เจาะสนามบินใหญ่ที่สุดในโลกปลาดาวบนหลังพญามังกร

09 ส.ค. 2562 | 09:49 น.

คาดการณ์กันว่าในวันที่ 30 กันยายนนี้ จีนจะเปิดให้บริการท่าอากาศยานนานาชาติปักกิ่งต้าซิง ซึ่งจะกลายเป็นสนามบินที่ใหญ่ที่สุดในโลก ด้วยพื้นที่ใช้สอยมากกว่า 7 แสนตารางเมตร และพื้นที่รวมมากถึง 55 ตารางกิโลเมตร ซึ่งขณะนี้ดำเนินการในขั้นตอนตกแต่งภายในเป็นขั้นสุดท้าย ส่วนรันเวย์และทางวิ่งรวมถึงระบบวิทยุการบินได้มีการทดสอบไปเมื่อ เดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา

เจาะสนามบินใหญ่ที่สุดในโลกปลาดาวบนหลังพญามังกร

 

สนามบินนานาชาติ “ปักกิ่งต้าซิง” ปลาดาวบนหลังพญามังกร    
ตัวอาคารเป็นรูปปลาดาว ซึ่งแยกออกไปแฉกเพื่อรองรับเครื่องบินที่จะเข้ามาได้สูงสุดถึง 300 เที่ยวต่อชั่วโมง ต้องยอมรับว่า ปักกิ่งถือเป็นเมืองหลวงอันดับสองของจีน ที่ผ่านมาสนามบินนานาชาติปักกิ่งก็มีความแออัดและการจราจรหนาแน่นมากที่สุด รัฐบาลจีนตัดสินใจก่อสร้างสนามบินแห่งนี้และใช้เวลาในการก่อสร้างนานถึง 5 ปี ด้วยงบประมาณ  8 หมื่นล้านหยวน หรือ 1.13 หมื่นล้าน ( 3.8 แสนล้านบาท) รัฐบาลจีนต้องการให้สนามบินแห่งนี้เป็นแม่เหล็กดูดดึงทั้งกิจกรรมทางธุรกิจและการท่องเที่ยว ขณะที่บริษัท โรแลนด์ เบอร์เกอร์ บริษัทที่ปรึกษาทางธุรกิจของโลกสัญชาติเยอรมัน กล่าวว่า  จีนคาดหมายให้สนามบินแห่งนี่เป็นจุดเชื่อมต่อของผู้โดยสารทั้งในประเทศและต่างประเทศ

สนามบินต้าซิงปักกิ่งเป็นหนึ่งสนามบินของเอเชียที่มีมูลค่ามากกว่า 1 แสนล้านดอลลาร์ ท่ามกลางการเติบโตและการเดินทางของกลุ่มชนชั้นกลางที่เดินทางท่องเที่ยวมากยิ่งขึ้น สมาคมขนส่งทางอากาศระหว่างประเทศ (IATA) ที่คาดการณ์ว่า การเดินทางท่องเที่ยวของชาวเอเชียที่เดินทางเข้ายุโรปและอเมริกาเหนือจะเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องไปจนถึงปี 2037 และ 24 สนามบินเตรียมจ่อเปิดทำการภายในอีก 6 ปีข้างหน้า
แม้ในหลายๆสนามบินจะพยายามเพิ่มจำนวนอาคาร ขยายพื้นที่ แต่ใครจะสามารถเทียบเท่าปักกิ่งต้าซิงได้ ซึ่งสามารถเพิ่มการรองรับจำนวนผู้โดยสารจากปกติได้มากถึง 70 % และบรรเทาเบาบางการจราจรที่หนาแน่นในสนามบินนานาชาติปักกิ่งทีมีผู้เดินทางเมื่อปีที่แล้วมากถึง 100 ล้านคน

 

ชาวเอเชียเดินทางอันดับ 1 ของโลก
ชาวจีนเดินทางท่องเที่ยวต่อคนต่อปี เพิ่มมากขึ้นถึง 11 % ในช่วง 20 ปีที่ผ่านมา และจะสูงถึง 1.6ล้านเที่ยวในปี 2037  อินเดียเพิ่มขึ้น 10 %  อินโดนีเซีย 9% เมื่อเปรียบเทียบกับการเติบโตที่ 1% และ 2%  ของสหรัฐฯและสหราชอาณาจักร หมายความว่าชาวเอเชียขึ้นแท่นเป็นนักท่องเที่ยวอับดับ 1 ของโลก
แต่การสร้างสนามบินปักกิ่งต้าซิง ในความคิดของจีนไม่เป็นเพียงแค่จุดเชื่อมต่อการเดินทางเท่านั้นแต่กลับมองให้เป็นเมืองๆหนึ่งที่จะสามารถสร้างรายได้และสร้างความเจริญเติบโตให้พื้นที่ใกล้เคียงด้วย

สนามบินที่ขึ้นแท่นใหญ่ที่สุดในโลก "ปักกิ้งต้าซิง"

