ผลสำรวจชี้ชัดลงทุนเทคโนโลยีพกพาสร้างการเติบโตธุรกิจ

11 ก.ค. 2562 | 10:58 น.

ซีบรา เทคโนโลยีส์ เผยผลงานวิจัยเกี่ยวกับ อนาคตการปฏิบัติงานภาคสนาม (Future of Field Operations)  ว่าองค์กรด้านการขนส่งในเอเชียแปซิฟิกกว่า 60% จะเพิ่มการลงทุนด้านเทคโนโลยีอุปกรณ์พกพามากขึ้น  โดยผลงานวิจัยจากซีบรายังชี้ให้เห็นว่าการลงทุนนั้นจะมุ่งเน้นไปทางด้านเทคโนโลยีเปลี่ยนโลก และในอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์แบบพกพาระดับใช้งานในองค์กร

  ผลสำรวจชี้ชัดลงทุนเทคโนโลยีพกพาสร้างการเติบโตธุรกิจ

มร. ทาน อิ๊ก จิน, ผู้จัดการฝ่ายเวอร์ติคอลโซลูชั่น อุตสาหกรรมการผลิต การขนส่ง และโลจิสติกส์ ประจำเอเชียแปซิฟิก, ซีบรา เทคโนโลยีส์ กล่าวว่า “การเติบโตอย่างรวดเร็วของธุรกิจอีคอมเมิร์ซ ส่งผลให้ความคาดหวังของผู้บริโภคเพิ่มสูงขึ้นเมื่อสั่งสินค้า การยกระดับการบริการภาคสนามให้แตกต่างจากคู่แข่งกลายเป็นปัจจัยสำคัญของการดำเนินธุรกิจ ด้วยเหตุนี้เอง ธุรกิจจึงเริ่มปรับเปลี่ยนมุมมองด้านการลงทุนโดยหันมาให้ความสำคัญกับอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์แบบพกพามากขึ้น โดยงานวิจัยของเราแสดงให้เห็นว่า ความท้าทายภายใต้ระบบเศรษฐกิจที่แปรผันตามความต้องการตลาด เป็นตัวกระตุ้นให้องค์กรต้องนำเทคโนโลยีใหม่ๆ เช่น เทคโนโลยีภาพเสมือนจริง (AR) และระบบฉลากบรรจุภัณฑ์อัจฉริยะ (intelligent labels) มาปรับใช้ เพื่อยกระดับการทำงานให้ทันสมัย”

 

 

 

 

 

 

ผลสำรวจชี้ชัดลงทุนเทคโนโลยีพกพาสร้างการเติบโตธุรกิจ

นายศิวัจน์ โรจนเต็มศักดิ์ ผู้จัดการประจำประเทศไทย, ซีบรา เทคโนโลยีส์ กล่าวว่า “จากผลสำรวจของเราพบว่า 3 สิ่งหลักที่ส่งผลให้องค์กรด้านการขนส่งทั่วเอเชียแปซิฟิกต้องปรับเปลี่ยนการให้บริการเนื่องจาก ความคาดหวังเรื่องประสิทธิภาพและบริการที่ได้รับผู้ของบริโภคในยุคปัจจุบันเพิ่มสูงขึ้น  เทรนด์การใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์แบบพกพาแทนการใช้กระดาษได้รับความนิยมมากขึ้น และการเกิดขึ้นของเทคโนโลยีใหม่และระบบเครือข่ายที่มีความรวดเร็วมากยิ่งขึ้น   มากกว่าครึ่งขององค์กรในเอเชียแปซิฟิกให้ความสำคัญกับการนำอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์แบบพกพาระดับใช้งานในองค์กรมาใช้เป็นอันดับหนึ่ง โดยองค์กรที่มีความคิดก้าวหน้าเหล่านี้ใช้ 3 กลยุทธ์ในการสร้างความแตกต่าง กล่าวคือ องค์กรเหล่านี้จะมีการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีตามความเหมาะสมและสนับสนุนการใช้เทคโนโลยีอย่างทั่วถึงทั้งองค์กร องค์กรเหล่านี้จะทำการวิเคราะห์ต้นทุนการเป็นเจ้าของ (TCO) เทคโนโลยีอย่างสม่ำเสมอ ท้ายสุดคือองค์กรเหล่านี้จะใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีให้ได้ประสิทธิภาพสูงสุดในการปฏิบัติงานเพื่อสร้างข้อได้เปรียบทางธุรกิจ”

