ซีพีเอฟ หนุน ม.ขอนแก่น เลี้ยงไก่ไข่ระบบโรงเรือนอัจฉริยะ

28 ก.ค. 2562 | 12:20 น.

คณะเกษตรศาสตร์ ม.ขอนแก่น หนุนระบบโรงเรือนอัจฉริยะ ซีพีเอฟ ร่วมพัฒนาระบบการเลี้ยงไก่ไข่อัจฉริยะด้วยเทคโนโลยี IOT ขับเคลื่อนการเกษตรด้วยนวัตกรรม ใช้เป็นแหล่งเรียนรู้พัฒนาบุคลากรยุค 4.0

  ซีพีเอฟ หนุน ม.ขอนแก่น เลี้ยงไก่ไข่ระบบโรงเรือนอัจฉริยะ

ศ.ดร.มนต์ชัย ดวงจินดา คณบดี คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น เผยว่า ม.ขอนแก่น ร่วมกับ  ซีพีเอฟ ต่อยอดความสำเร็จด้านความร่วมมือทางวิชาการสู่ “ระบบโรงเรือนอัจฉริยะ Smart iFarm” ศึกษาและพัฒนาอุปกรณ์ควบคุมอัตโนมัติและเทคโนโลยีสารสนเทศติดตั้งในโรงเรือนการเลี้ยงไก่ไขในระบบปิดแบบอัตโนมัติเต็มรูปแบบ เพื่อใช้เป็นห้องเรียนสำหรับนักศึกษา และเกษตรกรที่สนใจ เตรียมความพร้อมบุคลากรก้าวสู่เกษตรทันสมัย

ซีพีเอฟ หนุน ม.ขอนแก่น เลี้ยงไก่ไข่ระบบโรงเรือนอัจฉริยะ

“ขอขอบคุณซีพีเอฟที่ให้ความสำคัญกับการพัฒนาการศึกษาและสนับสนุนมหาวิทยาลัยมาโดยตลอด โดยเฉพาะระบบ Smart farm ที่บริษัทให้การสนับสนุนในครั้งนี้ จะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อการเรียน การสอน และการค้นคว้าวิจัยด้านการศึกษา ที่สำคัญจะเป็นต้นแบบระบบโรงเรือนอัจฉริยะที่ให้บุคลากรทางการศึกษาได้ใช้เรียนรู้เทคโนโลยีการผลิตไก่ไข่ เพื่อถ่ายทอดให้แก่เกษตรกรและผู้ประกอบการต่อไป” ศ.ดร.มนต์ชัย กล่าว

ซีพีเอฟ หนุน ม.ขอนแก่น เลี้ยงไก่ไข่ระบบโรงเรือนอัจฉริยะ

คณะเกษตรศาสตร์ ม.ขอนแก่น ร่วมกับ ซีพีเอฟ ดำเนินโครงการความร่วมมือทางวิชาการและกิจการเพื่อสังคมมาอย่างต่อเนื่องนับตั้งแต่ปี 2539 เป็นต้นมา ต่อมา ในปี 2560 บริษัทได้สนับสนุนการก่อสร้างโรงเรือนเลี้ยงไก่ไข่ความจุ 20,017 ตัว เป็นศูนย์เรียนรู้ฟาร์มปศุสัตว์ให้แก่นักศึกษาและผู้ที่สนใจ ล่าสุด บุคลากรของคณะฯ และซีพีเอฟร่วมกันศึกษาและติดตั้งระบบควบคุมอัตโนมัติในโรงเรือนเลี้ยงไก่ไข่

ซีพีเอฟ หนุน ม.ขอนแก่น เลี้ยงไก่ไข่ระบบโรงเรือนอัจฉริยะ

โรงเรือนเลี้ยงไก่ไข่อัจฉริยะของคณะเกษตรฯ​ ม.ขอนแก่น มีเป้าหมายเพิ่มปริมาณไข่ไก่ 10 ฟอง/ตัว/รุ่น หรือประมาณ 200,000 ฟอง/รุ่น และคาดว่าจะช่วยลดต้นทุนการผลิตได้ประมาณร้อยละ 10 หรือประมาณ 0.23 บาท/ฟอง ที่สำคัญ SMART iFarm ถือเป็นสถานที่เรียนรู้และฝึกฝนความรู้ด้านเทคโนโลยี 4.0 ในภาคเกษตรกรรมแก่บุคลากรรุ่นใหม่ที่ออกมาสู่ธุรกิจและพร้อมทำงานทันที

ซีพีเอฟ หนุน ม.ขอนแก่น เลี้ยงไก่ไข่ระบบโรงเรือนอัจฉริยะ

ด้าน นายเรวัติ หทัยสัตยพงษ์ รองกรรมการผู้จัดการบริหาร ธุรกิจอาหารสัตว์บก ซีพีเอฟ กล่าวว่า ซีพีเอฟให้ความสำคัญกับการพัฒนาด้านการศึกษา การสนับสนุนการสร้าง SMART iFarm เป็นต้นแบบของโรงเรือนเลี้ยงไก่ไข่อัจฉริยะ นำเทคโนโลยี IOT มาใช้ในกระบวนการบริหารจัดการภายในฟาร์มแบบเต็มรูปแบบ ตั้งแต่กระบวนการเลี้ยง การลำเลียงไข่ไก่ด้วยรางอัตโนมัติ ใช้เซ็นเซอร์ในการนับจำนวนไข่ รวมถึงการคัดขนาดไข่ไก่ ซึ่งสั่งการผ่านระบบอินเตอร์เน็ททั้งหมด เพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการเลี้ยงและลดต้นทุนให้กับโครงการฯ ที่สำคัญ โรงเรือนเลี้ยงไก่ไข่อัจฉิรยะจะเป็นห้องเรียนรู้และฝึกทักษะบุคลากรทางการศึกษาทั้งด้านปศุสัตว์และเทคโนโลยี ตอบสนองความต้องการของภาคอุตสาหกรรม