ชงรมต.ใหม่แก้กฎหมาย สางหนี้เกษตรกร 8.9 หมื่นล้าน

26 ก.ค. 2562 | 05:30 น.

 

ปิดบัญชีคสช.ซื้อหนี้เกษตรกรหลังใช้ .44 ยุบบอร์ด ตั้งคณะกรรมการเฉพาะกิจบริหารช่วง 2 รัฐมนตรีเกษตรฯ ฉัตรชัย-กฤษฎาโชว์ผลงานแก้หนี้ได้กว่า 324 ล้าน ด้านบอร์ดใหม่ยังเคว้ง รอ เฉลิมชัยลงนามรับรอง พร้อมชงแก้กฎหมาย ปลดล็อกแก้หนี้ 8.9 หมื่นล้านได้ฉลุย

เมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม 2560 เว็บไซต์ ราชกิจจานุเบกษาได้เผยแพร่ คำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 26/2560 เรื่อง การแก้ไขปัญหาการดำเนินงานของกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 265 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ประกอบกับมาตรา 44 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2557 หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติปลดบอร์ดและแต่งตั้งคณะกรรมการกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรเฉพาะกิจ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นประธานกรรมการ       

 

ชงรมต.ใหม่แก้กฎหมาย  สางหนี้เกษตรกร  8.9 หมื่นล้าน

 

แหล่งข่าวจากกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เผยกับ ฐานเศรษฐกิจว่า สำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร (กฟก.) ได้ขึ้นทะเบียนหนี้เกษตรกร (ข้อมูล วันที่ 28 .. 62) จำนวน 5.2 แสนราย 6.74 แสนบัญชี จำนวนเงิน 8.93 หมื่นล้านบาท ผลการดำเนินงานในช่วงรัฐบาล คสช.หลังใช้ .44 ภายใต้คณะทำงานเฉพาะกิจ ได้มีการชำระหนี้แทนเกษตรกรจำนวน 833 ราย เป็นเงินทั้งสิ้น 324.10 ล้านบาท (กราฟิกประกอบ) ยังมีหนี้เร่งด่วน 7,930 ราย เจ้าหนี้ยอมชะลอการดำเนินการทางกฎหมาย 2,299 ราย ส่วนหนี้นอกหลักเกณฑ์ ได้แก่ หนี้เกิน 2.5 ล้านบาท วัตถุประสงค์การกู้ไม่ใช่เพื่อการเกษตร จำนวน 244 ราย มูลหนี้กว่า 1,779 ล้านบาท ทางคณะกรรมการฯ ได้มีการแต่งตั้งคณะอนุกรรมการประสานเจรจา เพื่อยกร่างเสนอเข้าโครงการเพื่อของบประมาณรัฐ แต่ไม่ทัน เนื่องจากคณะกรรมการสิ้นสุดลง และอยู่ในช่วงเวลาเปลี่ยนผ่านสู่รัฐบาลใหม่

ด้านนายยศวัจน์ ชัยวัฒนสิริกุล ว่าที่บอร์ดบริหารกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร (กฟก.) เผยว่า ทางองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) มีการรับรองรายชื่อเกษตรกรส่งมาให้ส่วนกลางแล้ว แต่ยังรอนายเฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์คนใหม่ลงนาม คาดจะลงนามรับรองได้หลังวันที่ 25 กรกฎาคมนี้ที่รัฐบาลจะแถลงนโยบาย และมีการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.)       

 

ปัญหาเร่งด่วนที่ต้องรีบทำคือ การแก้ไข ...กองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร ..2542 มาตรา 37/9 ปรับปรุงแก้ไข วรรค 2 กำหนดไว้ว่า เมื่อกองทุนฟื้นฟูชำระหนี้แทนให้เกษตรกรรายใดแล้วให้ใช้ทรัพย์สินหลักคํ้าประกันของเกษตรกรตกเป็นของกองทุน ให้เช่าซื้อ เช่า ตามเงื่อนไขของคณะกรรมการกำหนด ตีความได้ว่าเป็นหนี้ที่ใช้บุคคลคํ้าประกันไม่ได้ ดังนั้นจะต้องแก้ไขให้กองทุนชำระหนี้ได้

ส่วนมาตรา 23 ให้กองทุนฟื้นฟูฯ มีสำนักงานใหญ่อยู่ในกรุงเทพฯและอาจตั้งสาขา ที่อื่นตามความจำเป็นได้ เรื่องนี้สมาชิกกองทุนส่วนใหญ่ไม่ได้อยู่ในกรุงเทพฯ ต้องแก้ไขเรื่องนี้จะได้ไม่ต้องเสียค่าเช่าที่สำนักงานสูงถึงเดือนละ 1 ล้านบาท เช่น อาจเช่าพื้นที่ราชพัสดุในราคาถูก หรือสร้างสำนักงานใหม่ตามที่คณะกรรมการกำหนด ส่วนเรื่องวาระของผู้แทนเกษตรกรในคณะกรรมการกองทุนฯไม่เป็นสากล จะต้องแก้ไขกฎหมายใหม่ให้อยู่คราวละ 4 ปี ได้ประหยัดงบในการเลือกตั้งตัวแทน จากการเลือกตั้งครั้งที่ผ่านมาใช้เงินถึง 81 ล้านบาท

ตัวเต็งที่จะได้เป็นประธานกรรมการบริหารกองทุนฟื้นฟูฯได้มีการพูดคุยภายในกับพรรคประชาธิปัตย์แล้วว่า ต้องการให้เราเข้าไปเป็นนายทัพ เขาก็ยอมรับว่าไม่อยากสูญพันธุ์ อยากจะแจ้งเกิดใหม่อีกครั้ง ก็ตั้งคำถามว่าจะทำอย่างไรที่จะให้พรรคประชาธิปัตย์มีคะแนนเสียงในหมู่เกษตรกร ก็ต้องประกาศเป็นนโยบายซื้อหนี้ยกเข่ง และยกให้เป็นผลงานรัฐมนตรีเกษตรฯ คนใหม่เลย

 

หน้า 13 หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 39 ฉบับที่ 3,490 วันที่ 25-27 กรกฎาคม 2562

ชงรมต.ใหม่แก้กฎหมาย  สางหนี้เกษตรกร  8.9 หมื่นล้าน