ศึกท่อร้อยสายระอุ เคทีลั่น! ไม่ทับของเดิม

20 ส.ค. 2562 | 00:00 น.

 

กรุงเทพธนาคม เดินหน้าลงทุนท่อร้อยสาย เหตุ กทม.ป่วยหนัก เผยส่งหนังสือถึง กสทช.กำหนดค่าเช่าท่อ 7-8 พันบาท ลั่น! ไม่ลงทุนทับที่ “ทีโอที” พร้อม “ท้า” เปิดเส้นทางทั้งหมดจะได้ไม่ซํ้าซ้อน

หลังจาก พล.ต.อ.อัศวิน ขวัญเมือง ผู้ว่าฯกรุงเทพมหานคร ออกมาใหัสัมภาษณ์ว่า จะไม่ลงทุนวางท่อร้อยสายในพื้นที่เดียวกับ บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) แต่ขอให้ ทีโอที แจ้งแนวเส้นทางที่มีท่อร้อยสายพร้อมใช้มาให้ กทม. จะได้ประสานสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ หรือ กสทช. นำสายสื่อสารลงดินในส่วนที่ ทีโอที มีท่อร้อยสายเพื่อบรรลุตามนโยบายรัฐบาล ซึ่ง กทม. จะดำเนินการสร้างท่อร้อยสายในส่วนอื่นทั้งหมด ที่​ บมจ.​ ทีโอที ไม่มีท่อ เพื่อรองรับการนำสายสื่อสารลงใต้ดินทั่วเขตกรุงเทพฯ

เมื่อถอดรหัสคำพูดของพล.ต.อ.อัศวิน ขวัญเมือง แล้วโครงการวางท่อร้อยสายสื่อสารใต้ดินระยะทาง 2,450 กิโลเมตร ซึ่ง กทม.มอบหมายให้ บริษัท กรุงเทพธนาคม จำกัด หรือ เคที ในฐานะวิสาหกิจดำเนินโครงการต่อไป แม้จะมีผู้ประกอบการโทรคมนาคมยื่นหนังสือร้องเรียนต่อนายกรัฐมนตรี และยังคงเช่าใช้ท่อของ ทีโอที เหมือนเช่นเดิม

สอดคล้องกับนายกิติศักดิ์ อร่ามเรือง ประธานกรรมการ ของ เคที กล่าวกับ “ฐานเศรษฐกิจ” ว่า ขณะนี้อยู่ระหว่างการเจรจากับบริษัท ทรู อินเตอร์เน็ต คอร์ปอเรชั่น จำกัด ซึ่งขอเช่าใช้ท่อทั้งหมด 80% ประเด็นเรื่องการเก็บค่าใช้บริการในแต่ละงวด เช่น การจัดเก็บเงินล่วงหน้า และค่าใช้บริการรายเดือน เป็นต้น

ขณะที่อัตราค่าเช่าท่อนั้นได้ยื่นหนังสือไปยัง กสทช.แล้วโดยกำหนดอัตราค่าบริการ 7,000-8,000 บาท ดังนั้นต้องรอมติทาง กสทช.ว่าจะยืนยันในราคานี้หรือไม่

“วันนี้มีหลายความคิดเห็นในเรื่องนี้ ถึงขนาดผู้ประกอบการโทรคมนาคมเข้าพบผู้บริหาร ทีโอที เพื่อขอปรับลดราคาจาก 9,600 บาทลงมาอีก แต่สิ่งที่เรากำลังจะทำถูกกว่าด้วยซํ้าเพราะลงทุนเพียงครั้งเดียว” นายกิติศักดิ์ กล่าว

นายกิติศักดิ์ กล่าวเพิ่มเติมอีกว่า การดำเนินโครงการนำสายสื่อสารลงใต้ดินของกรุงเทพมหานคร เป็นเทคโนโลยีใหม่ สามารถรองรับการขยายตัวของความต้องการใช้งานในอนาคต ประหยัดพื้นที่ใต้ฟุตบาทเพื่อไม่ให้เกิดการขุดๆ กลบๆ อย่างที่เป็นมาในอดีต สามารถนำสายสื่อสารจำนวนมากลงดินได้ตามเป้าหมายไว้ แก้ไขปัญหารกรุงรัง และเกิดอันตรายกับประชาชนที่สัญจรทั้งบนทางเท้าและถนน ไม่มีการพาดสายผ่านหน้าอาคารริมถนนเพื่อเชื่อมต่อมายังผู้ใช้บริการแก้ปัญหาทัศนอุจาดที่เป็นอยู่จึงไม่ได้เป็นโครงการซํ้าซ้อนกับโครงการท่อร้อยสายของบริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) ซึ่งท่อของทีโอทีส่วนใหญ่อยู่ใต้ถนนยากต่อการเข้าถึง และซ่อมบำรุง 

หน้า 1 ฐานเศรษฐกิจ ฉบับ 3497 วันที่ 18-21 สิงหาคม 2562

ศึกท่อร้อยสายระอุ  เคทีลั่น!  ไม่ทับของเดิม

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

● คุ้ยหลักฐาน กทม.ส่อพิรุธท่อร้อยสาย

● สมเกียรติอัด กทม.ให้เอกชนผูกขาดท่อร้อยสาย

● แจงสัมปทานท่อร้อยสาย 2หมื่นล้าน30ปีโปร่งใส

● จี้รื้อสัมปทานทรูบิ๊กสื่อสารรุมต้านผูกขาด30ปีท่อร้อยสาย

● เปิดปูมท่อร้อยสาย 2หมื่นล้าน

● ทรูร่อนหนังสือแจงยังไม่ลงนามสัญญาท่อร้อยสายกทม.

● เบื้องหลังกทม.หักดิบ ยึดโครงการท่อร้อยสาย2หมื่นล.

● 6ยักษ์สื่อสารจี้นายกฯ เบรกท่อร้อยสายกทม.2หมื่นล.

● ท่อร้อยสายวุ่น จ่อรื้อสัญญาทรู

● ไขปม ท่อร้อยสาย ให้สิทธิ์เอกชน80%ไม่ผูกขาด

● ใคร...ลุยไฟ ใช้เงิน2.5หมื่นล้าน เพื่อสัมปทานท่อร้อยสาย 30ปี

● บิ๊กกรุงเทพธนาคม โต้ทุกข้อกล่าวหา ท่อร้อยสายสื่อสาร 2 หมื่นล้าน

● กทม.ลักไก่ ท่อร้อยสาย ไร้ราคากลาง

● ท่อร้อยสายใต้ดิน โอนผูกขาด อำนาจรัฐสู่เอกชน

● รสนาชี้ทิ้งทวนท่อร้อยสาย ก่อนหมดวาระผู้ว่าฯกทม.

●  สหภาพแคทฯ ร้องนายก ค้านท่อร้อยสาย

● ทีโอทีฮึดสู้! ปรับราคาท่อร้อยสาย

● ชำแหละผูกขาด ท่อร้อยสาย 2.5 หมื่นล้าน

● ธนาคมฯฝืนกระแสจ่อเซ็นสัญญากับทรูฯ มูลค่า 2.5 หมื่นล้าน

● โปรดฟังอีกครั้ง! กรุงเทพธนาคมฯยันท่อร้อยรายไม่ผูกขาด-โปร่งใส