‘ช่องว่าง’ของข้อมูล รูปแบบความเชื่อมโยงระหว่าง การค้าการลงทุนของบริษัทไทย (2)

02 เม.ย. 2562 | 23:00 น.

ดังที่ผมได้เล่ามาในตอนที่ 1 เราได้สังเคราะห์แบบสำรวจการเก็บข้อมูลเพื่อใช้เก็บข้อมูล “ช่องว่าง” ที่พบในฐานข้อมูลของภาครัฐ โดยเราได้สุ่มเลือกตัวอย่างบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยมา 137 บริษัท จากทั้งหมด 720 บริษัท อาศัยการเติมข้อมูลจากฐานข้อมูล Orbis และข้อมูลจากแบบรายงานประจำปี หรือที่รู้จักกันในชื่อ “แบบ 56-1”

ทั้งนี้เราเลือกใช้บริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ เนื่องจากมีการรายงานข้อมูลเป็นสาธารณะมากกว่าบริษัทอื่น ประกอบกับการที่บริษัทในตลาดหลักทรัพย์ฯมีทั้งบริษัทที่เน้นการผลิตและขายภายในประเทศเพียงอย่างเดียว หรือมีการผลิตและส่งออกไปยังต่างประเทศ หรือมีการส่งออกไปและลงทุนในต่างประเทศไปพร้อมๆ กัน

‘ช่องว่าง’ของข้อมูล  รูปแบบความเชื่อมโยงระหว่าง การค้าการลงทุนของบริษัทไทย (2)

ทั้งนี้ อุตสาหกรรมที่มีการจัดแบ่งในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย สามารถแบ่งออกได้เป็น 8 กลุ่ม ได้แก่ เกษตรและอุตสาหกรรมอาหาร เทคโนโลยี ทรัพยากร ธุรกิจการเงิน บริการ สินค้าอุตสาหกรรม สินค้าอุปโภคบริโภค อสังหาริมทรัพย์และก่อสร้าง แต่เราพิจารณาเปรียบเทียบเฉพาะบริษัทใน 5 กลุ่มอุตสาหกรรมเท่านั้น (ประกอบด้วย AGRO, TECH, RESOURCE, INDUS และ CONSUMP) เนื่องจากลักษณะและกิจกรรมมีลักษณะเป็นอุตสาหกรรมการผลิตมากกว่าอุตสาหกรรมที่เหลืออีก 3 กลุ่ม (BANKING, SERVICES, PROCONS)

โดยในบทความนี้ ผมขอยกตัวอย่างผลการศึกษาที่น่าสนใจบางส่วนจากบริษัทในกลุ่มอุตสาหกรรม INDUS มานำเสนอเท่านั้นครับ ผลที่เราพบคือ บริษัทที่มีการลงทุนภายในประเทศที่เพิ่มขึ้นมักเกิดควบคู่กับการที่บริษัทมีมูลค่าการค้าระหว่างประเทศลดลง นอกจากนั้นเรายังพบว่าการเคยมีประสบการณ์การค้าระหว่างประเทศ หรือมีการค้าขายระหว่างประเทศในปีก่อนหน้า มีส่วนขยายความชัดเจนของความสัมพันธ์ทางลบนี้ด้วย

นั่นหมายความว่า บริษัทที่เคยค้าขายกับต่างประเทศมาก่อน บริษัทที่ลงทุนในประเทศสูงมักจะมีมูลค่าการค้าตํ่าลงอย่างมาก ทั้งนี้ผลที่เจออาจจะเกิดจากการจัดสรรทรัพยากรของบริษัทในช่วงสั้นๆ คือ เพิ่มการลงทุนเพื่อขยายศักยภาพการผลิตและการส่งออก (ข้อมูลที่เราลองจัดเก็บเป็นข้อมูลในช่วงระยะเวลา 2 ปี ซึ่งถือว่าค่อนข้างสั้นมาก)

 

