HP สำรวจความมุ่งหวังของผู้ปกครองเตรียมลูกหลานสู่อนาคต

22 มิ.ย. 2562 | 09:56 น.

HP สำรวจความมุ่งหวังของผู้ปกครองเตรียมลูกหลานสู่อนาคต

ข้อกังวลสูงสุดของผู้ปกครอง คือ อนาคตที่มั่นคงของเด็ก โดย65 %ของผู้ปกครองไทยเป็นกังวลเรื่องค่าครองชีพที่เพิ่มสูงขึ้น  การมีความสุขของเด็กเมื่อเขาเติบโตขึ้นเป็นสิ่งสำคัญที่สุดสำหรับผู้ปกครอง โดย 68%ของพ่อและแม่คนไทยต้องการให้ลูกทำได้ดีที่สุดในสิ่งที่พวกเขาทำ    66% ของผู้ปกครองไทย ระบุความมั่นคงของงานเป็นสิ่งสำคัญที่สุด มากกว่าประเทศอื่นๆ  ผู้ปกครองที่สำรวจเชื่อว่า สื่อตำราสิ่งพิมพ์สร้างผลกระทบเชิงบวกต่อการเรียนรู้ของเด็ก แต่การเรียนรู้จากสื่อสิ่งพิมพ์ผสมผสานสื่อดิจิทัล ช่วยเพิ่มการพัฒนาทักษะด้านภาษาและทางดนตรีของเด็ก

 เอชพี อิงค์ ประเทศไทย เผยผลงานสำรวจโครงการ HP New Asian Learning Experience ซึ่งเป็นการศึกษาทัศนคติและบุคลิกลักษณะของพ่อแม่ยุคใหม่ที่มีผลต่อการเรียนรู้ของเด็กในปกครองอย่างไร โดยใช้กระบวนการวิเคราะห์ปัจจัยรอบด้านของผู้ปกครองกลุ่มมิลเลนเนียล จำนวน 3,177 คน จาก 7 ประเทศในเอเชีย ได้แก่ สิงคโปร์ อินเดีย จีน อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ และไทย พบว่า mindsets หรือความเชื่อที่ส่งผลต่อพฤติกรรมของผู้ปกครองให้นิยามของการเรียนรู้แตกต่างกัน อยู่ที่ประสบการณ์การเรียนรู้ที่พวกเขาให้คุณค่า การมีส่วนร่วมในการช่วยเด็กเรียนรู้ รวมถึงความคาดหวังและความเป็นห่วงอนาคตของลูกหลาน

HP สำรวจความมุ่งหวังของผู้ปกครองเตรียมลูกหลานสู่อนาคต

ปวิณ วรพฤกษ์ กรรมการผู้จัดการ เอชพี อิงค์ ประเทศไทย กล่าวว่า  ในฐานะของความเป็นพ่อแม่ เราเข้าใจอย่างดีถึงความสำคัญของการให้การศึกษากับลูกหลานอย่างรอบด้าน เอชพี ได้ดำเนินการทุกด้านให้สอดคล้องกับความคาดหวังของผู้ปกครองชาวไทย โดยเฉพาะบทบาทของสื่อดิจิทัลและสิ่งพิมพ์ที่จะช่วยให้เกิดผลการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ เอชพี สนับสนุนผู้ปกครองในการพัฒนาลูกหลานให้เป็นผู้นำในอนาคตด้วยการเป็นช่องทางของแหล่งข้อมูลความรู้  เทคโนโลยี และสร้างประสบการณ์การเรียนรู้ที่ถูกต้อง เพื่อให้แน่ใจว่าลูกหลาน ได้รับการพัฒนาทักษะที่ต้องการและเตรียมความพร้อมสำหรับสภาพแวดล้อมของการทำงานในอนาคต

ผลสำรวจโดยรวมชี้ให้เห็นว่า อนาคตที่มั่นคงของเด็ก คือความกังวลสูงสุดของผู้ปกครองทุกคน  66% กังวลเรื่องค่าครองชีพที่เพิ่มสูงขึ้น  42 % กังวลเรื่องความมั่นคงในการทำงาน  54% กังวลเรื่องทักษะที่ถูกต้องต่อบทบาทชีวิตในอนาคต สำหรับผู้ปกครองยุคใหม่ของประเทศไทย  65%  เรื่องค่าครองชีพเป็นสิ่งที่กังวลมากที่สุด และรองลงมา  54%  คือห่วงเรื่องการสร้างทักษะที่ถูกต้องต่อบทบาทของเด็กในอนาคต 

