"8 บิ๊กเนม" โดดชิงขุมทอง 'อสมท'

21 ก.พ. 2562 | 11:04 น.
210262-1746

ยันที่ดิน อสมท พร้อมลงทุนไม่ผิดข้อ ก.ม. ... บิ๊กเนมไทย-เทศ ทั้ง ซี.พี.แลนด์, อนันดา, แมกโนเลีย, ศุภาลัย, สยามพิวรรธน์ ฯลฯ เสนอตัวชิงปั้นโมเดล Digital Media Center มิกซ์ยูสออฟฟิศ บิลดิ้ง-คอนโดฯ-ฮอลล์-รีเทล

หลังเปิดรับฟังความคิดเห็น (Public Hearing) ครั้งที่ 1 ไปเมื่อวันที่ 18 ก.พ. ที่ผ่านมา และพร้อมจัดครั้งที่ 2 ในเดือน เม.ย. นี้ เพื่อศึกษาความเหมาะสมและความเป็นไปได้ในการพัฒนาที่ดิน 2 ผืน ของ บมจ.อสมท ได้แก่ ที่ดิน 50 ไร่ บริเวณถนนเทียมร่วมมิตร ติดกับศูนย์วัฒนธรรมฯ ใกล้กับรถไฟฟ้าสายสีส้มและสีน้ำเงิน และที่ดิน 20 ไร่ ที่ทำการของ อสมท ในปัจจุบัน ติดกับธนาคารอาคารสงเคราะห์ โดยก่อนหน้านี้ ได้จัดประชุมทดสอบความสนใจของนักลงทุน (Market Sounding) โดยมีกลุ่มทุนใหญ่ที่ให้ความสนใจในที่ดินดังกล่าวเข้าร่วม ประกอบด้วย อนันดา ดีเวลลอปเม้นท์, แมกโนเลีย, ศุภาลัย, ยูนิเวนเจอร์, สยามพิวรรธน์, ซี.พี.แลนด์ บริษัท Chapman taylor Thailand รวมถึงนักลงทุนธุรกิจมีเดียจากประเทศอังกฤษ เป็นต้น ขณะเดียวกันก็มีเสียงคัดค้านถึงสิทธิ์ในการนำที่ดินดังกล่าวมาใช้เพื่อหารายได้ ว่า จะผิดวัตถุประสงค์ในการดำเนินงานของ อสมท ที่มุ่งเน้นด้านสื่อสารมวลชนเป็นหลัก

 

[caption id="attachment_392707" align="aligncenter" width="405"] ไพรัช มณฑาพันธุ์ ผู้จัดการโครงการ สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (สำนักงานศูนย์วิจัยฯ) ไพรัช มณฑาพันธุ์ ผู้จัดการโครงการ สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (สำนักงานศูนย์วิจัยฯ)[/caption]

นายไพรัช มณฑาพันธุ์ ผู้จัดการโครงการ สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (สำนักงานศูนย์วิจัยฯ) เปิดเผยกับ "ฐานเศรษฐกิจ" ว่า อสมท เป็นบริษัทมหาชนที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย แม้จะเป็นรัฐวิสาหกิจในสังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี แต่การดำเนินการการลงทุนยังสามารถกระทำได้เช่นเดียวกับบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดฯ ทั่วไป ดังนั้น การทำที่ดินที่เป็นสินทรัพย์ขององค์กรมาสร้างรายได้ในระยะยาวจึงสามารถกระทำได้

นอกจากนี้ เพื่อให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ว่าด้วยการให้เอกชนร่วมลงทุน พ.ศ. 2556 (PPP) มาตรา 25 ที่กำหนดให้หน่วยงานเจ้าของโครงการต้องว่าจ้างที่ปรึกษา เพื่อจัดทำรายงานผลการศึกษาและวิเคราะห์โครงการเป็นเอกเทศ และสาระสำคัญอื่น ๆ อสมท จึงได้มอบหมายให้สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (สำนักงานศูนย์วิจัยฯ) ดำเนินการศึกษาความเหมาะสมและความเป็นไปได้ในการพัฒนาที่ดิน 50 ไร่ และที่ดินที่ทำการของ บมจ.อสมท เนื้อที่ประมาณ 20 ไร่

 

[caption id="attachment_392709" align="aligncenter" width="500"]  เพิ่มเพื่อน [/caption]

ทั้งนี้ ได้ดำเนินการ Market Sounding ไปแล้วเป็นการภายใน โดยมีผู้ประกอบการที่สนใจเข้าร่วมจำนวนหนึ่ง ส่วนการทำ Public Hearing ครั้งที่ 1 มีผู้เข้าร่วมทั้งองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ, การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.), สำนักงานคณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการ (สขร.), กรมควบคุมมลพิษ, ศูนย์วัฒนธรรมฯ, สหภาพแรงงาน และประชาชน ฯลฯ