รูปที่ 1 ความสัมพันธ์ระหว่างมูลค่าการค้าระหว่างประเทศและการลงทุนภายในประเทศของบริษัทในกลุ่มอุตสาหกรรม INDUS  

    ‘ช่องว่าง’ของข้อมูล  รูปแบบความเชื่อมโยงระหว่าง การค้าการลงทุนของบริษัทไทย (2)

บริษัททั้งหมด         

‘ช่องว่าง’ของข้อมูล  รูปแบบความเชื่อมโยงระหว่าง การค้าการลงทุนของบริษัทไทย (2)

บริษัทที่มีประสบการณ์การค้าระหว่างประเทศ

       

หมายเหตุ : (1) ขนาดวงกลม คือ ขนาดบริษัท ในขณะที่สีและความเข้มข้นของสี แสดงถึงสัดส่วนการถือครองหุ้นโดยคนไทย โดยสีฟ้าแทนถือครองโดย คนไทย และสีส้มแทนการถือครองโดยคนต่างชาติ และความเข้มของสีแทนสัดส่วนการถือครอง 

นอกจากนั้นรูปที่ 1 ยังแสดงให้เห็นว่าความแตกต่างของคุณลักษณะเฉพาะของบริษัทมีผลต่อความสัมพันธ์เช่นกัน โดยจะเห็นว่าบริษัทขนาดใหญ่มักมีขนาดการลงทุนตํ่าในขณะที่มีการส่งออกค่อนข้างสูง แต่สำหรับบริษัทขนาดเล็กจะมีขนาดการค้าและการลงทุนกลางๆ และมีทั้งบริษัทที่มีสัญชาติไทยและมีต่างชาติถือหุ้น

และเรายังพบว่าสัดส่วนของทรัพย์สินคงทนที่จับต้องได้ของบริษัทเหล่านี้ก็มีความแตกต่างกันด้วย โดยในรูปที่ 2 จะเห็นว่าบริษัทที่มีประสบการณ์การค้าจะมีสัดส่วนการใช้เครื่องจักร (แสดงด้วยสีส้ม) มากกว่า ในขณะที่บริษัทที่ไม่มีประสบการณ์การค้าจะมีสัดส่วนของที่ดิน (แสดงด้วยสีดำ) สูงกว่าอย่างเห็นได้อย่างชัดเจน

 

รูปที่ 2 สัดส่วนทรัพย์สินคงทนที่จับต้องได้ต่อทรัพย์สินรวมของบริษัทในกลุ่มอุตสาหกรรม INDUS

‘ช่องว่าง’ของข้อมูล  รูปแบบความเชื่อมโยงระหว่าง การค้าการลงทุนของบริษัทไทย (2)

บริษัทที่ไม่มีประสบการณ์การค้าระหว่างประเทศ

‘ช่องว่าง’ของข้อมูล  รูปแบบความเชื่อมโยงระหว่าง การค้าการลงทุนของบริษัทไทย (2)

บริษัทที่มีประสบการณ์การค้าระหว่างประเทศ

และหากเราลองพิจารณาการแบ่งแยกขั้นตอนการผลิตตามกรอบทฤษฎีห่วงโซ่อุปทานและเครือข่ายการผลิตนานาชาติ โดยรูปที่ 3 แสดงให้เห็นถึงพื้นที่ที่ถูกแบ่งออกเป็น 4 ส่วน ได้แก่ 1. พื้นที่บริเวณล่างซ้ายแสดงกิจการสัญชาติไทยที่ดำเนินการผลิตอยู่ภายในประเทศไทย ในทำนองเดียวกัน 2. พื้นที่บนซ้ายแสดงกิจการต่างชาติแต่เข้ามาดำเนินการผลิตอยู่ภายในประเทศไทย

3. พื้นที่ล่างขวา แสดงบริษัทลูกของกิจการในตลาด หลักทรัพย์ที่ออกไปดำเนินการในต่างประเทศ และ 4.พื้นที่บนขวา บริษัทในเครือของกิจการในตลาดหลักทรัพย์ที่ออกไปดำเนินการในต่างประเทศ

