‘กฤษฎา’ ยุบริษัทฟ้องไม่เป็นธรรมถนนพาราซอยซีเมนต์

03 ก.ค. 2562 | 04:51 น.

ถนนพาราซอยล์ซีเมนต์ป่วน! “กฤษฎา” แนะบริษัทฟ้องศาลปกครองกลางเพิกถอนคำสั่ง  ชี้ทำให้เสียสิทธิ ส่งอุทธรณ์ ใครผิดถูกโยนศาลตัดสินเคลียร์ข้อกังขาทุกฝ่ายจะได้จบ เร่งขับเคลื่อนนโยบายตามโรดแมปรัฐใช้ยางในประเทศเพิ่ม ด้าน กยท.ย้ำมาตรฐาน ตาม สตง. มิได้บังคับทางกฎหมาย เสริมความมั่นใจให้กับผู้บริโภค

 

จากกรณีที่มีผู้มาร้องเรียนพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ผ่านผู้อำนวยการศูนย์รับเรื่องราวร้องทุกข์ของรัฐบาล(สายด่วน1111)เนื่องจากตรวจพบข้อพิรุธและข้อสงสัยในการประกาศรายชื่อทางเว็บไซต์ของการยางแห่งประเทศไทยเกี่ยวกับบริษัทเอกชน 3 ราย เท่านั้นโดยอ้างว่ามีน้ำยางพาราผสมสารเพิ่มถูกต้องตามหลักเกณฑ์ทุกประการ ซึ่งหากเกษตรกรหรือผู้ประกอบการรายใดประสงค์จะเข้าประกวดราคาในหน่วยงานของรัฐนั้นจะต้องซื้อน้ำยางพาราผสมสารเพิ่มจาก 3 บริษัทนี้เท่านั้นตามราคาที่กำหนดหรือตกลงกัน ซึ่งเป็นการซื้อน้ำยางพาราผสมสารเพิ่มในราคาสูงมากและผูกขาด และวันนี้ (วันที่ 3 ก.ค.62) จะเดินทางไปยื่นหนังสือถึง ผู้ว่าการสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน ในเวลา 14.00  น.นั้น

‘กฤษฎา’ ยุบริษัทฟ้องไม่เป็นธรรมถนนพาราซอยซีเมนต์

นายกฤษฎา บุญราช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เผยกับ “ฐานเศรษฐกิจ” ว่า หากบริษัทใดเห็นว่าการกำหนดวิธีการรับรองของคณะกรรมการไม่ถูกต้องทำให้ตนเสียสิทธิก็สามารถฟ้องศาลปกครองให้เพิกถอนคำสั่งของคณะกรรมการได้และหากเห็นว่าคณะกรรมการมีเจตนาช่วยเหลือผู้หนึ่งผู้ใดโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายก็สามารถฟ้องคณะกรรมการได้ทั้งทางแพ่งและอาญาได้เช่นกัน

‘กฤษฎา’ ยุบริษัทฟ้องไม่เป็นธรรมถนนพาราซอยซีเมนต์ ด้านเยี่ยม ถาวโรฤทธิ์ รักษาการแทนผู้ว่าการการยางแห่งประเทศไทย (กยท.)กล่าวชี้แจงทำความเข้าในการสร้างถนนพาราซอยล์ซีเมนต์(ถนนดินผสมปูนซีเมนต์และน้ำยางสด) "โครงการ  1 หมู่บ้าน 1 กิโลเมตร" ว่า เกิดขึ้นมาเพื่อเป็นแนวทางหนึ่งในการเพิ่มปริมาณการใช้ยางในประเทศ เป้าหมายเพื่อทำให้ราคายางมีเสถียรภาพ และส่งผลดีต่อเกษตรกรชาวสวนยางโดยตรง ‘กฤษฎา’ ยุบริษัทฟ้องไม่เป็นธรรมถนนพาราซอยซีเมนต์

“จากที่ประชุมเมื่อวันที่ 11 มกราคม ที่ผ่านมาางผู้แทนสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) เห็นควรมีการรับรองคุณภาพมาตรฐานวัสดุที่ใช้ในการทำถนนพาราซอยล์ซีเมนต์ ซึ่งได้แก่ น้ำยางผสมสารผสมเพิ่มและสารผสมเพิ่ม เนื่องจากเป็นวัสดุชนิดใหม่และมีผลโดยตรงต่อมาตรฐานหรือข้อกำหนดของถนนชนิดนี้ เพื่อให้หน่วยงานที่เป็นผู้จัดจ้างทำถนน อาทิ กรมชลประทาน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น องค์การบริหารส่วนตำบล เป็นต้น ให้เกิดความเชื่อมั่นในคุณภาพวัสดุว่าจะเป็นไปตามคู่มือแนะนำการก่อสร้างถนนดินซีเมนต์ปรับปรุงคุณภาพด้วยยางธรรมชาติ สำหรับงานท้องถิ่นของกรมทางหลวง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์จึงตั้งคณะกรรมการขึ้นมาเพื่อพิจารณารับรองมาตรฐานวัสดุผลิตภัณฑ์ “น้ำยางพาราผสมสารผสมเพิ่ม” เจตนาเพื่อรับรองบริษัทที่มีผลงานเป็นมาตรฐานที่ยอมรับโดยทั่วกัน แต่มิได้บังคับให้ที่หน่วยงานใดจะต้องมาซื้อกับบริษัทที่ผ่านการรับรองจากคณะกรรมการชุดนี้”

‘กฤษฎา’ ยุบริษัทฟ้องไม่เป็นธรรมถนนพาราซอยซีเมนต์

ทั้งนี้ หากบริษัทใดสามารถผลิตน้ำยางพาราผสมสารผสมเพิ่ม ได้ตามมาตรฐานของหลักวิศวกรรมที่คู่มือกำหนดไว้ ไม่จำเป็นต้องผ่านการรับรองจากคณะกรรมการฯ สามารถให้หน่วยงานทางวิศวกรรมอื่นรับรองได้เช่นกัน ขึ้นอยู่กับการตกลงกันระหว่างคู่สัญญาในการจัดซื้อจัดจ้างงานก่อสร้างถนน และบริษัทจะไม่เสียสิทธิในการเสนอขายผลิตภัณฑ์ของตนเอง แต่สิ่งสำคัญคือจะต้องปฎิบัติให้เป็นไปตามระเบียบพัสดุฯ ที่กรมบัญชีกลางประกาศไว้ และถนนที่สร้างต้องได้คุณภาพตามมาตรฐานกรมทางหลวงกำหนดเท่านั้น

‘กฤษฎา’ ยุบริษัทฟ้องไม่เป็นธรรมถนนพาราซอยซีเมนต์

ด้านนายณกรณ์ ตรรกวิรพัท รองผู้ว่าการการยางแห่งประเทศไทย ด้านธุรกิจและปฏิบัติการ  กล่าวว่า การที่ส่งน้ำยางพาราไปส่งตรวจ ที่มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี นั้นเป็นไปตามคำแนะนำของผู้แทนของกรมทางหลวงที่นั่งอยู่ในคณะกรรมการ ซึ่งในขณะนั้นกรมทางหลวงชี้แจงว่ายังไม่มีความพร้อม จึงได้แนะนำมหาวิทยาลัยแห่งนี้ ซึ่งในบันทึกการประชุมก็มี ดังนั้น กยท.เพียงแต่ปฎิบัติตามคำแนะนำเท่านั้น