ถอดบทเรียน ‘ฮังการี’ สกัดโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกร

24 ส.ค. 2562 | 10:25 น.

ถอดบทเรียน ‘ฮังการี’ สกัดโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกร

 

นายสรวิศ ธานีโต อธิบดีกรมปศุสัตว์  เผยว่า นายอนันต์ สุวรรณรัตน์ ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และนายจักรกฤษณ์ ศรีวลี เอกอัครราชทูตไทย ประจำสาธารณรัฐฮังการี นายชุมเจธว์ กาญจนเกษร อัครราชทูต (ฝ่ายเกษตร) ประจำกรุงบรัสเซลส์ นายชัยวัฒน์ โยธคล ผู้อำนวยสำนักควบคุมป้องกันและบำบัดโรคสัตว์ และนายธนวรรษ เทียนสิน อัครราชทูต (ฝ่ายเกษตร) ประจำกรุงโรม และคณะ ได้เข้าหารือกับ Dr. Gyula Budai รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ Mr. Sandor Farkas ปลัดกระทรวงเกษตรฮังการี และ Dr. Lajos Bognar อธิบดีกรมสัตวแพทย์ฮังการี เพื่อหารือเกี่ยวกับความร่วมมือทางด้านการเกษตรและปศุสัตว์ และการควบคุมป้องกันโรคอหิวาต์แอฟริกันในสุกร (ASF) เมื่อวันที่ 22-23 สิงหาคม 2562 ที่ผ่านมา

 

“ประเทศฮังการี” เกิดการระบาดของโรคอหิวาต์แอฟริกันในสุกร เมื่อปี 2561 ที่ผ่านมา ในหมูป่าบริเวณชายแดนทางเหนือที่ติดต่อกับประเทศยูเครน แต่ฮังการียังสามารถควบคุมไม่ให้มีการแพร่ระบาดมายังสุกรที่เลี้ยงในฟาร์มได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีการเฝ้าระวังโรคในหมูป่าและสุกรฟาร์ม รวมทั้งควบคุมการเคลื่อนย้ายสุกรในประเทศและชายแดนอย่างเข้มงวดตามข้อกำหนดของสหภาพยุโรป ในระหว่างการหารือได้มีการแลกเปลี่ยนข้อมูลของไทยในดำเนินการควบคุมโรคเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกร จากประเทศเพื่อนบ้านเข้ามาในประเทศไทยอย่างเข้มงวด

ถอดบทเรียน ‘ฮังการี’ สกัดโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกร

นายอนันต์ สุวรรณรัตน์ ปลัดกระทรวงเกษตรฯ กล่าวว่า ได้หารือเรื่องการพัฒนาภาคเกษตร ชลประทาน และผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate change) ที่มีผลกระทบต่อการเกษตรของไทยและฮังการี ประเทศฮังการี มีพื้นที่ 5 ล้านแฮกตาร์ แต่ปัจจุบันมีพื้นที่ชลประทานเพียง 90,000 แฮกตาร์ กำลังพัฒนาขยายพื้นที่ชลประทานเพิ่มขึ้นเป็น 350,000 แฮกตาร์ ในช่วง 10 ปีนี้

ถอดบทเรียน ‘ฮังการี’ สกัดโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกร

ปัจจุบันฮังการี มีปัญหาเกษตรกรมีอายุสูงขึ้นและคนรุ่นใหม่ไม่สนใจทำอาชีพเกษตร ทั้งนี้คนฮังการีเองก็รับประทานข้าวเป็นอาหารด้วยเช่นกัน เป็นโอกาสในการขยายการส่งออกข้าวไทยมายังตลาดฮังการี ปัจจุบันบริษัทแปรรูปผลิตภัณฑ์ยางในยุโรปตะวันได้ย้ายฐานการผลิตมายังประเทศฮังการี ทำให้ฮังการีนำเข้ายางพาราเข้ามาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ยางเพิ่มขึ้น