“ดีแทค-เศรษฐศาสตร์ จุฬา” เผยผลวิจัย เด็ก LGBT เหยื่อผู้ถูกรังแกทางออนไลน์สูงสุด

19 มิ.ย. 2562 | 09:42 น.

“ดีแทค-เศรษฐศาสตร์จุฬา” เผยผลวิจัยเด็ก LGBT เหยื่อผู้ถูกรังแกทางออนไลน์สูงสุดชี้“โรงเรียน” แหล่งที่เกิดการกลั่นแกล้งมากสุดแนะครู-ผู้ปกครองใส่ใจด้านดีแทคพัฒนาหลักสูตรออนไลน์Safe Internet หวังสร้างภูมิคุ้มกันทางดิจิทัลแก่เด็กครูและผู้ปกครองรณรงค์เนื่องในวันต่อต้านการกลั่นแกล้งทางโลกออนไลน์สากล  21 มิถุนายน2562

“ดีแทค-เศรษฐศาสตร์ จุฬา” เผยผลวิจัย เด็ก LGBT เหยื่อผู้ถูกรังแกทางออนไลน์สูงสุด

ผศ.ดร.ธานีชัยวัฒน์ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยเศรษฐศาสตร์พฤติกรรมและการทดลองจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยกล่าวว่าการรังแกกันผ่านไซเบอร์(Cyberbullying) นับเป็นความรุนแรงรูปแบบใหม่เมื่อเทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทการใช้งานทำได้ง่ายขึ้นไม่ว่าใครก็สามารถเป็นผู้กระทำได้ในทางตรงข้ามการใช้พื้นที่ของโลกไซเบอร์ต่างกับการรังแกรูปแบบอื่นซึ่งไม่ทราบว่าใครเป็นผู้ถูกกระทำจึงถูกนำมาใช้เป็นช่องทางใส่ร้ายโจมตี

“ดีแทค-เศรษฐศาสตร์ จุฬา” เผยผลวิจัย เด็ก LGBT เหยื่อผู้ถูกรังแกทางออนไลน์สูงสุด

จากงานวิจัยเรื่อง“การแกล้งกันของเด็กนักเรียนในระดับชั้นมัธยมศึกษาและอาชีวศึกษาในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล” พบว่าการกลั่นแกล้งทางสังคมมีความสัมพันธ์ที่สูงกับการกลั่นแกล้งทางไซเบอร์แสดงให้เห็นว่าเด็กนักเรียนใช้โซเชียลมีเดียเป็นส่วนหนึ่งของสังคมพวกเขาทำให้การกลั่นแกล้งทางออนไลน์จัดเป็นปัญหาใหม่สำหรับประเทศไทย

“จากงานวิจัยเราพบว่าสำหรับเด็กยุคใหม่คนที่ถูกรังแกและคนที่รังแกคนอื่นมีสัดส่วนเข้าใกล้กันมากขึ้นเรื่อยๆแปลว่ามีการเอาคืนมากขึ้นเรื่อยๆนอกจากนี้ยังพบว่าการกลั่นแกล้งทางไซเบอร์มีจุดเริ่มต้นจากการกลั่นแกล้งหรือการรังแกทางวาจาแล้วก็ไปสู่ทางร่างกายไปสู่ทางสังคมแล้วก็ทางสังคมจะเริ่มเข้าสู่กระบวนการการรังแกทางไซเบอร์ซึ่งเทคโนโลยีทำให้รูปแบบการการรังแกมีความรุนแรงมากขึ้นจำนวนสูงขึ้นและถึงแม้อาจไม่ได้รับความเจ็บปวดทางกายแต่ความเจ็บปวดทางใจมีความรุนแรงเพราะลักษณะของการทำร้ายกันผ่านออนไลน์จะวนเป็นลูปไปกลับอย่างไม่จบสิ้น” ผศ.ดร.ธานีกล่าว

นอกจากนี้ยังพบว่าสถานที่ที่เกิดการกลั่นแกล้งกันประมาณ2 ใน3 เกิดขึ้นในห้องเรียนกล่าวคือการใช้ความรุนแรงมีโอกาสเกิดขึ้นมากในสถานที่ที่คุ้นเคยและมีโอกาสขณะเดียวกันการกลั่นแกล้งกันในสังคมไทยส่วนใหญ่มาจากเพศชายซึ่งความน่าสนใจคือลักษณะการแกล้งมักจะเกิดขึ้นเมื่อมีแนวโน้มเป็นกลุ่มและอาจเป็นที่มาของวัฒนธรรมพวกมากลากไปหรือใช้จำนวนที่มากกว่าการสร้างความรุนแรงซึ่งลักษณะดังกล่าวสามารถเห็นได้ชัดเจนในกลุ่มLGBT ซึ่งมักเป็นผู้ถูกกระทำโดยมักถูกกลั่นแกล้งทางวาจาทางเพศและทางไซเบอร์อย่างเห็นได้ชัดขณะที่ผู้กระทำมักเป็นเพศชาย

