ชาวสวนยางไร้เอกสารสิทธิร้องรัฐจ่ายเงินช่วยเหลือ

23 ส.ค. 2562 | 11:45 น.

อ้อน  “เฉลิมชัย” ช่วยชดเชยรายได้ยางแผ่นดิบกิโลฯ ละ 60 บาท กับบัตรสีชมพูด้วย  เผยจ่ายเซสส์กิโลกรัมละ 2 บาทเท่ากับบัตรสีเขียว ระบุ  4 ปีไร้มาตรการเยียวยาช่วยเหลือจากรัฐ ราวกับหลอกให้ขึ้นทะเบียนฟรี แค่จ่ายเพิ่ม 9 พันล้าน ได้ใจชาวสวนทั้งประเทศ ผวาเป็นฉนวนให้ชาวสวนแตกแยก

 

สืบเนื่องจากผลการประชุม เรื่อง การแก้ไขปัญหายางพาราทั้งระบบ ครั้งที่ 3/2562 เพื่อติดตามการแก้ปัญหายางพาราที่มีผลกระทบต่อราคาและเกษตรกรชาวสวนยาง ที่มี นายเฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มีมตินโยบายโครงการประกันรายได้ราคายางแผ่นดิบกิโลกรัมละ 60 บาทเฉพาะบัตรสีเขียวที่มีเอกสารสิทธิ์ ซึ่งมีเกษตรกร จำนวน 1.1 ล้านราย คาดว่าจะงบประมาณกว่า 3 หมื่นล้านบาท

ชาวสวนยางไร้เอกสารสิทธิร้องรัฐจ่ายเงินช่วยเหลือ

นายนายอุทัย สอนหลักทรัพย์  คณะทำงานการจัดทำงบประมาณและการบริหารเงินกองทุนพัฒนายางพารา ตามมาตรา 49 (3) และประธานเครือข่ายยางและสถาบันเกษตรกรยางพาราแห่งประเทศไทย (สยยท.) เผยกับ “ฐานเศรษฐกิจ” ว่า จากการที่เกษตรกรชาวสวนยางที่ขึ้นทะเบียนไว้กับการยางแห่งประเทศไทย (กยท.) บัตรสีชมพู เมื่อ 4 ปี แล้ว  ทาง สยยท.ไปพบกับ พล.อ.ฉัตรเฉลิม เฉลิมสุข ประธานกรรมการ (ประธานบอร์ด) กยท.ได้รับปากจะให้เกษตรกรที่ไม่มีเอกสารสิทธิ์ขึ้นทะเบียน แต่ยังไม่เคยใด้รับอานิสงค์อะไรเลย

ชาวสวนยางไร้เอกสารสิทธิร้องรัฐจ่ายเงินช่วยเหลือ

“ในครั้งนี้ก็เช่นกัน ทั้งๆ ที่จ่ายเซสส์ (CESS) กิโลกรัมละ 2บาท/กก. โดยอ้างการค้าโลก (WTO) และ (GPSNR) ซึ่งเป็นระบบของบริษัทยางล้อตรวจสอบที่มาของยางพาราว่ามาจากป่าสงวนหรือไม่ แต่ตาม พ.ร.บ. การยางแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2558 มาตรา4 เกษตรกรชาวสวนยางหมายความว่าเจ้าของ ผู้เช่า หรือ ผู้ทำสวนยาและคนกรีดยาง ซึ่งได้รับสิทธิจากต้นยางในสวนยางนั้นและได้ขึ้นทะเบียนไว้กับ กยท.ตามหลักเกณฑ์วิธีการและเงื่อนไขที่คณะกรรมประกาศกำหนด”

ชาวสวนยางไร้เอกสารสิทธิร้องรัฐจ่ายเงินช่วยเหลือ

นายอุทัย กล่าวว่า เป็นคนละประเด็นกับมาตรา 36 เกษตรกรชาวสวนยางตั้งอยู่ที่ดินที่มีเอกสารสิทธิ์ครอบครองโดยชอบด้วยกฎหมายจึงขอปลูกแทนใด้จึงได้บัตรสีขมพูที่ขึ้นทะเบียนไว้ ไม่เคยใด้ขอปลูกแทน ขอชดเชยรายใด้เพียง 2.8 แสนรายและมีพื้นที่กรีดยางแล้ว 3.8 ล้านไร่ รัฐบาลใช้เงินเพียง 9,000 ล้านบาท ซึ่งถ้าถูกตัดสิทธิจะทำให้เกษตรกรขัดแย้งกันเองเพราะเขาก็เสียเซสส์ แต่ไม่ได้รับอะไรเหมือนถูกหลอกให้ขึ้นทะเบียนมา 4 ปีแล้ว

