ดันปลาเศรษฐกิจไทยโกอินเตอร์ แบ่งเค้กเวียดนาม-อินโดฯ บนเวทีโลก

28 มี.ค. 2562 | 06:44 น.

 

ดันปลาเศรษฐกิจไทยโกอินเตอร์ แบ่งเค้กเวียดนาม-อินโดฯ บนเวทีโลก

ผมได้เข้าร่วมประชุมที่ศาลากลางจังหวัดปราจีนบุรีร่วมกับกรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ มีทั้งประมงปราจีนบุรี เกษตรและสหกรณ์จังหวัดปราจีนบุรี นักธุรกิจประมง (นายชัยพร โชคภรณ์ประเสริฐ หรือ “เฮียจั้ว”) ได้เข้าร่วมประชุมด้วยและก็มีโอกาสพูดคุยเพื่อเก็บข้อมูลปลาและผลิตภัณฑ์ปลาเศรษฐกิจน้ำจืดของไทยกับอีกหลายหน่วยงาน ได้แก่ กลุ่มสตรีและเยาวชนสหกรณ์ประมงบางจะเกร็ง-บางแก้ว จ.สมุทรสงคราม (ผลิตปลาหยอง) และคุณบรรลือศักร โสรัจจกิจ CEO บริษัทไทยยูเนี่ยนกรุ๊ป (ผลิตและส่งออกอาหารทะเลแช่แข็งและอาหารปลา) รวมทั้งคุณไชย์สุพัชร์ มูลศรีแก้ว เจ้าของปลาร้า “สจ๊วตแซ่บ” และยังเป็นกัปตันสายการบินแห่งชาติ

ผมพบว่า “ผลิตภัณฑ์ปลาเศรษฐกิจน้ำจืด” ของไทยมีทั้งโอกาสสร้างรายได้ในประเทศและตลาดต่างประเทศอีกมาก แต่ก็มีความท้าทายหลายเรื่องที่ต้องผลักดัน ปัจจุบันหากพูดถึงปลาในอาเซียนที่ “โด่งดัง” คงหนีไม่พ้น ปลาดอรี่ หรือ ปลาสวาย (Pangasius) ของเวียดนาม ที่เข้าไปตีตลาดต่างประเทศรวมทั้งประเทศไทย ซึ่งตลาดหลักคือ สหรัฐอเมริกา จีน และอาเซียน ปี 2562 เวียดนามผลิตปลาดอรี่ 1.5 ล้านตัน คิดร้อยละ 40 ของผลผลิตปลาเลี้ยงในเวียดนามที่ผลิตปีละ 4 ล้านตัน ปริมาณผลิตปลาอาเซียนมาจาก 3 แหล่งคือ จับจากทะเล (Marine) น้ำจืด (Inland) และเพาะเลี้ยง (Aquaculture) ดันปลาเศรษฐกิจไทยโกอินเตอร์ แบ่งเค้กเวียดนาม-อินโดฯ บนเวทีโลก

อินโดนีเซียและเวียดนาม เป็นสองประเทศที่มีการเพาะเลี้ยงและจับจากทะเลมากที่สุดของอาเซียน ส่วนเมียนมามีการจับจากน้ำจืดมากที่สุดของอาเซียน เหตุผลที่ทำให้อินโดนีเซีย เวียดนาม และเมียนมาสามารถจับปลาได้มากกว่าประเทศอื่นๆ เพราะ 1.ความยาวชายฝั่งทะเล โดยอินโดฯ มีชายฝั่งทะเลยาวที่สุดในอาเซียนและอันดับ 3ของโลก 55,000 กม. รองจากแคนาดาและนอร์เวย์ ฟิลิปปินส์ 36,000 กม. มาเลเซีย 4,675 กม. เวียดนาม 3,400 กม. ไทย 2,815 กม. เมียนมา 3,000 กม (รัฐยะไข่ 740 กม. เขตอิระวดี 460 กม. และตะนาวศรี 1,800 กม.) 2.จำนวนเรือประมง อินโดฯ มี 7 แสนลำ มาเลเซีย 6 หมื่นลำ ฟิลิปปินส์ 5 แสนลำ เวียดนาม 3 หมื่นลำ และไทย 2 หมื่นลำ อินโดนีเซียมีปริมาณสัตว์จากทุกแหล่งมากเป็นครึ่งหนึ่งของปริมาณในอาเซียน  ตามด้วยเวียดนามสัดส่วน 15% เมียนมาและฟิลิปปินส์ และไทยตามลำดับ

ดันปลาเศรษฐกิจไทยโกอินเตอร์ แบ่งเค้กเวียดนาม-อินโดฯ บนเวทีโลก

ประเทศอาเซียนมีปริมาณสัตว์น้ำเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ยกเว้นประเทศไทย ปริมาณสัตว์ในอาเซียนร้อยละ 50 มาจากการเพาะเลี้ยง (Aquaculture) ร้อยละ 40 มาจากทะเลและที่เหลือมาจากแหล่งน้ำจืด ไทยมีปริมาณสัตว์น้ำลดลงตั้งแต่ปี 2547 เป็นต้นมา เดิมมีปริมาณ 4 ล้านตัน ปัจจุบันเหลือเพียง 2 ล้านตัน โดยปริมาณการจับสัตว์น้ำในทะเลลดลงปีละ 8 หมื่นตัน ในขณะที่อินโดนีเซียเพิ่มปีละ 160,000 ตัน เมียนมา 140,000 ตัน ส่วนประเทศอื่นๆ เพิ่มขึ้น 1-2 หมื่นตันต่อปี เมื่อหันมาดูปริมาณประมงน้ำจืดเมียนมากลายเป็นประเทศในอาเซียนที่มีปริมาณการผลิตอย่างก้าวกระโดด จาก 2 แสนตันเพิ่มขึ้นมากเป็น 1.3 ล้านตัน ตามด้วยกัมพูชาเพิ่มเป็น 5 แสนตัน และอินโดฯ 4 แสนตัน ในขณะที่ไทยทรงๆ อยู่ที่ 2 แสนตันต่อปี