จากรายงานยังมีผลสำรวจที่น่าสนใจได้แก่;การให้พนักงานที่ลงพื้นที่ปฏิบัติงานใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์แบบพกพาระดับใช้งานในองค์กร ถือเป็นปัจจัยสำคัญในการเตรียมพร้อมสำหรับการแข่งขันทางธุรกิจ โดย 44% ขององค์กรในเอเชียแปซิฟิก ให้ความสำคัญกับการลงทุนในด้านอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์แบบพกพา   , 58% ขององค์กรในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ขยายการใช้เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์แบบพกพาให้ทั่วถึงในทุกส่วนขององค์กร และมีแนวโน้มที่จะแพร่หลายไปยังองค์กรอื่นๆมากถึง 97% ของภูมิภาค ในปี 2023   และผลสำรวจคาดการณ์ว่า ในระหว่างปี 2018 จนถึงปี 2023 อัตราส่วนการใช้งานคอมพิวเตอร์พกพาที่มาพร้อมเครื่องสแกนบาร์โค้ดในตัวจะเพิ่มสูงขึ้นถึง 41 % ส่วนการใช้เครื่องพิมพ์พกพาและแท็บเล็ตสำหรับงานภาคสนาม มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น 60 %และ 57 %ตามลำดับ ซึ่งความถูกต้องแม่นยำต่อการจัดการสินค้าในคลัง การจัดส่ง และในการตรวจสอบสินค้าคงคลังจะช่วยสร้างรายได้ให้แก่องค์กรเพิ่มขึ้น

 

การบริการและการสนับสนุนดูแลหลังการขายเป็นปัจจัยสำคัญที่องค์กรคำนึงถึงเมื่อนำอุปกรณ์พกพามาปรับใช้กับพนักงานผู้ปฏิบัติงาน องค์กรในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกที่ให้ความสำคัญกับการใช้เทคโนโลยีพกพาสำหรับการทำงานกว่า 83% จะทำการวิเคราะห์ต้นทุนการเป็นเจ้าของ (TCO) ก่อนการวิเคราะห์รายจ่ายการลงทุนในเทคโนโลยี  มีเพียง 34% ของผู้ตอบแบบสอบถามเท่านั้น ที่เชื่อว่าสมาร์ทโฟนที่ใช้งานได้ทั่วไปมี TCO สูงกว่าสมาร์ทโฟนและแท็บเล็ตระดับใช้งานในองค์กร

 

การเกิดขึ้นของเทคโนโลยีใหม่ๆ และเครือข่ายเชื่อมต่อที่เร็วยิ่งขึ้น ส่งผลต่อการปฏิบัติงานภาคสนาม โดยองค์กรที่ให้ความสำคัญกับการใช้เทคโนโลยีพกพาสำหรับการทำงานมีแนวโน้มที่จะนำเทคโนโลยีใหม่ๆมาใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานเร็วกว่าองค์กรอื่นๆ   มีการคาดการณ์ว่าองค์กรที่ให้ความสำคัญกับการใช้เทคโนโลยีพกพาสำหรับการทำงานมีแนวโน้มดังต่อไปนี้ คือหันมาใช้งานระบบเซนเซอร์ เทคโนโลยีการระบุเอกลักษณ์ด้วยคลื่นวิทยุ (RFID) และระบบฉลากบรรจุภัณฑ์อัจฉริยะเพิ่มมากขึ้น จาก 76% ในปี 2018 เป็น 98% ในปี 2023  นำเทคโนโลยีภาพเสมือนจริง (AR) มาใช้ในการปฏิบัติงานเพิ่มมากขึ้น จาก 68% ในปี 2018 เป็น 95% ในปี 2023  ซึ่งจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดการรายละเอียดขั้นตอนการทำงานให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยเฉพาะในส่วนของการจัดการสินค้า  และเพิ่มการใช้ Blockchain เพื่อควบคุมข้อมูลสินค้า หรือเอกสารจากบริษัทคู่ค้า  โดยคาดว่าจะเพิ่มขึ้นจาก 68% ในปี 2018 เป็น 96% ในปี 2023