เดิมพันทางด่วนแสนล. " BEM " ลดค่าเสียหายอื้อแลกสัมปทาน 30 ปี

12 ส.ค. 2562 | 08:25 น.

“บีอีเอ็ม” ลดค่าเสียหายแสนล้าน ถอนฟ้องทุกคดีลดหนี้เหลือ 5 หมื่นล้านแลกขยายสัมปทาน 30 ปี ด่วน 2-บางปะอิน-ปากเกร็ด พร้อมสร้างทาง 2 ชั้น แก้วิกฤติจราจร ประเมิน กทพ. ส่อแพ้
ทุกคดี ปี 2578 ค่าโง่ทะลุ 3 แสนล้าน

หลังจากคณะกรรมการการทางพิเศษแห่งประเทศไทย(บอร์ดกทพ.) มีมติเห็นชอบให้ กทพ.ขยายอายุสัมปทานทางด่วนขั้นที่ 2 และทางด่วนบางปะอิน-ปากเกร็ด ให้กับบริษัททางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด(มหาชน) หรือบีอีเอ็ม 30 ปี เมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม 2562 แลกกับการลดมูลค่าหนี้ เงินต้นพร้อมดอกเบี้ยซึ่งเป็นข้อพิพาทระหว่างกัน จาก 137,517 ล้านบาท เหลือเพียง 58,873 ล้านบาท

ท่ามกลางเสียงคัดค้านของพนักงาน กทพ.ที่ไม่เห็นด้วย เนื่องจากศาลตัดสินเพียงคดีเดียวคือทางแข่งซึ่งเป็นเพียงส่วนหนึ่งจากทั้งหมด 17คดี ให้กทพ.แพ้คดี และต้องชดใช้ค่าเสียหายให้กับบีอีเอ็มจำนวน 4,300 ล้านบาท มองว่าไม่ควรนำคดีที่ศาลยังไม่ตัดสินในอนาคตมาเหมารวมว่าแพ้ โดยเฉพาะเรื่องการปรับค่าผ่านทางทุก 5 ปี ที่เอกชนและรัฐมองต่างมุม อีกทั้งบอร์ดกทพ.ยังยกโครงการก่อสร้างทางด่วน 2 ชั้นให้กับบีอีเอ็มได้ประโยชน์ แทนที่จะเปิดให้เอกชนรายอื่นร่วมแข่งขัน

เดิมพันทางด่วนแสนล. " BEM " ลดค่าเสียหายอื้อแลกสัมปทาน 30 ปี

ขณะที่ทางออกปมข้อพิพาทนายศักดิ์สยาม  ชิดชอบ  รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ได้แต่งตั้งคณะกรรมการขึ้นมา แก้ไขปัญหา โดยมีนายชัยวัฒน์ ทองคำคูณ ปลัดกระทรวงคมนาคม เป็นประธานแต่สหภาพตั้งข้อสังเกตอ้างว่าคณะกรรมการที่นาย ศักด์สยามแต่งตั้ง แม้แต่ตัวปลัดกระทรวงคมนาคมเอง กลับกลายเป็นคนที่เกี่ยวข้องกับการอนุมัติ แลกสัมปทานทางด่วนดังกล่าว ล่าสุด เตรียมทำหนังสือ ถึง ปปช. สตง. ตรวจสอบ แม้เงื่อนสัญญาใหม่เอกชนจะตัดประโยคว่าทางแข่งออก

 

บีอีเอ็มแจงสู้ไปก็แพ้

ด้านผู้แทนของ บีอีเอ็ม ประเมินว่า เพื่อบรรเทาความเสียหายของรัฐ มูลค่าข้อพิพาท ที่ฟ้องร้องกันกว่า 137,517 ล้านบาท หากไม่ยุติ ปล่อยให้ฟ้องต่อจนกทพ.แพ้คดีจะมีมูลค่า ความเสียหายกว่า 163,800 ล้านบาท(มูลค่าปัจจุบัน) อย่างไรก็ตาม มองว่ากทพ.มีโอกาส แพ้คดีสูงเนื่องจากศาลปกครองสูงสุด ได้ตัดสินให้กทพ.แพ้คดีทางแข่งขัน ปี 2542-2543เป็นบรรทัดฐานแล้ว ส่วนค่าผ่านทาง กทพ.แพ้ในชั้นอนุญาโตตุลาการ และศาลปกครองกลางทุกคดี โอกาสที่จะแพ้ ในชั้นศาลปกครองสูงสุด จึงสูงมากเช่นกัน หาก กทพ.แพ้คดี ต้องชดใช้ให้บีอีเอ็มเป็นเงินกว่า 3.2 แสนล้านบาท ทำให้รัฐต้องเป็นหนี้มีภาระทางการเงินจำนวนมาก ส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นทางเศรษฐกิจของประเทศ เช่นกรณีโฮปเวลล์ ซึ่งเป็นภาระของรัฐบาล กระทั่งไม่สามารถหาทางออกได้

