อาเซียนต้านเทรดวอร์  ‘ประยุทธ์’ชูแถลงการณ์เคารพกติกาการค้า

21 มิ.ย. 2562 | 08:20 น.

อาเซียนซัมมิทคึก เอกชนชงเวทีผู้นำแสดงจุดยืนต้านสหรัฐฯ-จีนทำสงครามการค้ายืดเยื้อ หลังฉุดเศรษฐกิจ-ค้าโลกป่วน พร้อมจี้แก้เกือบ 6,000 มาตรการกีดกันการค้า เปิดแถลงการณ์นายกฯตอกยํ้าอาเซียนยึดมั่นพหุภาคี

การประชุมสุดยอดอาเซียน หรืออาเซียนซัมมิท ครั้งที่ 34 ที่ไทยในฐานะประธานอาเซียนในปีนี้จะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 22-23 มิถุนายน 2562 ที่กรุงเทพฯ ภายใต้แนวคิด Advancing Partnership for Sustainability หรือ “ความเป็นหุ้นส่วนเพื่อความยั่งยืน” จะเป็นหนึ่งในเวทีสำคัญส่งท้ายรัฐบาลก่อนมีรัฐบาลชุดใหม่มารับไม้ต่อ

อาเซียนต้านเทรดวอร์   ‘ประยุทธ์’ชูแถลงการณ์เคารพกติกาการค้า

ไฮไลต์สำคัญของการประชุมครั้งนี้นอกจากจะมีการประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียนสมัยพิเศษ เพื่อหารือและกำหนดท่าทีร่วมของอาเซียน 10 ชาติในการผลักดันการเจรจาจัดทำความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (RCEP) ให้สำเร็จภายในปี 2562 และการประชุมผู้นำอาเซียนแบบเต็มคณะแบบเป็นทางการ และไม่เป็นทางการแล้ว (กราฟิกประกอบ) อีกเวทีหนึ่งผู้นำอาเซียนจะได้พบและหารือกับสภาที่ปรึกษาธุรกิจอาเซียน (ASEAN-BAC)ในช่วงบ่ายของวันที่ 22 มิถุนายน อาเซียนต้านเทรดวอร์   ‘ประยุทธ์’ชูแถลงการณ์เคารพกติกาการค้า

 

ชงผู้นำต้านเทรดวอร์

นายอรินทร์ จิรา รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) ในฐานะประธานสภาที่ปรึกษาธุรกิจอาเซียน เผยกับ “ฐานเศรษฐกิจ” ว่า ในการพบและหารือกับผู้นำในครั้งนี้จะมีผู้แทนภาคเอกชนประเทศละ 3 คนจาก 10 ประเทศเข้าร่วม ประเด็นหลักที่ ASEAN-BAC จะนำเสนอให้อาเซียนเร่งดำเนินการในปีนี้ ได้แก่ การเร่งพัฒนาแรงงานที่มีทักษะเพื่อรับมือกับการปฏิวัติอุตสาหกรรมยุค 4.0 โดยสนับสนุนให้ทุกองค์กรให้ความสำคัญกับการพัฒนา บุคลากร ซึ่งจะช่วยสร้างโอกาสการมีงานทำและมีงานใหม่ๆ รองรับอีกมาก รวมถึงการผลักดันการค้าผ่านระบบดิจิทัลของภูมิภาคให้เป็นรูปธรรม

“ทางสภาที่ปรึกษาธุรกิจฯ จะเสนอให้ผู้นำอาเซียนแสดงจุดยืนต่อต้านสงครามการค้าอย่างชัดเจน โดยต้องส่งสัญญาณให้สหรัฐฯและจีนเร่งเจรจาไกล่เกลี่ยเพื่อคลี่คลายปัญหาโดยเร็ว เพราะยิ่งยืดเยื้อเศรษฐกิจ การค้าโลกยิ่งชะลอตัว รวมถึงกระทบต่อการค้า การลงทุนของอาเซียนด้วยทางสภาที่ปรึกษาธุรกิจฯ ยังจะนำเสนอผู้นำ เพื่อสั่งการให้แต่ละประเทศลดเลิกใช้มาตรการทางการค้า (NTMs) ที่เป็นอุปสรรคและถูกใช้เป็นเครื่องมือกีดกันในการเข้าถึงตลาดระหว่างกัน จากข้อมูลเวลานี้ 10 ชาติอาเซียนยังมีมาตรการกีดกันทางการค้าระหว่างกันมากกว่า 5,000 มาตรการ แม้อาฟต้าจะลดภาษีระหว่างกันเป็น 0% แล้วก็ไม่มีความหมายหากยังเป็นอย่างนี้”

อาเซียนต้านเทรดวอร์   ‘ประยุทธ์’ชูแถลงการณ์เคารพกติกาการค้า

จี้เลิกกีดกันค้า5พันมาตรการ

ดร.อัทธ์ พิศาลวานิช ผู้อำนวยการศูนย์ศึกษาการค้าระหว่างประเทศ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เผยว่า ข้อมูลในปี 2559 อาเซียนมีมาตรการ NTMs ที่เป็นอุปสรรคทางการค้าระหว่างกัน 5,975 มาตรการ ช่วง 3 ปีที่ผ่านมาคาดจะเพิ่มขึ้น เพราะจากภาษีนำเข้าระหว่างกันที่ลดลงเป็น 0% ทำให้หลายประเทศออกมาตรการมากีดกันนำเข้า เพราะสินค้าของอาเซียนส่วนใหญ่จะคล้าย ๆ กัน ดังนั้นแต่ละประเทศจึงต้องปกป้องเกษตรกรและผู้ประกอบการในประเทศ เรื่องนี้อาเซียนต้องเร่งผลักดันมาตรฐานสินค้าของอาเซียน (ASEAN Standard) ให้เป็นรูปธรรม เพื่อลดการกีดกัน และไม่ต้องถูกตรวจซํ้าในอีกประเทศหนึ่ง

