ปฏิกิริยา : ข่าวลวงโลก โถมไฟร้อนการเมือง

18 ก.พ. 2562 | 13:48 น.
 

ลวงโลก-001 https_%2F%2Fs3-ap-northeast-1.amazonaws.com%2Fpsh-ex-ftnikkei-3937bb4%2Fimages%2F8%2F2%2F4%2F4%2F13954428-2-eng-GB%2F20180521FakeNewsCollage การเมืองไทยกำลังเดินเข้าสู่บทสรุปสุดท้าย ท่ามกลางการจับตามองจากทั้งในและต่างประเทศกับก้าวย่างที่จะไปสู่ประชาธิปไตยในเที่ยวนี้ของประเทศไทย

โดยมีศึกชิงอำนาจรอบใหม่เป็นเดิมพัน..ใครได้ขึ้นบัลลังก์นั่งเมือง

หลายพรรคโหมโรงเปิดปฏิบัติการหาเสียงช่วงชิงคะแนนเต็มที่ ภายหลังการออกคำสั่งหัวหน้า คสช.คืนอิสรภาพให้นักการเมือง สามารถเคลื่อนไหวทำกิจกรรมได้

ถนนทุกสายมุ่งสู่สนามเลือกตั้งใจจดใจจ่อไปที่วันคืนประชาธิปไตย 24 มีนาคมนี้ หลังจากที่ประเทศไทยร้างการเลือกตั้งมา 7 ปี

เกมชิงบัลลังก์นั่งเมืองจึงร้อนระอุ อาศัยทุกช่องทางทุกรูปแบบปลุกเร้ากองเชียร์ เครื่องมือโซเชียลมีเดียหรือสื่อออนไลน์จะเข้ามามีบทบาทกระจายข่าวสาร รณรงค์แคมเปญ กำหนดวาระและประเด็นสำคัญทางการเมือง และเป็นช่องทางใหม่ในการรับรู้ข้อมูลการเลือกตั้ง

วันนี้เราเห็น“การหาเสียงเลือกตั้งบนสมรภูมิโซเชียล”เต็มรูปแบบ

9898987777 วันนี้เราเริ่มรับรู้เริ่มเห็นนักการเมืองที่ใช้เฟซบุ๊กทวิตเตอร์ในการหาเสียงอย่างจริงจัง เพื่อสื่อสารกับประชาชน เราเห็นสมรภูมิสื่อใหม่เป็นเครื่องมือสำคัญในการเลือกตั้งอย่างจริงๆจังๆ ปรากฏการณ์นี้อย่ากระพริบตาอาจจะเกิด“อินเทอร์เน็ตสึนามิ”ให้นักการเมืองม้ามืด ที่ใช้โซเชียลมีเดียอย่างมีประสิทธิภาพมาก จนทำให้ชนะการเลือกตั้ง

วันนี้เราต้องยอมรับว่าเรารับรู้เรื่องราวผ่านโซเชียลมีเดียมากมาย และรวดเร็ว จริงบ้าง ลวงบ้าง ถูกต้องบ้าง บิดเบือนบ้างชัดเจนขึ้น

แต่เชื่อหรือไม่ในยุคที่ข่าวปลอมแพร่ระบาดบนโลกโซเชียล ผลสำรวจระดับสากลจากโครงการ คอนเนกเต็ด ไลฟ์ (Connected Life)โดยกันตาร์ ทีเอ็นเอส เมื่อประมาณ 1 ปีก่อน(โดยเผยแพร่ข้อมูลใน https://www.brandbuffet.in.th/2017) ก็พบว่ามีคนไทยถึง 40% เชื่อถือข้อมูลที่ได้รับจากช่องทางโซเชียลมีเดีย ซึ่งเป็นตัวเลขที่สูงกว่าค่าเฉลี่ยจากประเทศอื่นถึง 35% และสูงกว่าประเทศอื่นที่มีการสื่อสารผ่านช่องทางดิจิทัลมายาวนานกว่า อย่างเช่น ญี่ปุ่นและเกาหลีใต้

[caption id="attachment_390894" align="aligncenter" width="500"] ปฏิกิริยา : ข่าวลวงโลก โถมไฟร้อนการเมือง เพิ่มเพื่อน [/caption]

ยิ่งในช่วงอุณหภูมิร้อนก่อนการเลือกตั้งทั่วไปครั้งนี้ ได้เกิดข่าวลือ ข่าวปลอมขึ้นไม่เว้นแต่ละวัน มีการกระพือไปอย่างรวดเร็ว อย่างการเผยแพร่ในโลกโซเซียล โดยพยายามปั่นกระแสเรื่อง “รัฐประหารซ้อน”อยู่เป็นระยะ ถึงกับปล่อยเอกสารคำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ปลอม เรื่องปลดผู้บัญชาการเหล่าทัพ ประกอบด้วย ผู้บัญชาการทหาหารบก ผู้บัญชาการทหารเรือ และผู้บัญชาการทหารอากาศ

