คำต่อคำ “ณพรัตน์” เปิดใจเคลียร์ฮั้วประมูลถนนยางพารา

03 ส.ค. 2562 | 09:35 น.

โครงการ 1 หมู่บ้าน 1 กม. แป็ก 3 บริษัท ซิวโควตาไม่ถึง 100 ตัน โครงการเพิ่งเริ่มต้น ที่เหลือยังอยู่ระหว่างดำเนินการ “ณพรัตน์” ยันทำตามกติกา แต่ก็ข้องใจ ทราบผลก่อนแจ้งประกาศไม่ผ่านมาตรฐาน แล้วจะให้ลัดขั้นตอนตรวจใหม่ทันทีไม่ได้ ต้องแจ้งคณะกรรมการก่อนฯ เพราะหากทำอย่างนั้นเข้าข่ายเอื้อบริษัท หากผู้ผลิตใด อยากขึ้นบัญชีขายน้ำยางพาราผสมสารผสมเพิ่ม (NR Preblend) เพื่อให้เป็น 1 ในตัวเลือก สามารถยื่นคำขอ และผลิตให้ได้มาตรฐานเป็นไปตามเกณฑ์ในคู่มือฯ ก็สามารถทำได้

 

เกิดอะไรขึ้น? หลายคนกังขาที่เห็น น.ส.ช่อฉัตร โตชูวงศ์ อ้างตัวว่าเป็นผู้เปิดโปงการทุจริตการรับรองมาตรฐานวัสดุน้ำยางพาราผสมสารผสมเพิ่มและสารผสมเพิ่ม ในโครงการ ถนนยางพารา 1 หมู่บ้าน 1 กม. ยื่นฟ้องเอาผิด การยางแห่งประเทศไทย (กยท.) ที่เอื้อประโยชน์ให้ 3 บริษัทที่เป็นกลุ่มเดียวกันเดินสายฟ้องรายวัน ล่าสุด (วันที่ 31 ก.ค.62) ที่ ศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบกลาง “ฐานเศรษฐกิจ” สัมภาษณ์พิเศษ “ณพรัตน์ วิชิตชลชัย” รองผู้ว่าการการยางแห่งประเทศไทย ด้านอุตสาหกรรมยางและการผลิตยาง เป็นหนึ่งในคณะกรรมการพิจารณาการรับรองมาตรฐานวัสดุน้ายางพาราสารผสมเพิ่มและสารผสมเพิ่มส้าหรับการก่อสร้างถนนดินซีเมนต์ปรับปรุงคุณภาพด้วยยางธรรมชาติ อย่างตรงไปตรงมา

 

++พลิกปูมหลัง

คำต่อคำ “ณพรัตน์” เปิดใจเคลียร์ฮั้วประมูลถนนยางพารา

นางณพรัตน์ กล่าวว่า โครงการ "1 หมู่บ้าน 1 กิโลเมตร" เป็นอีกหนึ่งโครงการตามนโยบายแก้ปัญหายางพาราของรัฐบาล จะมีระยะทางรวม 7.5 หมื่นกิโลเมตร คาดว่าจะใช้น้ำยางสดในปริมาณ 1.44 ล้านตัน หรือคิดเป็นน้ำยางข้น 7.2 แสนตัน มีมูลค่ากว่า 1.63 หมื่นล้านบาท เป้าหมายเพื่อเพิ่มการใช้ยางในประเทศและช่วยแก้ปัญหาราคายางตกต่ำนั้น ใช้งบประมาณจากเงินสะสมขององค์กรปกครองท้องถิ่น (อปท.) โดยมีการแจกคู่มือฯ และมีการประชุม อปท.ทั่วประเทศเมื่อวันที่ 11 มกราคม ที่ผ่านทางผู้แทนสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) เห็นควรมีการรับรองคุณภาพมาตรฐานวัสดุที่ใช้ในการทำถนนพาราซอยซีเมนต์ ซึ่งได้แก่ น้ำยางผสมสารผสมเพิ่ม และสารผสมเพิ่ม