"ด้วยข้อจำกัดเรื่องของผังเมือง ทำให้พื้นที่ราว 50% ของที่ดิน 50 ไร่ ไม่สามารถสร้างอาคารสูงได้ จึงต้องเลือกโมเดลการพัฒนาที่เหมาะสม"

สำหรับขั้นตอนหลังจากการทำ Publice Hearing จะรวบรวมข้อสรุปเพื่อนำเสนอรายงานผลการศึกษาต่อคณะกรรมการ (บอร์ด) บมจ.อสมท และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในเดือน พ.ค. - ก.ย. 2562 และเปิดประมูลคัดเลือกเอกชนเข้าร่วมลงทุนในเดือน ต.ค. - ธ.ค. 2562

 

[caption id="attachment_392711" align="aligncenter" width="503"] เขมทัตต์ พลเดช กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) เขมทัตต์ พลเดช กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน)[/caption]

ด้าน นายเขมทัตต์ พลเดช กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า เบื้องต้น ทิศทางการพัฒนาที่ดิน 50 ไร่ จะเป็นโครงการมิกซ์ยูส เป็นโมเดลเดียวกับ Digital Media City (DMC) ของประเทศเกาหลีใต้และอังกฤษ โดยที่ดิน 50 ไร่ พัฒนาเป็นพื้นที่ใช้สอยประมาณ 4.6 แสนตารางเมตร แบ่งออกเป็น 3 โซน คือ โซน A+ โซน B จะร่วมทุนกับเอกชนในการพัฒนาเชิงพาณิชย์แบบผสมผสาน (Mix Use) ประกอบด้วย พื้นที่สำนักงานให้เช่า พื้นที่สำนักงาน อสมท พื้นที่ศูนย์การค้า พื้นที่โรงแรม ศูนย์การแสดงงานและจัดกิจกรรม และศูนย์การเรียนรู้ โซน C จะแบ่งตามข้อจำกัด และแบ่งพื้นที่บางส่วนเป็นพื้นที่สีเขียวเชื่อมต่อกับศูนย์วัฒนธรรม ขณะที่ ที่ดิน 20 ไร่ มีพื้นที่การใช้สอยประมาณ 2.25 แสนตารางเมตร สามารถพัฒนาเป็นที่อยู่อาศัยแนวสูง หรือ คอนโดมิเนียมได้ เพราะไม่มีข้อจำกัดของผังเมือง ทำให้สามารถสร้างอาคารสูงได้

"ที่ดินย่านรัชดาฯ-พระราม 9 มีศักยภาพสูง และอยู่ใกล้กับรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ซึ่งปัจจุบันมีพื้นที่ดังกล่าวราคาซื้อขายสูงถึง 1 ล้านบาทต่อตารางวา ทำให้มองเห็นถึงโอกาสในการทำที่ดิน 20 ไร่ ไปตัดขาย เพื่อพัฒนาเป็นสำนักงาน หรือ คอนโดมิเนียม เพราะไม่มีข้อจำกัดด้านผังเมือง"

ทั้งนี้ อสมท ยังมีที่ดินที่เป็นสินทรัพย์และพร้อมนำออกพัฒนาเพื่อสร้างรายได้อีก ไม่ว่าจะเป็น บริเวณบางไผ่ ฝั่งธนบุรี ใกล้พุทธมณฑล สาย 2 จำนวน 60 ไร่ มีมูลค่าที่ดิน 400-500 ล้านบาท เหมาะกับการพัฒนาเป็นที่อยู่อาศัย และที่ดินบริเวณหนองแขม ซึ่งปัจจุบันเป็นที่ตั้งอาคารเครื่องส่งและโรงถ่ายละคร ซึ่งรอการส่งมอบตามสัญญาร่วมดำเนินกิจการส่งโทรทัศน์สีกับ บริษัท บางกอก เอ็นเตอร์เทนเม้นต์ จำกัด (ช่อง 3) ที่จะครบกำหนดสัญญาในปี 2563 จำนวน 40 ไร่ และยังมีที่ดิน อ.เมือง จ.ชุมพร อีก 20 ไร่ด้วย


……………….

หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 39 ฉบับที่ 3,446 วันที่ 21 - 23 ก.พ. 2562 หน้า 01+15

ข่าวที่เกี่ยวข้อง :
"อสมท" จัดทัพทีมข่าวและเครือข่ายวิทยุ ลุย "ศึกเลือกตั้ง 62"
'อสมท' ปรับแผนธุรกิจ  นำร่องส่ง 'ไนน์เอ็นเตอร์เทน' เป็นผู้ผลิตคอนเทนต์


เพิ่มเพื่อน
ติดตามฐาน