เวนคืน”เส้นทางน้ำ”... ป้องน้ำท่วมเมือง

10 ก.ค. 2562 | 09:58 น.

จากกรณีสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ( สทนช. ) กำหนดออกแบบผังน้ำนำร่องในพื้นที่ลุ่มน้ำวัง ในปี 2562  ใช้เวลา 270 วัน และในปี 2563 จัดทำผังน้ำอีก 5 ลุ่มน้ำที่มีปัญหาวิกฤติบ่อย  จากนั้นทะยอยจัดทำจนครบทั้ง 22 ลุ่มน้ำนั้น

เวนคืน”เส้นทางน้ำ”... ป้องน้ำท่วมเมือง

นายสมเกียรติ ประจำวงษ์ เลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) ระบุว่า   แม่น้ำเจ้าพระยาและลำน้ำสาขาเริ่มตั้งแต่แม่น้ำปิง วัง ยม น่าน มาบรรจบกันเป็นแม่น้ำเจ้าพระยาที่จังหวัดนครสวรรค์ แล้วไหลผ่านเขื่อนเจ้าพระยาที่จังหวัดชัยนาท เหนือเขื่อนทดน้ำจะเป็นลำน้ำสาขาและคลองส่งน้ำแยกซ้ายขวาไปตามพื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยาฝั่งตะวันตกและฝั่งตะวันออก ก่อนไหลลงทะเล

อย่างไรก็ตามเส้นทางไหลของน้ำแสดงขอบเขตชัดเจน ตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงแหล่งน้ำและทะเลหรือทางน้ำระหว่างประเทศ ระบบทางน้ำครอบคลุมแม่น้ำ ห้วย หนอง คลอง บึง กุด ป่าบุ่ง ป่าทาม พื้นที่ชุ่มน้ำ พื้นที่แหล่งเก็บกักน้ำ พื้นที่ทางน้ำหลาก พื้นที่น้ำนอง พื้นที่ลุ่มต่ำ ไม่ว่าเกิดขึ้นตามธรรมชาติหรือมนุษย์สร้าง เป็นเส้นทางน้ำมีทั้งไหลตลอดเวลา หรือไหลบางช่วง นิยามผังน้ำ ตาม พรบ.น้ำ ล่าสุด

  เวนคืน”เส้นทางน้ำ”... ป้องน้ำท่วมเมือง

เวนคืน”เส้นทางน้ำ”... ป้องน้ำท่วมเมือง

เวนคืน”เส้นทางน้ำ”... ป้องน้ำท่วมเมือง

นายสมเกียรติ กล่าวต่อว่า ที่ผ่านมามีบางหน่วยงานจัดทำผังน้ำ เช่น กรมชลประทาน กรมโยธาธิการและผังเมือง  แต่ยังไม่ละเอียดพอคงต้องศึกษาต่อยอดเพิ่มเติมจากต่างประเทศที่เชี่ยวชาญเรื่องผังน้ำ โดยศึกษาทางเดินของน้ำ ซึ่งเป็นต้นเหตุที่ทำให้เกิดน้ำท่วม ไปจนถึงปลายทางคือ อ่าวไทย

สำหรับผลกระทบ พื้นที่เกษตรกรรม ตลอดจนบ้านเรือน  พื้นที่พาณิชยกรรม โรงงาน สร้างขวางทางน้ำ  จะพิจารณากำหนด ขอบเขต ว่า จะต้องชดเชย  กรณี สิ่งปลูกสร้างที่เกิดขึ้นก่อน แต่หาก บ้านปลูกสร้างภายหลัง จาก ผังน้ำประกาศเป็นพระราช(พรฏ) กฤษฎีกาบังคับใช้ จะต้อง ปฏิบัคติตาม ข้อกำหนดผังเมืองที่กรมโยธาธิการกำหนดเช่น ห้ามปลูกสร้างบ้านหรือ สร้างบ้านยกใต้ถุนสูงเป็นต้น    

 

 

 

 

 

 

เรื่องนี้ สทนช. ทำเพียงลำพังไม่ได้ ต้องอาศัยหน่วยงานต่างๆ เช่น คณะกรรมการลุ่มน้ำ หน่วยงานรัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นด้วย  ที่สำคัญ ต้องรับฟังเสียงประชาชน เพราะผังน้ำจะเสนอแนะข้อกำหนดการใช้ประโยชน์ที่ดินไม่ให้กระทบต่อเส้นทางน้ำ การบังคับใช้จะเป็นการรอนสิทธิ  ประชาชนจึงต้องมีส่วนรับรู้ด้วย ทั้งนี้เราเป็นหน่วยงานศึกษาออกแบบ และหน่วยงานอื่นเอาไปปฏิบัติตามผังน้ำ เป็นกฎหมายลูกสำหรับบริหารจัดการน้ำ  การออกแบบมีความสำคัญ นอกจากเพื่อบริหารจัดการน้ำแล้วยังกำหนดการใช้ประโยชน์ที่ดินระบุว่า ควรทำอะไร กระทั่งปลูกพืชอะไร และจะก่อสร้างอาคารแบบใดที่ให้เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมตามการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศด้วย

   เวนคืน”เส้นทางน้ำ”... ป้องน้ำท่วมเมือง

 “พูดง่าย ๆ ผังน้ำคือแผนที่เส้นทางน้ำจากต้นน้ำจนถึงทะเล ซึ่งจะช่วยให้การบริหารจัดการน้ำง่ายขึ้น เห็นภาพน้ำได้ทั้งระบบ และวางแผนป้องกันแก้ไขได้แต่เนิ่นๆ โดยใช้เครื่องมืออื่น เวนคืน”เส้นทางน้ำ”... ป้องน้ำท่วมเมือง

ประกอบด้วย เช่น การพยากรณ์อากาศของกรมอุตุนิยมวิทยา การบริหารจัดการน้ำในเขื่อน รวมถึงแหล่งน้ำธรรมชาติที่มีการพยากรณ์ระดับน้ำทะเลของกรมอุทกศาสตร์ทหารเรือ ภาพถ่ายทางอากาศดาวเทียมของ GISTDA เป็นต้น”

เวนคืน”เส้นทางน้ำ”... ป้องน้ำท่วมเมือง