ส่วนเรื่องสงครามการค้า ผู้นำอาเซียนควรมีการแสดงจุดยืนร่วมกันว่าอาเซียนไม่ต้องการสงครามการค้า ขณะที่เวลานี้มีสินค้าจีนที่ได้รับผลกระทบจากสหรัฐฯขึ้นภาษีจะทำให้มีสินค้าจีนทะลักเข้ามาอาเซียนมากขึ้นอาเซียนจะรับมือกับเรื่องนี้อย่างไร เพราะจะกระทบต่อราคาสินค้าของอาเซียนจากการเข้ามาของสินค้าจีนแน่

 

“ประยุทธ์”ยํ้ายึดพหุภาคี

สอดคล้องกับรายงานข่าวจากทำเนียบรัฐบาล เผยกับ “ฐานเศรษฐกิจ”ว่า ในร่างแถลงการณ์ของพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ในฐานะประธานการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 34 จะยืนยันเจตนารมณ์ในการผลักดันการรวมตัวทางเศรษฐกิจในการเจรจาความตกลงอาร์เซ็ปที่จะสรุปภายในปีนี้ รวมทั้งความร่วมมือในการกําหนดแนวทางการจัดหาเงินทุนรูปแบบใหม่ผ่านกองทุนการเงินแบบทั่วถึง และกองทุนการเงินสีเขียวอาเซียน และความเชื่อมโยงผ่านการชําระสกุลเงินท้องถิ่นและการชําระเงินรายย่อยข้ามพรมแดน

อาเซียนต้านเทรดวอร์   ‘ประยุทธ์’ชูแถลงการณ์เคารพกติกาการค้า

ขณะเดียวกันจะแสดงความห่วงกังวลต่อกระแสนโยบายกีดกันทางการค้าและการต่อต้านโลกาภิวัตน์ที่กําลังลุกลาม อย่างต่อเนื่องในระบบเศรษฐกิจโลกและเป็นภัยต่อระบบพหุภาคีนิยม ด้วยการยืนยันว่าจะยึดมั่นในระบบการค้าพหุภาคีที่ครอบคลุม และเปิดกว้าง

 

ดันศก.ดิจิตติดท็อป5โลก

นางอรมน ทรัพย์ทวีธรรม อธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ เผยว่า จากผลการศึกษาของอาเซียนพบว่า การเข้าสู่ยุคปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4(4IR) จะส่งผลให้มูลค่าเศรษฐกิจดิจิทัลของ 6 ตลาดใหญ่อาเซียน ได้แก่ อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ ไทย และเวียดนาม เติบโตจากปัจจุบันที่มูลค่า 50,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ไปสู่ 200,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในปี 2568 ส่งผลให้อาเซียนจะกลายเป็นภูมิภาคที่มีขนาดเศรษฐกิจดิจิทัลใหญ่ที่สุดติดอันดับ 1 ใน 5 ของโลก

อาเซียนต้านเทรดวอร์   ‘ประยุทธ์’ชูแถลงการณ์เคารพกติกาการค้า

ด้านสิ่งที่ภาคเอกชนคาดหวังจากการประชุมอาเซียนซัมมิทในครั้งนี้ นางสาวกัณญภัค ตันติพิพัฒน์พงศ์ ประธานสภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย(สรท.) ระบุว่า อยากให้เร่งการเชื่อมโยงระบบศุลกากรอิเล็กทรอนิกส์ ณ จุดเดียวของอาเซียน(ASEAN Single Window) ให้ครบทั้ง 10 ประเทศเพื่อให้การค้าระหว่างกันมีความสะดวกและช่วยลดต้นทุน และป้องกันไม่ให้แต่ละประเทศใช้พิธีการศุลกากรเป็นเครื่องมือในการกีดกันการค้า

 

อาเซียนต้านเทรดวอร์   ‘ประยุทธ์’ชูแถลงการณ์เคารพกติกาการค้า

ขณะที่นายเกรียงไกร เธียรนุกุล รองประธาน ส.อ.ท. กล่าวว่า คาดหวังอาเซียนจะมีการเชื่อมโยงกันและร่วมมือกันอย่างเป็นรูปธรรมในทุกมิติ ทั้งการค้า การลงทุน การท่องเที่ยว เชื่อมโยงการเดินทางทั้งทางบก นํ้า อากาศ รวมถึงระบบโลจิสติกส์ ต่างๆ แบบไร้รอยต่อ มีแพลตฟอร์มค้าขายกันผ่านระบบดิจิทัล เป็นฐานผลิตและตลาดเดียวอย่างแท้จริง  

หน้า 1 อาเซียนต้านเทรดวอร์   ‘ประยุทธ์’ชูแถลงการณ์เคารพกติกาการค้า ฐานเศรษฐกิจ ฉบับที่ 3,480 วันที่ 20 - 22 มิถุนายน พ.ศ. 2562