สนามบินทั่วโลกเอเชียเร่งปรับตัว
สิงคโปร์เพิ่งเปิดตัวโดมแก้วขนาด 5 ชั้น ในสนามบินชางงี มีทั้งแหล่งชอปปิ้ง สวน และน้ำพุในร่มที่สูงที่สุดในโลกด้วยมูลค่ามากกว่า 1,200 ล้านดอลลาร์ ที่กลายเป็นจุดดึงดูดนักเดินทางจากทั่วโลก แม้จะเปิดตัวไปเมื่อเดือนเมษายนที่ผ่านมา แต่รัฐบาลสิงคโปร์กลับเตรียมใช้งบอีกกว่า 1หมื่นล้านดอลลาร์ขยายสนามบินอีก 10 ปีข้างหน้า ซึ่งจะสามารถทำให้จีดีพีในประเทศขยายได้อีก 25% ในปี2020 จากปัจจุบันอยู่ที่ 16 %  โดยนักวิชาการจากมหาวิทยาลัยชื่อดังในสิงคโปร์กล่าวว่า “อยากให้มองว่าพัฒนาสนามบินเป็นเพียงเรื่องของสนามบินอีกต่อไป แต่ให้มองว่าเป็นการพัฒนาของประเทศด้วย”
สนามบินเช็กแล็บก็อกของฮ่องกง ใช้เงิน 141.5 ล้านดอลลาร์ฮ่องกง (18,000 ล้านดอลลาร์) สร้างเกาะเทียมที่ใกล้กับพื้นที่ของสนามบิน และสร้างรันเวย์แห่งที่สาม สร้างอาคารผู้โดยสารอีกหนึ่งแห่ง  รัฐบาลฮ่องกงกล่าวว่าการลงทุนในครั้งนี้จะสร้างประโยชน์ให้ได้มากถึง 4.55 แสนล้านดอลลาร์ฮ่องกง  และจะมีสะพานแห่งใหม่ที่เชื่อมต่อฮ่องกงและมาเก๊าที่มีความยาวมากถึง 55 กิโลเมตร รวมถึงต่อเนื่องไปถึงซูไห่ทางตอนใต้ของจีน รวมให้เป็นแหล่งบันเทิงของภูมิภาค

ประเทศตะวันตก (ตกขบวน) แผนพัฒนาสนามบินหยุดชะงัก
ขณะที่ในเอเชียกับกำลังจะก้าวเข้าสู่ยุคใหม่ของการเดินทางผ่านสนามบินที่กำลังสร้างใหม่หลายสิสิบแห่ง ฝั่งตะวันตกกลับต้องติดอยู่กับข้อจำกัดและการดูแลโครงสร้างอาคารเก่า รัฐบาลอังกฤษได้แต่มีความหวังว่าจะสามารถผ่านงบประมาณในการขยายรันเวย์เส้นที่3 ปี2021ในสนามบินฮีทโธรว์ ได้ โดยมีมูลค่า1.4หมื่นล้านปอนด์ (1.7หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐฯ)  หลังจากที่โทนี่ แบลร์เลื่อนการนำเสนอเรื่องนี้ในยุคที่เป็นนายกรัฐมนตรี
ส่วนที่สหรัฐฯ หน่วยงานของนิวยอร์คและนิวเจอร์ซี่ได้เลื่อนการใช้งบประมาณกว่า 2.4หมื่นล้านเหรียญออกไปก่อน ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อที่จะขยายและซ่อมแซมสนามบิน 3 แห่งในพื้นที่รวมถึงสนามบินนานาชาติจอนห์เอฟเคนเนดี้    

สนามบินนานาชาติเจเอฟเค สหรัฐฯ

แหล่งรายได้จากสนามบินไม่ใด้มาจากสายการบินอีกต่อไป
สนามบินในเอเชียมีความได้เปรียบที่ไม่ต้องแบกรับภาระจากตัวอาคารหรือโครงสร้างที่เก่าแก่มาตั้งแต่ปี 1950 เมื่อเทียบกับสนามบินในยุโรป และสนามบินในปัจจุบันทำได้รายได้จากการใช้จ่ายของผู้ที่เดินทาง ไม่ใช้รายได้ที่มาจากสายการบินอีกต่อไป   ทั้งสิงคโปร์และฮ่องกง รายได้เกินครึ่งมาจากการใช้จ่ายที่เกิดขึ้นสนามบินและกิจกรรมอื่นๆที่ไม่เกี่ยวข้องกับการบิน สนามบินอินชอนของเกาหลีใต้ทำรายได้มากกว่า 2 ใน 3 หรือ กว่า 60 % เมื่อเทียบกับเกณฑ์เฉลี่ยทั่วโลกอยู่ที่ 40%  ตามรายงานของสภาสมาคมท่าอากาศยานระหว่างประเทศ

สนามบินปักกิ่งต้าซิง

สนามบินปักกิ่งต้าซิงในรูปแบบจำลอง

จีนเตรียมพร้อมเปิดสนามบิน “ปักกิงต้าซิง” ปลายกันยายนนี้
ก่อนหน้านี้ในเดือนพฤษภาคม สนามบินแห่งนี้ได้ทดสอบการบินไปแล้ว จาก4สายการบินสัญชาติจีน แม้การตกแต่งภายในสนามบินจะยังไม่เสร็จ100% ก็ตาม โดยมีเครื่องบิน แอร์บัสA380 จากสายการบินไชน่า เซาเทิร์นแอร์ไลน์ ประเดิมรันเวย์เป็นสายการบินแรก ตามด้วย แอร์บัส A350-900 จากสายการบินไชน่า อีสเทิร์น,โบอิ้ง B747-8 จากแอร์ไชน่า และโบอิ้งB787-9 จาก เซี่ยเหมินแอร์ไลน์
การบินสอบเที่ยวบินนี้ถือเป็นการระบบการบินภายในสนามบิน รวมถึงขั้นตอนดำเนินการตามมาตรฐานขั้นต่ำของสนามบิน การสื่อสาร จากวิทยุการบิน ทิศทาง สภาพอากาศ รันเวย์และระบบไฟในการลงจอดเครื่องบิน  การทดสอบหลังจากนี้นี้ยังต้องทำเป็นระยะและต่อเนื่องกว่า 112 ชั่วโมง และยังต้องทำการทดสอบอีก2ครั้ง ในสภาพอากาศที่เลวร้าย และได้ทดสอบแบบเต็มรูปแบบครั้งล่าสุดในวันนี้