ผศ.ดร.ธานีกล่าวเสริมว่าเทคโนโลยีการสื่อสารเป็นตัวแปรสำคัญที่ทำให้การแกล้งกัน(Bullying) ของเด็กนักเรียนขยายวงกว้างมากขึ้นจากเดิมที่การแกล้งกันจะมีลักษณะอำนาจเหนือกว่าหรือมีความได้เปรียบด้านกายภาพแต่โซเชียลมีเดียได้เข้ามาสร้างความเท่าเทียมกันของการแสดงออก  ทำให้ความสามารถในการแกล้งกันของทุกคนใกล้เคียงกันมากขึ้น

“หากต้องการป้องกันการกลั่นแกล้งหรือรังแกทางไซเบอร์อาจต้องเริ่มจากการป้องกันกลั่นแกล้งหรือรังแกทางสังคมกายภาพจริงพร้อมกับการปรับเปลี่ยนทัศนคติต่อการรังแกเพราะหากไม่ได้รับการแก้ไขอย่างรวดเร็วเมื่อเด็กโตขึ้นในอนาคตการใช้กำลังจะถูกปลูกฝังว่าเป็นเรื่องที่ยอมรับได้และอาจแปรสภาพไปสู่การข่มขู่การละเมิดอื่นๆ” ผศ.ดร.ธานีกล่าว

ขณะเดียวกันครูและพ่อแม่ผู้ปกครองควรเป็นที่พึ่งให้กับเด็กที่ถูกกระทำความเข้าใจระหว่างครอบครัวที่เปิดโอกาสให้เด็กได้แสดงตัวตนของตัวเองและกิจกรรมในโรงเรียนที่ควรเปิดกว้างมากพอให้เด็กได้แสดงศักยภาพของตัวเองเพื่อให้เด็กทุกคนมีพื้นที่เป็นของตัวเองพื้นที่ที่สบายใจและทำสิ่งที่สนใจเหล่านั้นได้ดีหากแต่ทางออกระยะยาวถูกสกัดกั้นด้วยความไม่กล้าเปิดเผยเรื่องราวเหล่านี้ให้กับคนรอบตัว

ดีแทคเปิดยุทธศาสตร์สร้างอินเทอร์เน็ตปลอดภัย

นางอรอุมาฤกษ์พัฒนาพิพัฒน์ผู้อำนวยการอาวุโสสายงานสื่อสารองค์กรและการพัฒนาที่ยั่งยืนบริษัทโทเทิ่ลแอ็คเซ็สคอมมูนิเคชั่นจำกัด(มหาชน) หรือดีแทคกล่าวว่า“การดำเนินธุรกิจอย่างมีความรับผิดชอบ” (Responsible business) ถือเป็นหนึ่งในกลยุทธ์สำคัญของความยั่งยืนดีแทคซึ่งโครงการอินเทอร์เน็ตปลอดภัยหรือdtac Safe Internet ได้ดำเนินอย่างต่อเนื่องเป็นปีที่4 แล้ว

สำหรับการวิจัยเรื่อง“การแกล้งกันของเด็กนักเรียนในระดับชั้นมัธยมศึกษาและอาชีวศึกษาในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล” ถือเป็นอีกหนึ่งความพยายามของดีแทคในการทำความเข้าใจถึงปัญหาที่ซับซ้อนมากขึ้นจากบทบาทที่เพิ่มขึ้นของอินเทอร์เน็ตซึ่งดีแทคมีเป้าหมายในการสร้างระบบนิเวศที่ดีต่อสังคมอินเทอร์เน็ตโดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มเด็กที่มีอัตราการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตกว่า90%

และเนื่องในโอกาสวันต่อต้านการกลั่นแกล้งทางออนไลน์สากล(Stop Cyberbullying day) ซึ่งในปีนี้ตรงกับวันที่21 มิถุนายน2562 ดีแทคได้พัฒนาหลักสูตรออนไลน์Safe Internet เพื่อให้เด็กและครอบครัวสามารถพัฒนาความรู้และทักษะในการใช้ชีวิตบนโลกออนไลน์อย่างสร้างสรรค์และปลอดภัยสร้างภูมิคุ้มกันทางดิจิทัลแก่เด็กๆซึ่งได้รับการออกแบบโดยParent Zone ผู้ให้บริการด้านความรู้ในการเลี้ยงเด็กในยุคดิจิทัลสัญชาติอังกฤษ

ทั้งนี้หลักสูตรออนไลน์Safe Internet ได้รับการออกแบบให้เหมาะสมกับเด็กอายุ5-16 ปีตลอดจนครูและผู้ปกครองโดยเข้าผ่านเว็บไซต์www.safeinternetforkid.com ซึ่งประกอบด้วยเกมทดสอบความเข้าใจโลกออนไลน์คลังคำศัพท์แบบฝึกหัดและคำแนะนำสำหรับครูตลอดจนผู้ปกครอง