เดิมพันทางด่วนแสนล. " BEM " ลดค่าเสียหายอื้อแลกสัมปทาน 30 ปี

ปี78หนี้พุ่ง3แสนล้าน

“ปมข้อพิพาท หากกทพ. ยืนยันสู้ต่อไป ตามนโยบายของนายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ดอกเบี้ยก็จะเพิ่มขึ้นหลายเท่าตัวจาก 137,517 แสนล้านบาท ในปี2561 จะกลายเป็น 326,127 ล้านบาท ในปี 2578” ผู้แทนบีอีเอ็ม กล่าวพร้อมประเมินว่า หากคดีทยอยตัดสินคาดว่าจะรู้ผลปี 2578 มูลค่า หนี้ทั้งหมดจะอยู่ที่ 326,127ล้านบาท แยกเป็น ข้อพิพาท ถึงปี2561 เงินต้น 97,267 ล้านบาท ดอกเบี้ย 88,317 ล้านบาท รวมกรณีข้อพิพาทหลังปี 2561 เงินต้น 89,119 ล้านบาท ดอกเบี้ย 51,424 ล้านบาท

หากย้อนรอยค่าโง่ทางด่วนเกิดจาก กทพ.ไม่ปรับค่าผ่านทาง ทั้งๆที่ตามสัญญากำหนดให้ค่าผ่านทางปรับขึ้นทุก 5 ปี ตามดัชนี ผู้บริโภค ที่เพิ่มขึ้น โดยปัดเศษ ขึ้นเป็นจำนวนเต็ม 5 บาท ตั้งแต่ปี 2546 กทพ.ปรับค่าผ่านทาง โดยใช้วิธี ปัดเศษลงหากคำนวนได้ไม่ถึง 5บาท เพื่อเป็นนโยบายประชานิยมให้รัฐบาล เอาใจคนกรุงเทพ การไม่ปรับตามสัญญา ทำให้รายได้ของบีอีเอ็มลดลง ซึ่งกทพ. ไม่ชดเชยให้ตามสัญญา กลับนำเรื่องสู่การพิพาทจนท้ายที่สุด คดีส่วนใหญ่คณะอนุญาโต ตุลาการและศาลปกครองกลางตัดสินให้กทพ.แพ้ต้องชดเชย ซึ่งคดีนี้ จะมีผลต่อเนื่องทุกปี รวมดอกเบี้ย

เดิมพันทางด่วนแสนล. " BEM " ลดค่าเสียหายอื้อแลกสัมปทาน 30 ปี


 

ยุติข้อพิพาทแลกสัมปทาน

สำหรับเป้าหมายบริษัทต้องการยุติข้อพิพาททั้งหมด อย่างไรก็ตามผลการเจรจากทพ.และบีอีเอ็ม จะยุติทั้งหมดมูลค่าข้อพิพาทที่ชดเชยจะลดลง จาก 137,517 ล้านบาท เหลือ 58,000 ล้านบาท แลกด้วยการขยายสัมปทานแทนการจ่ายเงิน โดยให้บีอีเอ็มให้บริการตลอดจนการลงทุนปรับปรุงทางด่วนเพื่อแก้ปัญหาจราจร เก็บค่าผ่านทาง ส่วนการจัดเก็บค่าผ่านทางจะปรับแบบคงที่ทุก 10 ปี และแบ่งรายได้ให้รัฐอย่างเหมาะสมตัวอย่างรถ 4 ล้อ จากถนนประชาชื่นไปถนนศรีนครินทร์ ปัจุบัน 50+25เท่ากับ 75บาท ค่าผ่านทางใหม่ปี 2571 (ปรับคงที่ทุก10 ปี)  60+30 เท่ากับ 90 บาท หากปรับตามเงินเฟ้อทุก 5 ปี (สัญญาเดิม ) 70+35 เท่ากับ 105 บาท ปี 2581 70+35 เท่ากับ 105 บาท ปรับตามสัญญาเดิมตามเงินเฟ้อ 90+45 เท่ากับ 135 บาท โดยผู้ใช้เส้นทางจะเสียค่าใช้จ่ายที่ถูกกว่าและสามารถใช้ทางด่วนเดิม และทางด่วนชั้นที่ 2 โดยไม่มีการเก็บค่าผ่านทางเพิ่ม