ร้อนถึงพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคสช. ต้องสั่งให้สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีไปแจ้งความดำเนินคดีกับคนที่ปล่อยข่าวจนสร้างความปั่นป่วน

ขณะเดียวกันก็ปรากฏภาพ การเคลื่อนยานพาหนะทางทหารจำนวนมาก ซึ่งมีการนำเชื่อมโยงกับวันประวัติศาสตร์ที่เกิดขึ้น ว่าทหารกำลังจะทำอะไร กระทั้งกองทัพบกต้องรีบออกมาชี้แจงว่าเป็นเพียงลำเลียงเพื่อใช้ในการฝึก ไม่ได้ปฏิวัติแต่อย่างใด

ตัวอย่างข่าวเหล่านี้ถือเป็นข่าวลือที่พยายามสร้างให้สถานการณ์ภาพในประเทศอึมครึมและล่อแหลมขึ้นไปอีกในหลายเรื่องหลายๆกรณี แม้แต่กรณีอาฟเตอร์ช็อก เรื่องการยุบพรรคไทยรักษาชาติ (ทษช.) ที่เริ่มปล่อยข่าวว่ามีกรรมการบริหารพรรคหนี้ออกต่างประเทศ

ผู้เขียนเชื่อเหลือเกินว่า ตลอดระยะเวลาที่เหลือของการเลือกตั้ง ซึ่งนับเป็นเหตุการณ์สำคัญของประเทศ ข่าวลือ ข่าวลวง คงออกมาอีกหลายระลอก เพราะเป็นเรื่องเด่นที่สุดในห้วงเวลานี้ และโซเชียลมีเดีย เป็นสื่อที่ส่งตรงและฉับไวที่สุด
87878777777 ดังนั้นถึงเวลาหรือยังที่เราคนไทยจะสยบข่าวลือ ข่าวปลอมในโลกโซเชียลด้วยตัวเอง ผมมีแนวทางการตรวจสอบข่าวลวง ที่ได้จากสมาคมห้องสมุดนานาชาติ International Federation of Library Associations and Institutions (IFLA)ให้คำแนะนำไว้ โดยขอสรุปเพื่อไม่ให้เยิ่นเย้อ ดังนี้ครับ

เมื่อสงสัยในข่าวหรือข้อมูลใดให้ลองค้นหาใน “กูเกิล” เพราะเป็นแหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือได้ ประการต่อมา ให้ตรวจสอบหรือหา “แหล่งที่มา” ว่ามาจากสำนักข่าวที่เชื่อถือได้หรือไม่ หากไม่คุ้นเคยให้ลองค้นหา URL ว่าเป็นเว็บไซต์จริงหรือไม่ ประการต่อมาให้ลองตรวจ “วันที่” ในข่าวหากเป็นข่าวจากแหล่งที่น่าเชื่อถือจะลงวันที่เอาไว้ด้วย เพราะบางครั้งจะมีการแชร์ข่าวเก่าที่เกิดขึ้นนานแล้ว ซึ่งข่าวแบบนี้มีการแชร์ทำให้เกิดการเข้าใจผิดกันบ่อย ๆ

ประการสุดท้ายในการตรวจสอบข่าวลือคือการสอบถามโดยตรง เช่น ถามไปยังเว็บไซต์ตรวจสอบข่าวลวงต่างๆ ส่วนในไทยก็เริ่มมีแล้ว อาทิ สมาคมผู้ผลิตข่าวออนไลน์เปิดตัวโครงการ “ชัวร์แล้วแชร์ได้” ทาง www.sonp.or.th เป็นต้น

“ข่าวลวง” ในประเทศไทย กำลังเป็นประเด็นร้อนถกเถียง วิพากษ์ เรียกร้อง ให้มีการกระทำบางอย่างเพื่อหยุดข่าวลวง ดังนั้น เราที่เป็นผู้เสพข่าวจึงควรเสพสื่ออย่างมีสติ ใช้วิจารณญาณให้มาก ๆ คิดให้มาก วิเคราะห์ให้มาก ดูความน่าจะเป็นให้มาก อย่าเพิ่งเชื่อข่าวประเภท “เขาเล่าว่า”เพื่อที่จะได้ไม่ตกเป็นเหยื่อโดยทางตรงหรือทางอ้อมก็ตาม

จากนี้ไปการปล่อยข่าวลือข่าวลวง หรือการทำเอกสารปลอม เพื่อสร้างความปั่นป่วนหรือมุ่งหมายต่อทรัพย์ หรือหวังผลประโยชน์ไม่ทางใดก็ทางหนึ่งในทางการเมือง อาจจะไม่หยุดเพียงแต่นี้ อยู่ที่ผู้รับข่าวสารจะรับมือกับมันอย่างไร

|คอลัมน์ : ปฏิกิริยา
| โดย : ชิษณุชา เรืองศิริ
| ฐานเศรษฐกิจออนไลน์

*** พบกับคอลัมน์ปฏิกิริยา อัพเดทประเด็นร้อนได้ทุกวันจันทร์

595959859