ดูเหมือนว่า StarCraft II อาจจะเป็นเกมต่อไปที่คนเราต้องยอมแพ้ให้แก่ AI ต่อจาก Poker (Libertus, 2017), และหมากล้อม (AlphaGo, 2016) เมื่อเดือนมกราคมที่ผ่านมา ทีม DeepMind จาก Google ได้เปิดตัว AI ชื่อ AlphaStar ซึ่งเป็น AI ตัวน้องของ AlphaGo ที่ชนะ Ke Jie นักเล่นหมากล้อมมือหนึ่งเมื่อ 2 ปีที่แล้ว
ขณะที่ AlphaGo นั้น dominate เกมหมากล้อมที่มีประวัติมากกว่า 3,000 ปี Alpha Star ตั้งเป้าหมายไว้ที่คอมพิวเตอร์ เกม StarCraft II และในการแข่งรอบแรกนี้ตอนนี้ AlphaStar สามารถเอาชนะนักเล่นเกมมืออาชีพระดับโลกในการแข่ง StarCraft II ตัวต่อตัว 10-1 ถึงแม้ว่าเงื่อนไขการแข่งขันอาจจะยังไม่ถือว่าเป็นการแข่งขันแบบเป็นทางการ
ขณะที่ใน Poker ตัว AI นั้นต้องเรียนรู้ที่จะโกหกและจับการโกหกของคู่ต่อสู้และในหมากล้อม AI ต้องพัฒนา Intuition ในการคาดคะเนความได้เปรียบเสียเปรียบของกระดานหมาก StarCraft II นั้นเสนอความท้าทายอีกแบบ ให้กับ AI เพราะ AI จะต้องควบคุมจำนวน Units ที่มากมายในเกมพร้อมกัน ทุกๆ 1 ใน 1,000 วินาที ตัว AlphaStar ต้องตัดสินใจเลือกว่าจะทำอะไรจากทั้งหมด 10 26 (คือ 10 คูณกัน 26 ตัว) การกระทำที่ทำได้ (possible actions) เมื่อเทียบกับหมากล้อมที่ในแต่ละตานั้นมีแค่ 19x19 ความเป็นไปได้เท่านั้น
นอกจากนี้ StarCraft II ยังเป็นเกมของ Incomplete Information ซึ่งต่างจากหมากล้อมที่ข้อมูลทุกอย่างนั้นอยู่บน กระดานที่ผู้เล่นทั้ง 2 ฝ่ายนั้นเห็นเหมือนกัน
Breakthrough ทาง AI ในรอบ 3-4 ปีที่ผ่านมานั้นไม่ว่าจะเป็นเรื่องรถยนต์ไร้คนขับ หรือ AI ทางการแพทย์ที่สามารถวินิจฉัยโรคได้ส่วนใหญ่นั้นใช้เทคนิคที่เรียกว่า Supervised Learning (การเรียนรู้จากข้อมูลแบบมีผู้สอน) ซึ่งเปรียบได้กับการเรียนในห้องเรียน ที่มีคุณครูคอยบอกว่าถ้าเจอโจทย์แบบนี้เราควรแก้ปัญหาอย่างไร แล้วเราก็ฝึกทำแบบฝึกหัดไปจนเราสามารถทำตามสิ่งที่คุณครูสอนได้
สุดท้ายนี้ถ้าเรามาคิดกันสนุกๆ ว่า เกมต่อไปที่ AI น่าจะทดลองไปสู้ดูนั้นจะเป็นอะไรต่อจาก StarCarft II, Poker และหมากล้อม หมากรุก ส่วนตัวผู้เขียนเองก็อยากจะเห็น AI มาทดลองเล่นเกมที่ต้องใช้เทคนิคในการเจรจาต่อลองกับมนุษย์ดู เช่น เกมเศรษฐี (Monopoly) ที่ผู้เล่นจะต้องเจรจาซื้อขายโฉนดที่ิดินในเกมแข่งกับผู้เล่นคนอื่น น่าจะสนุกดีไม่น้อย ลองจินตนาการว่าถ้า AI ของเราสามารถเจรจากับ AI ของเพื่อนบ้านเราได้ว่า
“นี่อาทิตย์หน้าเจ้าบ้านเราจะไปเที่ยวไม่อยู่บ้าน เธอสนใจใช้พลังงานแสงอาทิตย์จากแผง Solar ของบ้านเราไหม แลกกับอะไร บางอย่างทีหลัง”
Reference : https://newscenter.lbl.gov/2018/10/28/machine-learning-to-help-optimize-traffic-and-reducepollution/
เศรษฐเสวนา จุฬาฯทัศนะ
โดย
ดร.พรรคธาดา ตรีรัตนพิทักษ์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการกลุ่มงาน Data Analytics ธนาคารแห่งประเทศไทย