 

สร้างด่วนชั้นที่ 2

ส่วนข้อเสนอ ก่อสร้างทางด่วนชั้นที่ 2 บนทางด่วนพิเศษศรีรัชเพื่อแก้ปัญหาจราจร โดยกทพ.ไม่ต้องเสียเวลาเปิดประมูล ระยะทาง 17 กิโลเมตร มูลค่า 3.1หมื่นล้านบาท จากงามวงศศ์วาน-อโศก-พระราม 9 เป็นทางยกระดับเหนือทางด่วนเดิม โดยมีจุดขึ้น-ลงเชื่อมกับทางด่วนเดิม7จุด เหมือนทางด่วน ขั้นที่ 1 บริเวณท่าเรือคลองเตย มีด่านเก็บเงินเพิ่ม ที่ประชาชื่น (14ช่อง) และอโศก (14ช่อง) และก่อสร้างทางข้าม 2 แห่ง ที่ต่างระดับมักกะสันเพื่อลดการตัดกระแสจราจรการขยายผิวจราจรบริเวณ คลองประปา และมักกะสันเพื่อแก้ปัญหาจุดคอขวด ซึ่งยอมรับว่า กทพ.ลดค่าใช้จ่ายได้มาก ขณะค่าผ่านทาง ยังได้รับส่วนแบ่งเช่นเดิม โดยเฉพาะ ช่วงที่จราจรหนาแน่น

 

สหภาพลุยต่อ

“ฐานเศษฐกิจ”สอบถามไปยัง นายสุทธิศักดิ์ วรรธนวินิจ ผู้ว่ากทพ.และนายชัยวัฒน์ ทองคำคูณ ปลัดกระทรวงคมนาคมเพื่อสอบถาม แนวทางแก้ปัญหากรณีค่าโง่ทาง ด่วนและการต่อต้านจากพนักงาน ล่าสุดไม่สามารถติดต่อได้

แหล่งข่าวจากสหภาพฯกทพ.ยืนยันว่า หากกทพ.ยอมตกลง บัญชีจะถูกบันทึกเป็นข้อมูลว่า รัฐยอมแพ้ เอกชนจะมีอำนาจต่อรองเหนือกทพ. ทั้งๆที่อนาคต หลายคดีโดยเฉพาะการขึ้นค่าผ่านทางศาลยังไม่ตัดสินแต่ผู้บริหารตัดสินแทนว่า แพ้คดีและด่วนยก สินทรัพย์ให้เอกชนรายเดิมไป ทั้งๆ ที่อนาคตกทพ.อาจจะชนะคดีก็เป็นได้ 

หน้า 1 ฉบับที่ 3,495 วันที่ 11 - 14 สิงหาคม พ.ศ. 2562

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

BEMเชื่อมั่นขยายสัมปทานยุติข้อพิพาททางออกที่ดีที่สุด

หนุนเจรจายุติ ปมค่าโง่ทางด่วน

'สามารถ' เดินหน้าไล่ล่า 'ไอ้โม่ง-รัฐบาลปี40' ต้นทางค่าโง่ทางด่วน

ถก กมธ.ล่ม! “หมอระวี” แก้มติ เชิญแค่สหภาพฯแจงสัมปทาน

สหภาพกทพ. ร้อง "บิ๊กตู่" เบรกครม.ไฟเขียวร่างสัญญาสัมปทาน

ยื่นประธานรัฐสภา หยุดค่าโง่ทางด่วนกทพ.

สหภาพฯลุ้นบอร์ดกทพ.ประชุม23 มค.นี้ เคลียร์คดีค่าโง่ทางด่วนข้อพิพาทอัปยศ

 

เดิมพันทางด่วนแสนล. " BEM " ลดค่าเสียหายอื้อแลกสัมปทาน 30 ปี