‘TOT-CAT’ ดับเครื่องชน ท่อร้อยสายกทม.

21 ก.ค. 2562 | 09:30 น.

ไขปริศนากลุ่มผู้ประกอบการโทรคมฯ เมินเข้าร่วมประมลูท่อร้อยสาย ชี้ ทีโออาร์ล็อกสเปกกันเอกชนรายกลาง-เล็กเข้าร่วมเหตุกำหนดรายได้ 3 ปีย้อนหลังไม่ตํ่ากว่า 8 พันล้าน แถมสุ่มเสี่ยงเลี่ยง พ.ร.บ.ร่วมทุน คัดเลือกผู้รับจ้างวิศวกรรม ก่อสร้างทำให้ค่าลงทุนแพง

 

“เรารู้ที่ไหน เงื่อนไขเป็นแบบไหน แคท (บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน)) ก็ยังไม่รู้เรื่องทีโออาร์เลย” นายมนต์ชัย หนูสง กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) เปิดเผย “ฐานเศรษฐกิจ”ถึงกรณีบริษัท กรุงเทพธนาคมฯ วิสาหกิจของกรุงเทพมหานคร(กทม.) ออกมาระบุว่าได้เชิญชวนเอกชนหลายรายให้เข้ามาร่วมประมูลโครงการท่อร้อยสายสื่อสารใต้ดิน วงเงิน 25,000 ล้านบาท ดำเนินโครงการระยะเวลา 30 ปี แต่ปรากฏว่ามีผู้ยื่นข้อเสนอเพียงรายเดียวคือคัดเลือกบริษัท ทรู อินเตอร์เน็ตคอร์ปอเรชั่น จำกัด

 

ขณะที่ผู้ประกอบการโทรคมนาคมรายอื่นให้ความคิดเห็นไปในทิศทางเดียวกันว่า โครงการนี้มีการกำหนดเงื่อนไขการประมูลในลักษณะที่เรียกว่า “ถูกล็อกเอาไว้” รวมทั้งยังไม่มีการทำประชาพิจารณ์เหมือนกับโครงการประมูลภาครัฐโครงการอื่น เพราะกทม.มอบอำนาจให้บริษัท กรุงเทพธนาคมฯเป็นผู้ดำเนินการ

 

นอกจากนี้ในทีโออาร์ ยังระบุผู้ยื่นเงื่อนไขมีรายได้ 8,000 ล้านบาท ทำให้เกิดข้อจำกัดให้เอกชนรายกลางและเล็กไม่สามารถเข้าร่วมประมูลได้ เหมือนเปิดทางให้ผู้ประกอบการขนาดใหญ่ยื่นเงื่อนไขได้เท่านั้นที่สำคัญโครงการท่อร้อยสายพยายามหลีกเลี่ยง พระราชบญัญญัติการร่วมลงทุนระหว่างรัฐกับเอกชน พ.ศ.2562 ด้วยการ ให้บริษัทกรุงเทพธนาคมฯเป็นผู้ดำเนินการ เพราะหาก กทม.ดำเนินการเองจะต้องทำตาม พ.ร.บ.ร่วมทุน

 

“โครงการนี้หลักการไม่ถูกต้อง เพราะโครงการเป็นของรัฐ ดังนั้นรัฐต้องให้บริการเอง แต่กลับไปให้เอกชนมาดำเนินการต่อและขายให้คนอื่น ต้นทุนก็ไม่เท่ากันอยู่แล้วในอดีต ทีโอที ทำเองและก็บริหารจัดการเองทั้งหมด” แหล่งข่าววงการโทรคมนาคมให้ความเห็น

‘TOT-CAT’ ดับเครื่องชน  ท่อร้อยสายกทม.