HP สำรวจความมุ่งหวังของผู้ปกครองเตรียมลูกหลานสู่อนาคต

การสร้างระเบียบวินัยเป็นลักษณะนิสัยสำคัญที่สุดสำหรับผู้ปกครองยุคใหม่ในกลุ่มเอเชีย ในขณะที่ 57 %ของผู้ปกครองไทยมองว่าด้านการสร้างสติปัญญาเป็นสิ่งสำคัญที่สุด นอกจากนี้  61 %ของครอบครัวไทยยังเน้นเรื่องการพัฒนาทักษะและความสามารถในการปรับรูปแบบการเรียนการสอน  เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการเตรียมความพร้อมให้อนาคตของลูกหลาน

ผู้ปกครองชาวเอเชียยุคใหม่ต้องการให้ลูกหลานของพวกเขาพัฒนาทักษะทางสังคมอย่างเข้มแข็งควบคู่กับการมีความสุข โดย 83 % ผู้ปกครองต้องการให้ลูกหลานมีความสุขเป็นสิ่งสำคัญที่สุด ในขณะที่ผู้ปกครองไทย  68 % ต้องการให้ลูกสามารถทำได้ดีที่สุดในสิ่งที่พวกเขาทำ และ 66% ของผู้ปกครองไทย ระบุความมั่นคงของงานเป็นสิ่งสำคัญที่สุด มากกว่าประเทศอื่นๆ

ครอบครัวในเอเชียต้องการใช้เทคโนโลยีสำหรับการศึกษา 
HP New Asian Learning Experience Study ระบุว่า ผู้ปกครองเชื่อว่าสื่อการเรียนการสอนที่เป็นสิ่งพิมพ์ส่งผลกระทบต่อการเรียนรู้ของเด็กในเชิงบวกมากกว่าการเรียนรู้กับสื่อดิจิทัลเพียงอย่างเดียว การเรียนรู้บนสิ่งพิมพ์กับบนดิจิทัลให้ประโยชน์ที่แตกต่างกัน และเชื่อว่า สิ่งพิมพ์ให้ผลที่ดีกว่าสำหรับการอ่านเพื่อความเข้าใจ การใช้เวลาในการอ่าน การเรียนคำศัพท์และการจดจำ ในขณะที่แพลตฟอร์มดิจิทัลช่วยเรื่องการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์และการสร้างวิจารณญาณ

HP สำรวจความมุ่งหวังของผู้ปกครองเตรียมลูกหลานสู่อนาคต

จากผลสรุปโดยรวมจากทุกประเทศ พบว่า การเรียนรู้จากสิ่งพิมพ์ น่าจะดีกว่าสำหรับการพัฒนาทักษะความเข้าใจของเด็กๆ และ50%ของผู้ปกครองยอมรับว่า สิ่งพิมพ์เหมาะที่สุดสำหรับการเรียนคณิตศาสตร์ ในขณะที่ 53 % ระบุว่าสื่ออิเล็กทรอนิกส์เหมาะสมที่สุดสำหรับฝึกทักษะการเรียนรู้ทางดนตรีและการฟัง

อย่างไรก็ตาม พวกเขารับรู้ว่าการเรียนแบบผสมผสานของทั้งจากสิ่งพิมพ์และดิจิทัลให้ประโยชน์มากที่สุด ผู้ปกครองไทย 57% ใช้การเรียนรู้แบบผสมผสานสำหรับด้านศิลปะ รองลงมาคือการเรียนรู้ด้านภาษา 56% และทักษะดนตรี 41% ในการสำรวจยังพบว่า ประเทศไทยมีสัดส่วนผู้ปกครองสูงสุดถึง90% ที่ระบุว่า เหตุผลที่ผู้ปกครองเข้าไปมีส่วนร่วมในการเรียนรู้ของเด็ก คือต้องการส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์และเพิ่มประสบการณ์ใหม่ๆ  