ชาวสวนยางไร้เอกสารสิทธิร้องรัฐจ่ายเงินช่วยเหลือ

อย่างไรก็ตามในประเด็นนี้ กรรมการสิทธิมนุษย์ชนได้มีมติ เมื่อ วันที่ 25 กันยายน 2560 และได้ส่งหนังสือถึงบอร์ด สั่งให้กยท.แก้ไขระเบียบว่าด้วยการขึ้นทะเบียนชองเกษตรกรชาวสวนยางด้วยเหตุผลว่า กยท.ละเมิดสิทธิ์ ซึ่งผู้ร้อง(เกษตรกรชาวสวนยางที่ไม่มีเอกสารสิทธิ์แต่มีบัตรสีชมพู ประมาณ 100 ราย กล่าวหา กยท. ได้ออกระเบียบซึ่งเป็นกฎหมายลูกขัดกับ พ.ร.บ. การยางแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2558 เพราะมาตรา4 เกษตรกรชาวสวนยางว่าในการขึ้นทะเบียนจะต้องเอาเอกสารสิทธิ์มาขึ้นด้วย

ชาวสวนยางไร้เอกสารสิทธิร้องรัฐจ่ายเงินช่วยเหลือ

แต่ กยท.ได้ออกระเบียบกลับให้นำเอกสารสิทธิ์เพียงแค่จำนวน 47 รายการแล้วจะต้องเป็นเอกสารสิทธิ์ที่มีตราครุฑเท่านั้น จนบัดนี้ก็ยังไม่ได้รับการแก้ไขจาก กยท.ตามที่คณะกรรมการสิทธิ์ได้แจ้งมา ซึ่งเท่ากับเป็นการลิดรอนสิทธิ์เกษตรกรชาวสวนยางที่ยากจนแต่ต้องเสียเงินเซสส์เหมือนกัน

ชาวสวนยางไร้เอกสารสิทธิร้องรัฐจ่ายเงินช่วยเหลือ

อนึ่ง  (วันที่ 22 ส.ค.62) การยางแห่งประเทศไทย (กยท.) ร่วมคณะทำงานของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ทำแพ็คเกจ 3 รูปแบบ ได้แก่ 1. บัตรที่ขึ้นทะเบียนกับ กยท. บัตรสีเขียว (ผู้ที่มีเอกสารสิทธิ์) มีทั้งหมด 1.1 ล้านราย ในพื้นที่ 13 ล้านไร่ เป็นพื้นที่สวนยางที่เปิดกรีดแล้ว จากทั้งหมดที่ขึ้นทะเบียนไว้ 15 ล้านไร่ 2.บัตรสีชมพู (ไม่มีเอกสารสิทธิ์) มีพื้นที่เปิดกรีดยางแล้ว 3.8 ล้านไร่ จากทั้งหมด 5 ล้านไร่ มีเกษตรกร จำนวน 2.8 แสนราย หรือ แพคเกจที่ 3 ก็คือ จ่ายทั้งบัตรสีเขียวและบัตรสีชมพู ทั้งนี้แนวทางการชดเชยให้เกษตรกรและคนกรีดยาง สมมติฐานตัวเลขที่ 20 บาทต่อกิโลกรัม วงเงินสำหรับการใช้บัตรสีเขียวอย่างเดียว (เมนูแรก) วงเงิน 3.1 หมื่นล้านบาท ส่วนเมนูที่ 2 บัตรสีชมพูอย่างเดียว ใช้วงเงินกว่า 9 พันล้านบาท และเมนูที่ 3 รวม 2 เมนู (บัตรเขียวและบัตรชมพู) จะใช้เงินกว่า 4 หมื่นล้านบาท