รัฐลั่นเก็บค่ารื้อถอนแสนล้าน2ยักษ์พลังงาน

12 ก.ค. 2562 | 06:00 น.

กระทรวงพลังงาน ยันเชฟรอน-โททาล ต้องจ่ายค่ารื้อถอนแท่นผลิตทั้งหมด เหตุกฎหมายระบุชัดกันผู้รับสัมปทานหนีต้องวางหลักประกัน

กรณีบริษัท เชฟรอน คอร์ปอเรชั่น ยักษ์ใหญ่ด้านพลังงานของสหรัฐอเมริกา และบริษัท โททาล ของฝรั่งเศสได้ส่งหนังสือมายังนายศิริ จิระพงษ์พันธ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เพื่อขอหารือในข้อกฎหมาย เกี่ยวข้องกับแผนงาน ประมาณการค่าใช้จ่ายและหลักประกันในการรื้อถอนแท่นผลิตปิโตรเลียมที่จะหมดอายุสัมปทานในช่วงปี 2565-2566  พร้อมขู่ว่าจะยืนฟ้องอนุญาโต ตุลาการ ที่ไม่ได้รับความเป็นธรรมถูกสั่งให้จ่ายค่ารื้อถอนแท่นผลิตทั้งหมด หลังสิ้นอายุสัมปทาน 

แหล่งข่าวจากกระทรวงพลังงาน เปิดเผยว่า ตามกฎหมายปิโตรเลียมที่มีอยู่ กำหนดให้เมื่อสิ้นสุดสัมปทานผู้รับสัมปทานจะต้องคืนสินทรัพย์ให้กับรัฐ และต้องจัดทำแผนงาน ประมาณการค่าใช้จ่ายและหลักประกันในการรื้อถอนแท่นผลิตปิโตรเลียม ส่งมายังกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ และให้มาวางหลักประกันค่ารื้อถอนแท่นผลิตภายใน 120 วัน นับจากที่ได้มีหนังสือแจ้งไป หรือครบกำหนดในเดือนตุลาคม 2562 นี้ ซึ่งผู้ประกอบการทั้ง 2 รายบ่ายเบี่ยงที่จะไม่ยอมวางหลักประกันค่ารื้อถอน ทั้งที่กฎหมายกำหนดไว้ และส่งหนังสือมาเพื่อขอเจรจากับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน พร้อมข่มขู่ หากการเจรจาไม่เป็นที่พอใจ ก็จะขอสงวนสิทธิ์และส่งเรื่องไปยังอนุญาโต ตุลาการเป็นผู้พิจารณา

ทั้งนี้ ตามพ.ร.บ.ปิโตรเลียม 2514 มาตรา 80/1 ก็ระบุอยู่แล้วว่า ผู้รับสัมปทานมีหน้าที่รับผิดชอบในการรื้อถอนสิ่งปลูกสร้าง วัสดุ อุปกรณ์ และสิ่งอำนวยความสะดวกในการสำรวจผลิต เก็บรักษาหรือขนส่งปิโตรเลียม โดยให้ผู้รับสัมปทานยื่นแผนงานและประมาณการค่าใช้จ่ายในการรื้อถอน ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไข และระยะเวลาที่กำหนดในกฎกระทรวง ซึ่งการออกกฎกระทรวงมีผลใช้บังคับเมื่อปี 2559 ก็เป็นการกำหนดหลักเกณฑ์ เงื่อนไข ให้มีความชัดเจนมากขึ้นจากกฎหมายแม่ จึงถือว่าไม่ได้เป็นการออกกฎหมายย้อนหลังแต่อย่างใด และทางกฤษฎีกาก็ตีความแล้วว่าสัญญาสัมปทานระหว่างคู่สัญญา จะมาอยู่เหนือพ.ร.บ. ปิโตรเลียมไม่ได้

รัฐลั่นเก็บค่ารื้อถอนแสนล้าน2ยักษ์พลังงาน

อีกทั้ง เงินค่าหลักประกันที่นำมาวางนี้ เพื่อเป็นการป้องกันผู้ประกอบการหนีหรือไม่ทำการรื้อถอนแท่นผลิตตามแผนงานที่วางไว้ แต่หากดำเนินงานได้จริงตามแผน สุดท้ายค่าหลักประกันก็จะคืนกลับไปยังผู้ประกอบการ

นางเปรมฤทัย วินัยแพทย์ อธิบดีกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ กล่าว ว่าขณะนี้ยังไม่ขอให้รายละเอียดมากนัก ซึ่งกรมได้ดำเนินงานตามขั้นตอนของกฎหมายที่มีอยู่ ในการส่งหนังสือให้ผู้รับสัมปทานปฏิบัติตาม ขณะที่การวางหลักประกันค่ารื้อถอน อาจจะใช้เหตุผลที่มีความแตกต่างกัน ซึ่งเป็นเรื่องที่จะต้องเจรจากัน

 

หน้า 1 ฐานเศรษฐกิจ ฉบับที่ 3,486 วันที่ 11 - 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2562

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

 

● ปตท.สผ.ดัมพ์ราคาก๊าซ 116 บาท/ล้านบีทียู ชนะเชฟรอนทั้งแหล่งเอราวัณ-บงกช

 

● 'เชฟรอน' ผิดหวังแพ้ประมูลเอราวัณและบงกช

 

● ปตท.สผ. กำ 1.2 แสนล้าน จ่อซื้อ "เชฟรอนไทย" ยกพวง

 

● ยึดปิโตรเลียม 3 แสนล้าน! PTTEP-มูบาดาลา-มิตซุยฯ แย่งซื้อ 'เชฟรอน'

 

● ผวาเชฟรอน ปลดพันคน แห่ซบปตท.

 

● สหรัฐฯ ย้ำความร่วมมือไทย ยันเชฟรอนไม่ถอนการลงทุน

 

● 2 ยักษ์พลังงานขู่ฟ้องอนุญาโตฯ ยื้อค่ารื้อถอนแสนล้าน

 

● กางพ...ปิโตรเลียม  อยู่เหนือสัญญาสัมปทาน

 

 ‘กุลิศ’ท้าชน ยักษ์เชฟรอน ค่า‘รื้อแท่น’

 

รัฐลั่นเก็บค่ารื้อถอนแสนล้าน2ยักษ์พลังงาน