“เป็นที่ชัดเจนจากการสำรวจ ชี้ให้เห็นว่า การใช้สิ่งพิมพ์ ยังคงเป็นวิธี tried-and-tested approach ที่ดีสำหรับช่วยเด็กๆ ดังนั้น วิธีการเรียนรู้บนสิ่งพิมพ์ยังคงความเป็นที่นิยม เพราะผู้ปกครองคิดว่าเป็นวิธีที่จะช่วยให้เด็กๆ มีสมาธิ จดจ่ออยู่กับการเรียนรู้ได้ดีขึ้น และยังพัฒนาทักษะการปฏิสัมพันธ์ทางสังคมด้วย อย่างไรก็ตาม ผู้ปกครองยังเชื่อว่าเด็กๆ มีแนวโน้มมากขึ้นที่จะชอบสื่อการเรียนรู้อิเล็กทรอนิกส์แบบใหม่มากกว่าสื่อสิ่งพิมพ์” ปวิณ กล่าว 

การศึกษาในวันนี้กับผลกระทบต่อการทำงานในอนาคต
ผู้ปกครองยุคใหม่วันนี้ทราบดีว่า การศึกษาจะต้องมีวิวัฒนาการปรับเปลี่ยนไปตามเวลา HP New Asian Learning Experience สะท้อนการให้คำนิยามของการเรียนรู้ของครอบครัวไทยว่า จะต้องคำนึงถึงความต้องการของสภาพแวดล้อมการทำงานที่จะเกิดในอนาคตเป็นสำคัญ โดยรวม88% ของผู้ปกครองไทย ให้ความสำคัญกับการเรียนรู้จากประสบการณ์ มากกว่าการเรียนรู้แบบท่องจำที่ 73% และเชื่อว่าการเรียนรู้ทั้งสองประเภทจะมีอิทธิพลต่อความสามารถของเด็กในการเลือกทักษะที่จำเป็นเมื่อพวกเขาเข้าสู่วัยทำงาน

ในบรรดาผู้ปกครองทั้งหมด การเรียนรู้จากประสบการณ์เป็นวิธีที่ดีที่สุดสำหรับการเผชิญกับโลกแห่งความจริง ที่เสริมการพัฒนาความสามารถเชิงสร้างสรรค์และวิจารณญาณ  ในขณะที่การเรียนรู้แบบท่องจำนั้นเหมาะสำหรับความรู้ที่อาศัยความชัดเจนของความเป็นจริงอันเป็นฐานในการต่อยอดการพัฒนาทักษะอื่นๆ ที่สูงขึ้น
  HP สำรวจความมุ่งหวังของผู้ปกครองเตรียมลูกหลานสู่อนาคต

ปัจจุบันนี้ โลกอยู่ในช่วง Experience Age – ยุคที่ขับเคลื่อนด้วยประสบการณ์สร้างแรงบันดาลใจ สร้างความคิดสร้างสรรค์ จุดประกายความร่วมมือ และเชื่อมโยงผู้คน ความคาดหวังเหล่านี้และการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีอย่างรวดเร็วจะเปลี่ยนวิธีรูปแบบการทำงานของสังคม ซึ่งจะถูกขับเคลื่อนอย่างคล่องตัวด้วยเทคโนโลยีที่น่าทึ่งด้วยการทำงานที่ไร้พรมแดนและการทำงานร่วมกับอุปกรณ์อัจฉริยะทั้งหลาย

เอชพี กำลังปฏิรูปการเรียนรู้ผ่านการสร้างนวัตกรรมเทคโนโลยีทั้งด้านการพิมพ์และสมรรถภาพของคอมพิวเตอร์ เช่น เครื่องพิมพ์ HP DeskJet Ink Advantage และแล็ปท็อป HP Pavilion x360 ที่ช่วยในการเรียนรู้อย่างสร้างสรรค์ การฝึกคิดอย่างมีวิจารณญาณ และพัฒนาทักษะในหลากหลายข้ามวัฒนธรรมทั่วโลก

ทั้งนี้ การศึกษางานวิจัย HP New Asian Learning Experience 2019   การสำรวจของ HP ครอบคลุมผู้ปกครองยุคใหม่ 3,177 คน จากประเทศอินเดีย จีน ไทย มาเลเซีย สิงคโปร์ อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์ โดยมีอายุระหว่าง 25 ถึง 42ปี มีบุตรอย่างน้อยหนึ่งคน การสำรวจดำเนินการระหว่างเดือนพฤศจิกายนถึงเดือนธันวาคม 2561