นอกจากนั้นรูปที่ 3 แสดงให้เห็นว่ามีบริษัทในกลุ่มอุตสาหกรรม INDUS ที่ประกอบการเฉพาะภายในประเทศไทยเพียงอย่างเดียวมักตั้งอยู่ในกรุงเทพมหานครหรือจังหวัดใกล้เคียงเป็นส่วนใหญ่ และไม่มีบริษัทใดเลยที่ถือครองหุ้นโดยนักลงทุนไทยทั้งหมด โดยจะมีสัดส่วนการถือครองหุ้นเกินกว่าครึ่งโดยต่างชาติจำนวนมาก (จุดสีเขียวหรือจุดสีนํ้าตาล) ในขณะที่เมื่อ พิจารณาบริษัทที่มีการดำเนินการทั้งภายในประเทศ และภายนอกประเทศผ่านบริษัทเครือข่ายและ/หรือบริษัทลูก

จะเห็นได้ว่าวิธีการหรือรูปแบบ (Mode) ของการจัดตั้งบริษัทในต่างประเทศส่วนใหญ่มักเลือกใช้บริษัทลูกมากกว่า
การจัดตั้งบริษัทในเครือ และในหลายๆ กรณี บริษัทแม่เมื่อออกไปจัดตั้งบริษัทในต่างประเทศอาจเลือกถือครองหุ้นทั้งหมดมากกว่า

โดยผลการศึกษาของเราชี้ให้เห็นว่าบริษัทในกลุ่มอุตสาหกรรม INDUS ที่มีการ ออกไปลงทุนในต่างประเทศกลับเป็นบริษัทต่างชาติที่ตั้งอยู่ในประเทศไทย และทั้งหมดเลือกที่จะออกไปลงทุนในต่างประเทศโดยใช้บริษัทในเครือ (พื้นที่ขวาล่าง)

รูปที่ 3 การแบ่งแยกขั้นตอนการผลิตของบริษัทในกลุ่มอุตสาหกรรม INDUS

‘ช่องว่าง’ของข้อมูล  รูปแบบความเชื่อมโยงระหว่าง การค้าการลงทุนของบริษัทไทย (2)

เฉพาะบริษัทที่ประกอบการภายในประเทศ

‘ช่องว่าง’ของข้อมูล  รูปแบบความเชื่อมโยงระหว่าง การค้าการลงทุนของบริษัทไทย (2)

บริษัทที่ประกอบการโดยมีการจัดตั้งบริษัทในเครือ และ/หรือบริษัทลูกในต่างประเทศ

จะเห็นได้ว่า เมื่อเรามีข้อมูลเพิ่มเติมมากขึ้น เราก็อาจจะสามารถเข้าใจถึงบริบทที่แตกต่างกันของมิติด้านการค้าและการลงทุน ซึ่งบางครั้งก็มีความเชื่อมโยงระหว่างกัน ดังนั้นการมีข้อมูลระดับบริษัทที่มีความละเอียดสูงมากขึ้น จึงมีความจำเป็นและสำคัญอย่างยิ่ง

โดยการมีข้อมูลเหล่านี้จะช่วยให้เราเข้าใจและสามารถจะอธิบายรูปแบบการค้าและการลงทุนที่เปลี่ยนแปลงไปพร้อมทั้งสามารถนำมาใช้ประกอบเพื่อพัฒนานโยบายการค้าและการลงทุนของประเทศได้อย่างตรงจุดมากยิ่งขึ้น และทำให้นโยบายที่ถูกนำมาใช้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงขึ้นได้ครับ 

เศรษฐเสวนา จุฬาฯทัศนะ

โดย ผศ.ดร.ภาณุทัต สัชฌะไชย คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

หน้า 7 หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ฉบับ 3458 ระหว่างวันที่ 4 - 6 เมษายน 2562

‘ช่องว่าง’ของข้อมูล  รูปแบบความเชื่อมโยงระหว่าง การค้าการลงทุนของบริษัทไทย (2)