน เพิ่มขึ้น 1% มูลค่าการส่งออก 191,065 ล้านบาท หรือ 5,939 ล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยลดลง 2% ในรูปเงินบาท และขยายตัว 3% ในรูปเงินดอลลาร์สหรัฐฯ ส่วนในปี 2562 คาดการส่งออกอาหารสำเร็จรูปจะสามารถขยายตัว 5% อันเนื่องมาจากโอกาสทางการค้าในการขยายตลาดเข้าสู่ประเทศกลุ่มตลาดใหม่ เช่น ละตินอเมริกา แอฟริกา ตะวันออกกลาง การเพิ่มยอดขายในกลุ่มประเทศที่ซบเซาในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา รวมถึงกลุ่มประเทศอาเซียน โดยเฉพาะ CLMV ที่กำลังขยายตัวได้ดี

สำหรับอุปสรรคของอุตสาหกรรม ได้แก่ ความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยนที่สืบเนื่องมาจากปีที่ผ่านมา ความผันผวนของราคาน้ำ ทำให้กำลังซื้อของประเทศผู้ค้าน้ำมันลดลง การถูกตัดสิทธิ GSP ของสหภาพยุโรปและสหรัฐฯ ในสินค้าบางรายการของไทย ทำให้ความสามารถทางการแข่งขันลดลง อีกทั้งประเทศคู่แข่งยังได้รับสิทธิประโยชน์ทางการค้าที่ดีกว่า เช่น GSP+, FTA รวมถึงสภาวะสงครามการค้าระหว่างจีนและสหรัฐฯ ที่ยังคงยืดเยื้อ ทำให้บรรยากาศการค้าโลกไม่สดใส และส่งผลให้เกิดการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก เป็นต้น


589198148



เช่นเดียวกับ ด้าน นายผณิศวร ชำนาญเวช นายกกิตติคุณ สมาคมอาหารแช่เยือกแข็งไทยและประธานคณะกรรมการธุรกิจประมงและอุตสาหกรรมต่อเนื่อง กล่าวว่า สถานการณ์สินค้าประมงไทยปี 2561 โดยการส่งออกสินค้าประมงหมวดอาหารทะเลแช่เยือกแข็ง โดยภาพรวมมีปริมาณการส่งออกลดลง 5% มูลค่าเงินบาทลดลง 15% (มูลค่าเงินสหรัฐฯ ลดลง 10%) ซึ่งประเทศที่มีการส่งออกขยายตัวเพิ่มขึ้นคือในกลุ่มประเทศแถบเอเชีย เช่น ญี่ปุ่น ไต้หวัน เวียดนาม ฮ่องกง ขณะที่ ตลาดส่งออกหลักมีอัตราลดลงอย่างต่อเนื่อง อาทิ สหรัฐอเมริกา แคนาดา ออสเตรเลีย เกาหลีใต้ รวมถึงกลุ่มประเทศสหภาพยุโรป ส่วนในปี 2562 อุตสาหกรรมอาหารแช่เยือกแข็งไทย ด้านการจับจากทะเลและการเพาะเลี้ยง



app-lo002

โดยแบ่งเป็น

1.จากทะเลหรือจากการจับตามธรรมชาติ ซึ่งจากที่ทางรัฐบาลของไทยได้มีการจัดระเบียบเรือ ระบบการจัดการด้านเอกสารตรวจสอบย้อนกลับที่ดี จะเป็นการสร้างโอกาสในเพิ่มการนำสินค้าที่จับจากธรรมชาติมาเพื่อแปรรูปส่งออก ทำให้สินค้าประมงของไทยได้รับความเชื่อมั่นจากประเทศผู้นำเข้าเพิ่มขึ้น และมีแนวโน้มที่จะขยายปริมาณการส่งออกเพิ่มขึ้นในตลาดหลัก



โปรโมทแทรกอีบุ๊ก

2.จากการเพาะเลี้ยง นอกจากภาครัฐและหน่วยงานเกี่ยวข้องจะส่งเสริมในภาคการเลี้ยงแล้ว หากภาครัฐมีการสนับสนุนเพิ่มการนำเข้าวัตถุดิบและสินค้ากึ่งแปรรูปเพื่อนำมาผลิตเป็นสินค้าแปรรูปชั้นสูง (Value Added) จะเป็นการเพิ่มมูลค่าสินค้าส่งออกให้กับสินค้าอาหารแช่เยือกแข็งของไทย และเสริมให้ไทยเป็นประเทศผู้ผลิตอาหารสู่ตลาดโลกด้วย


ติดตามฐาน