คำต่อคำ “ณพรัตน์” เปิดใจเคลียร์ฮั้วประมูลถนนยางพารา

“เนื่องจากเป็นวัสดุชนิดใหม่และมีผลโดยตรงต่อมาตรฐานหรือข้อกำหนดของถนนชนิดนี้ เพื่อให้หน่วยงานที่เป็นผู้จัดจ้างทำถนน อาทิ กรมชลประทาน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น องค์การบริหารส่วนตำบล เป็นต้น ให้เกิดความเชื่อมั่นในคุณภาพวัสดุว่าจะเป็นไปตามคู่มือปฏิบัติงานการควบคุมคุณภาพและการรับรองมาตรฐานวัสดุสาหรับงานก่อสร้างถนนดินซีเมนต์ปรับปรุงคุณภาพด้วยยางธรรมชาติ (ยางพารา) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จึงตั้งคณะกรรมการฯ ขึ้นมาเพื่อพิจารณารับรองมาตรฐานวัสดุผลิตภัณฑ์ “น้้ายางพาราผสมสารผสมเพิ่ม และสารผสมเพิ่ม” เจตนาเพื่อรับรองบริษัทที่ผลิตวัสดุดังกล่าวให้มีคุณภาพเป็นมาตรฐานที่ยอมรับโดยทั่วกัน แต่มิได้บังคับให้ที่หน่วยงานใดจะต้องมาซื้อกับบริษัทที่ผ่านการรับรองจากคณะกรรมการฯชุดนี้”

คำต่อคำ “ณพรัตน์” เปิดใจเคลียร์ฮั้วประมูลถนนยางพารา

++เพิ่งขายได้ไม่ถึง 100 ตัน

ปัจจุบันโครงการ 1 หมู่บ้าน 1 กม. เพิ่งขายได้ไม่ถึง 100 ตัน เลยที่ผ่านการรับรองจาก 3 บริษัท ส่วนผู้ที่ไปร้องไม่ทราบเหตุผลว่าไปร้องทำไม เนื่องจากช่วงนี้โครงการเพิ่งเริ่มต้น และอยู่ระหว่างดำเนินการ ดังนั้นหากบริษัทที่เดินสายร้องเรียนมาปรับปรุงคุณภาพของน้ำยางผสมสารผสมเพิ่มให้เป็นไปตามคู่มือฯ ให้ผ่านเช่นเดียวกับอีก 1 บริษัทที่ไม่ผ่านพร้อมกัน ซึ่งเขาก็ได้มายื่นเรื่องใหม่มีการเก็บตัวอย่างไปตรวจแล้ว กำลังทดสอบ และรอผล

คำต่อคำ “ณพรัตน์” เปิดใจเคลียร์ฮั้วประมูลถนนยางพารา

++ยันมาตรฐานกำกับดูแลเข้ม

อย่างไรก็ตามนางณพรัตน์ กล่าวในตอนท้ายว่า กยท.ยังเปิดอบรมเหมือนเป็นที่ปรึกษาให้ว่าจะทำมาตรฐานอย่างไรเพื่อให้ผ่านการรับรอง แต่บริษัทดังกล่าวก็ไม่มา จะให้ทำอย่างไร สุดท้ายที่ต้องการฟ้องก็เพื่อให้ล้มกระดาน แล้วยกเลิกคณะกรรมการฯ ยกเลิกประกาศฯ ทั้งหมด เพราะเดิมที่บริษัทดังกล่าวอ้างใช้ข้อกำหนดพิเศษที่ สว.พิเศษ 1/2560 ไม่มีการควบคุมคุณภาพ แค่เอาน้ำยาไปส่ง แล้วกรมทางหลวงก็บอกว่าผ่าน แค่ครั้งเดียว ใช้มาตลอด ผลิตแต่ละล็อตจะวัดได้อย่างไรว่ามาตรฐานได้ทุกครั้งจริงหรือไม่ที่น้ำยางมีคุณภาพ ก็อยากให้ใช้แบบเดิม

คำต่อคำ “ณพรัตน์” เปิดใจเคลียร์ฮั้วประมูลถนนยางพารา

“กยท.ก็ไม่ได้ห้าม หากคนที่ประมูลไปยอมรับจะเลือกใช้ของคุณก็ไม่ว่าเพราะไม่ได้บังคับ เพราะที่ กยท.ทำแค่เป็นทางเลือกหนึ่ง อย่างน้อยก็เป็นการควบคุณภาพ ไม่ใช่ได้แล้วได้เลย เพราะเวลาคุณผลิตครั้งหนึ่งต้องเก็บมาตรวจทุกครั้งของการผลิตใหม่ ยกตัวอย่าง ผลิต 100 ตัน สุ่มผ่านแล้ว เมื่อหมด 100 ตัน แล้วจะมีการผลิตใหม่ จะสุ่มไปตรวจอีก อย่างน้อยต้องมี DRC 30 %”

คำต่อคำ “ณพรัตน์” เปิดใจเคลียร์ฮั้วประมูลถนนยางพารา

ย้ำแนวทางนี้เป็นแนวทางที่กรมทางหลวงใช้ในการรับรองยางมะตอยผสมยางพารา เป็นขั้นตอนปกติ ไม่ได้แปลกพิสดาร หรือเป็นอย่างที่กล่าวหาว่าล็อคสเปค เป็นแนวทางปฏิบัติตามข้อที่ สตง.แนะนำ รวมทั้งกรมทางหลวงด้วย ณ วันนี้ก็ยังงงว่า “ผิดตรงไหน”