 สำหรับการเพาะเลี้ยง (Aquaculture) อินโดฯ ผลิตเพิ่มขึ้นทุกๆ ปี เป็น 14 ล้านตัน ตามด้วยเวียดนาม 4 ล้านตัน กัมพูชา มาเลเซีย ฟิลิปฟินส์ ผลิตเพิ่มขึ้น ส่วนไทยปริมาณลดลงจากระดับ 1 ล้านตันเหลือเพียง 9 แสนตันเท่านั้น

ผมสามารถสรุปประเด็นหลักได้ 2 ประเด็นคือ 1.ไทยมีปริมาณปลาลดลง และ 2.ไทยแปรรูปผลิตภัณฑ์ปลาเพื่อขายตลาดทั้งในประเทศและต่างประเทศยังไปไม่ถึงไหน ผลิตภัณฑ์ปลาน้ำจืดที่ผมคิดว่าน่าจะผลักดันเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มในขณะนี้ได้แก่ ไส้กรอกปลา ปลาร้า ปลาหยอง คุกกี้ปลา น้ำพริกปลา และปลาเค็ม เป็นต้น แต่ต้องบอกว่าขณะที่ยังไม่มีผลิตภัณฑ์จากปลาเหล่านี้วางในตลาด ยกเว้นปลาเค็มที่พอจะเห็นได้บ้าง แต่อย่างอื่นไม่เห็นเลย

 ผมขอยกตัวอย่างกรณีกลุ่มสหกรณ์ประมงพาน จำกัด อำเภอพาน จ.เชียงราย แหล่งผลิตปลานิลใหญ่ที่สุดของภาคเหนือ มีผลิตภัณฑ์หลากหลายผลิตภัณฑ์มาก เช่น ข้าวเกรียบปลานิล ปลานิลสมุนไพร ขนมปั้นสิบปลา และปลานิลหวานกรอบ เป็นต้น แต่ไม่สามารถขายในตลาดได้ เพราะแบรนด์ยังไม่เป็นที่รู้จัก แม้ว่าจะไปวางในห้างสรรพสินค้าดังในกรุงเทพฯ แต่สุดท้ายก็ต้องยกออกจากแผงไป ในขณะที่ปลาหยองก็ไม่เคยวางตลาด เพราะมีปัญหาหาที่แห้งเกินไป ไม่เป็นเส้นและยุ่ย  ประเทศไทยสามารถยกระดับการพัฒนาปลาและผลิตภัณฑ์เพื่อสร้างรายได้ให้กับประเทศไทยได้จำนวนมาก เพราะประเทศไทยมีภูมิประเทศที่สามารถเลี้ยงปลาได้ตลอดทั้งปี และที่สำคัญคือเกษตรกรไทยมีความเชี่ยวชาญ ในการพัฒนาสายพันธุ์ปลาของเกษตรกรไทย

ดันปลาเศรษฐกิจไทยโกอินเตอร์ แบ่งเค้กเวียดนาม-อินโดฯ บนเวทีโลก

จึงมีข้อเสนอแนะ 2 ระดับคือ ระดับเกษตรกร ดังนี้ 1.รัฐบาลควรมีการประกาศ ยกเว้นภาษีเกษตรกรรายเล็กในการเข้าระบบ การขึ้นทะเบียน เพื่อให้ทราบถึงปริมาณผลผลิตที่แน่นอน และจำนวนเกษตรกร เพื่อจะได้ง่ายในการวางแผนช่วยเหลือได้ 2.รัฐบาลควรให้การช่วยเหลือเกษตรกรรายเล็ก โดยการให้ความรู้ ช่วยเหลือแหล่งเงินทุน และด้านมาตรฐานในการส่งออก 3.เกษตรกรรวมตัวกันอย่างเข้มแข็งเพื่อมีอำนาจในการต่อรอง 4.ทำเกษตรพันธสัญญา โดยมีหน่วยงานราชการเข้ามาดูแล  5.ต้องบริหารจัดการต้นทุนการผลิตสูงเกินไป 6.การขาดแคลนแรงงาน 7.กฎระเบียบและกติกาที่เข้มงวดเกินไปทำให้การขึ้นทะเบียนฟาร์ม GAP มาตรฐานฟาร์ม ใบรับ ใบตาม  ใบ สอ 3 ต้องไปขอที่กรม และต้องผ่านการตรวจเชื้อโดยเซ็นทรัลแล็บ

ดันปลาเศรษฐกิจไทยโกอินเตอร์ แบ่งเค้กเวียดนาม-อินโดฯ บนเวทีโลก

ในขณะที่ข้อเสนอแนะโดยรวมคือ 1.ตั้ง สถาบันการตลาดสินค้าประมงไทย เพื่อทำการซื้อขาย พัฒนาผลิตภัณฑ์ปลาและสร้างมาตรฐานการผลิตปลาเศรษฐกิจของไทย 2.ขาดข้อมูลการตลาดในการส่งออกและไม่มีอำนาจในการต่อรอง 3.การแปรรูปและการสร้างแบรนด์ถือได้ว่ายังไม่มีศักยภาพมากพอ และ 4.ควรมีระบบการตรวจสอบย้อนลับแหล่งที่มาของปลา (Traceability) เพื่อสร้างความมั่นใจกับผู้บริโภค