ปฏิกิริยา : 6-7ล้านเสียงคนรุ่นใหม่ เลือกตั้งครั้งแรก นโยบายใครถูกจริต พรรคนั้นคว้าชัย

04 ก.พ. 2562 | 13:46 น.
ครั้งแรก-09
ครั้ง-06 ในที่สุดคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ก็ได้ประกาศกำหนดการเลือกตั้งทั่วไป 2562 คือวันที่ 24 มีนาคม 2562 คนกลุ่มใดกันแน่จะมีบทบาทนำในการกำหนดทิศทางการเมืองในอนาคต

อย่างไรก็ตาม สังคมก็ได้ตั้งความหวังกับคนรุ่นใหม่ว่า อาจเป็นกลุ่มคนที่สามารถพลิกผันผลการเลือกตั้งได้ในระดับหนึ่ง แม้แต่พรรคการเมืองก็มีเลือดใหม่เสนอตัวเข้ามาหลายพรรคการเมือง

ต้องไม่ลืมว่าประเทศไทย ร้างราการเลือกตั้งมานานหลายปี โดยการเข้ามาปกครองโดยทหารในนามคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) คนรุ่นใหม่กลุ่มนี้จึงเกิดการสะสมไว้กลายเป็นคนรุ่นใหม่ที่ถือเป็นฐานคะแนนเสียงที่ใหญ่ ที่ยังไม่เคยเข้าคูหา กาบัตรเลือกตั้ง หย่อนบัตรเลือกตั้ง เลยสักครั้งเดียวในชีวิต

คนรุ่นใหม่เหล่านี้จะแปรเปลี่ยนเป็นคะแนนเสียงได้จริงหรือไม่ คิดว่ามีหลายประเด็นที่น่าติดตาม

หากพิจารณาในเชิงปริมาณแล้วก็น่าสนใจ แต่ถ้าในเชิงคุณภาพ คนเหล่านี้มีวิถีชีวิต ค่านิยม แนวคิด การดำเนินชีวิตหรือมีความสนใจการเมืองมากน้อยแค่ไหน พวกเขาสนใจในแง่มุมไหนบ้าง เป็นสิ่งที่ยังไม่มีใครรู้หรือคาดเดาได้

นี่คืองานที่ท้าทายของพรรคการเมืองในช่วงเวลาที่เหลือ ถ้ารู้และเข้าใจก็จะมีโอกาสได้คะแนนจากคนเหล่านี้ ที่สำคัญต้องเข้าถึงด้วยช่องทางที่ถูกต้องด้วย
ครั้งแรก-04 คนรุ่นใหม่ที่มีสิทธิ์ออกเสียงเลือกตั้งเป็นครั้งแรกจะอยู่ในคนรุ่น Gen Z(คือเกิดปี2540ขึ้นไป ) เป็นส่วนใหญ่ ดังนั้นการใช้สื่อออนไลน์หรือโซเชียลมีเดียน่าจะมีอิทธิพลต่อการตัดสินใจของคนกลุ่มนี้

แต่ก็เกิดคำถามขึ้นมาว่า เมื่อนักการเมืองรุ่นGen-B (คนที่เกิดปี 2489- 2507) หรือนักการเมืองรุ่นGen X (เกิดปี 2508-2522) ขึ้นเวทีปราศรัย คนรุ่น Gen Z จะมองว่าคนพวกนี้พูดเยอะ เยิ่นเย้อ วาดวิมานบนก้อนเมฆสารพัดนโยบาย ขณะที่คนรุ่น Gen Z จะชอบสิ่งที่ชัดเจน ตรงไปตรงมา

แน่นอนว่าวิธีการหาเสียงหรือการสื่อสารก็ต้องเปลี่ยนไปด้วย เพราะวิธีการแบบเดิมจะไม่ประสบผลสำเร็จ เช่น ใช้วิธีหาเสียงแบบป้ายสีสาดโคลน การติดโปสเตอร์ การขึ้นเวทีปราศรัย อาจเข้าไม่ถึงคนรุ่น Gen Z

[caption id="attachment_384040" align="aligncenter" width="500"] ปฏิกิริยา : 6-7ล้านเสียงคนรุ่นใหม่ เลือกตั้งครั้งแรก นโยบายใครถูกจริต พรรคนั้นคว้าชัย เพิ่มเพื่อน [/caption]

ผู้เขียนฟันธงไว้ ณ ตรงนี้เลยว่า พรรคที่ทำการเมืองแบบเก่าจะไม่ได้คะแนนเสียงจากคนกลุ่มนี้เลย แต่ถึงแม้จะรู้ว่าคนรุ่น Gen Z ชื่นชอบช่องทางโซเชียลมีเดีย แต่ถ้าข้อความหรือสารที่ส่งออกไปไม่โดนใจ ก็จะเข้าไม่ถึงเช่นกัน

อย่าลืมว่า วิถีชีวิตของคนรุ่น Gen Z เติบโตขึ้นมาท่ามกลางข้อมูลข่าวสารเป็นจำนวนมาก จึงมีทักษะในการคัดกรองข้อมูลให้เข้ากับจริตของตนเอง ดังนั้นสิ่งที่ไม่จำเป็นหรือไม่ถูกจริตก็จะปล่อยผ่านไป