 

 

“ฐานเศรษฐกิจ” ตรวจสอบเอกสารเชิญชวนยื่นข้อเสนอ (Request for Proposal: RFP) เพื่อคัดเลือกผู้ใช้บริการโครงข่ายสื่อสารโทรคมนาคม โครงการนำสายสื่อสารลงใต้ดินในพื้นที่กรุงเทพมหานคร พบว่า กรุงเทพธนาคม ได้กำหนดคุณสมบัติพื้นฐานด้านการเงิน (Financial Qualification) ของเอกชนที่จะเข้าร่วมประมูลในเอกสารว่า จะมีมูลค่าสินทรัพย์สุทธิ (Net Worth:Total Assets - Total Liabilities) แต่ละรายปีเป็นบวกในรอบปีบัญชี 2559 2560 และ 2561 อีกทั้งมีมูลค่าไม่ตํ่ากว่า 600 ล้านบาทในรอบปีบัญชีล่าสุด และต้องมีทุนจดทะเบียนไม่น้อยกว่า 100 ล้านบาท มีรายได้ (Revenue) เฉลี่ยย้อนหลัง 3 ปี ในรอบปีบัญชี 2559 2560 และ 2561 ไม่ตํ่ากว่า 8,000 ล้านบาท รวมทั้งยังกำหนดให้ผู้ยื่นข้อเสนอจะต้องวางหลักประกันซองพร้อมกับการยื่นข้อเสนอ เป็นจำนวนเงิน 500 ล้านบาท

 

ขณะเดียวกันยังกำหนดให้เอกชนที่ยื่นประมูลจะต้องแสดงหลักฐานงบการเงินที่ได้รับการตรวจสอบ (Audited) โดยผู้สอบบัญชีรับอนุญาตในรอบระยะเวลา 3 ปีล่าสุด และหลักฐานการชำระภาษีของสมาชิกที่เป็น นิติบุคคลไทยทุกรายในรอบระยะเวลา 3 ปีล่าสุดล่าสุดเมื่อวันนี้ 19 กรกฎาคมที่ผ่านมา สหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจ บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) หรือ แคท ได้ยื่นหนังสือถึงพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีขอให้พิจารณาโครงการ “ท่อร้อยสายสื่อสารลงใต้ดิน” ของกรุงเทพมหานครที่ให้บริษัทเอกชน ได้รับสิทธิบริการโครงข่ายท่อร้อยสายสื่อสารใต้ดิน เป็นเวลา 30 ปี เพียงรายเดียว มูลค่า 25,000 ล้านบาท

หน้า 1 ฐานเศรษฐกิจ ฉบับ 3489 วันที่ 21-24 กรกฎาคม 2562

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

● คุ้ยหลักฐาน กทม.ส่อพิรุธท่อร้อยสาย

● สมเกียรติอัด กทม.ให้เอกชนผูกขาดท่อร้อยสาย

● แจงสัมปทานท่อร้อยสาย 2หมื่นล้าน30ปีโปร่งใส

● จี้รื้อสัมปทานทรู’ บิ๊กสื่อสารรุมต้านผูกขาด30ปีท่อร้อยสาย

● เปิดปูมท่อร้อยสาย 2หมื่นล้าน

● ทรูร่อนหนังสือแจงยังไม่ลงนามสัญญาท่อร้อยสายกทม.

● เบื้องหลังกทม.หักดิบ ยึดโครงการท่อร้อยสาย2หมื่นล.

● 6ยักษ์สื่อสารจี้นายกฯ เบรกท่อร้อยสายกทม.2หมื่นล.

● ท่อร้อยสายวุ่น จ่อรื้อสัญญาทรู

● ไขปม ท่อร้อยสาย ให้สิทธิ์เอกชน80%ไม่ผูกขาด

● ใคร...ลุยไฟ ใช้เงิน2.5หมื่นล้าน เพื่อสัมปทานท่อร้อยสาย 30ปี

● บิ๊กกรุงเทพธนาคม โต้ทุกข้อกล่าวหา ท่อร้อยสายสื่อสาร 2 หมื่นล้าน

● กทม.ลักไก่ ท่อร้อยสาย ไร้ราคากลาง

● ท่อร้อยสายใต้ดิน โอนผูกขาด อำนาจรัฐสู่เอกชน

● รสนาชี้ทิ้งทวนท่อร้อยสาย ก่อนหมดวาระผู้ว่าฯกทม

● ชำแหละผูกขาด ท่อร้อยสาย 2.5 หมื่นล้าน

● กสทช.สั่งรื้อโครงการท่อร้อยสายกทม.

● จ่อฟันโครงการท่อร้อยสาย ชี้ขัดรัฐธรรมนูญมาตรา 50 จัดการแน่!

‘TOT-CAT’ ดับเครื่องชน  ท่อร้อยสายกทม.