อาจกล่าวได้ว่าคนกลุ่มนี้ จะเลือกรับเฉพาะแต่สิ่งที่ถูกจริตเท่านั้น

แล้วในแง่ของวิถีชีวิต รสนิยมและแนวคิดของคนกลุ่มนี้เป็นอย่างไร คือในขณะที่ Gen Y Gen Z เติบโตมาท่ามกลางข้อมูลข่าวสารท่วมท้นโลกออนไลน์ คนรุ่นใหม่ที่สนใจใคร่รู้ ก็เก่งกาจกว้างไกลกว่าคนรุ่นเก่าหลายร้อยพันเท่า

แต่ในด้านกลับกัน ความท่วมท้นรวดเร็ว ก็ทำให้เกิดการเลือกรับข้อมูลข่าวสารที่โดนใจ หรือถูกจริต ท่ามกลางชีวิตในสังคมบริโภค ซึ่งเกิดความคิดแยกส่วน โลกส่วนตัวสูง คล้อยไปทางหนึ่งทางใดได้ง่าย

จึงเป็นเรื่องใกล้ตัวที่ไม่ควรมองข้าม เมื่อคนรุ่นใหม่รอใช้สิทธิเลือกตั้งร่วม 6-7 ล้านคน

“อนาคตของชาติ” กลุ่มคนที่ถูกตั้งความหวังว่าจะให้เป็นอนาคตของการเมืองไทย หากนับจากวันที่มีการเลือกตั้ง ส.ส.แบบทางการครั้งสุดท้าย คือ ปี 2554 จะพบว่ามียอดคนอายุ 18 ปี ที่มีสิทธิเลือกตั้งจากปี 2555-2560 กำลังรอใช้สิทธิเลือกตั้งจำนวนกว่า 5.6 ล้านคน เห็นได้ชัดว่า ถ้านับช่วงอายุจะเป็นคนรุ่นใหม่ อายุไม่เกิน 22 ปี ในปัจจุบัน ยังไม่รวมข้อมูลปี 2561 ที่อาจจะมีจำนวนเพิ่มขึ้นมาถึง 6-7 ล้านคน

อีกนัยสำคัญหนึ่งที่น่าสนใจ หาก‘คนรุ่นใหม่กลุ่มนี้’ ไม่สนใจการเมืองจริงๆ ก็นับได้ว่าเป็นปัญหาใหญ่ที่การเมืองไทยกำลังเผชิญ แต่ถ้าพวกเขาออกมาเลือกตั้งทั้งหมดสามารถเปลี่ยนเป็น ส.ส. ได้ราว 100 ที่นั่ง โดยประมาณ (คำนวณจากจำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้งในปี 2554ในสัดส่วน 70000 คนต่อ1ที่นั่ง)
maxresdefault ดังนั้นพรรคการเมืองทุกพรรคจึงต้องให้ความสนใจกับเสียงของคนรุ่นใหม่เป็นพิเศษ เพราะเชื่อว่าคนเหล่านี้ยังไม่มีรสนิยมทางการเมืองในแบบที่มีความผูกพันเป็นพิเศษกับพรรคการเมืองใดพรรคการเมืองหนึ่งหรือผู้นำทางการเมืองคนใดคนหนึ่ง ซึ่งแตกต่างจากคนที่เคยเลือกตั้งมาก่อนแล้วที่อาจจะมีพรรคการเมืองหรือนักการเมืองในดวงใจอยู่แล้ว

คาดว่าการเลือกตั้งครั้งแรกในรอบ 8 ปีของไทย ในเดือนมีนาคมนี้ จะมีการใช้สื่อโซเชียลและเทคโนโลยีใหม่ เข้ามาช่วยหาเสียงกันมากมาย โดยเฉพาะ “สื่อโซเชียลมีเดีย” ที่มีอิทธิพลอย่างมากในเมืองไทย คนไทยติดสื่อโซเชียลอันดับต้นๆของโลก จะทำให้การหาเสียงในโลกโซเชียลมีเดียเป็นไปอย่างเข้มข้น ข่าวปลอม ข่าวปล่อย จะออกมามากมาย

6-7 ล้านคะแนนเสียงคนเลือกตั้งครั้งแรกถือเป็นตัวแปรสำคัญของทุกพรรคถ้านโนบายพรรคใดตรงใจคนกลุ่มนี้รับรองได้ว่าขึ้นมาอันดับหนึ่งแน่นอน

นี้คือตัวแปรสำคัญจะได้เห็นการเปลี่ยนแปลงหรือไม่ คงต้องรอผลหลังการเลือกตั้ง ผู้เขียนได้แต่ลุ้นอยากเห็นการเมืองของโลกใหม่ ฉะนั้นจะบอกว่าทุกพรรคอย่าละเลย เจาะเป้านี้ให้ดี

อ่าน| คอลัมน์ ปฏิกิริยา ทั้งหมด >>คลิก<< 

|คอลัมน์ : ปฏิกิริยา
| โดย : ชิษณุชา เรืองศิริ
| ฐานเศรษฐกิจออนไลน์
595959859