หนุนชาวนาปลูกพืชใช้น้ำน้อยแทนข้าวช่วงหน้าแล้ง

28 ส.ค. 2562 | 07:55 น.

รัฐมนตรีเกษตรฯ  ลงพื้นที่ขอนแก่นวางแผนส่งเสริมปลูกพืชใช้น้ำน้อยในฤดูแล้ง ทดแทนการทำนาปรัง ประสานกระทรวงพาณิชย์หาตลาดให้ กำชับกรมชลประทานบริหารจัดการน้ำอย่างเคร่งครัดเพื่อให้มีเพียงพอใช้จนถึงต้นฤดูฝนปีหน้า ด้านกรมส่งเสริมโชว์พืชอายุสั้นใช้น้ำน้อยกว่าข้าวถึง 3 เท่า

หนุนชาวนาปลูกพืชใช้น้ำน้อยแทนข้าวช่วงหน้าแล้ง

วันที่ 28 ส.ค.2562 นายเฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยระหว่างเดินทางมาตรวจสถานการณ์น้ำที่เขื่อนอุบลรัตน์ อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น ซึ่งเป็นอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่มีปริมาณเก็บกัก 2,431.30 ล้าน ลบ.ม.ปัจจุบันมีน้ำในอ่างฯ 532.72 ล้าน ลบ.ม. โดยน้ำที่เหลือขณะนี้ต่ำกว่าระดับเก็บกักต่ำสุด 48.95 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็น -2.65 % จากเดิมแผนความต้องการใช้น้ำในฤดูฝน 62 (1 มิย -31 ตค 62) มี 370 ล้าน ลบ.ม. ขณะนี้ปรับลดการส่งน้ำเพื่อการเกษตรลง  265 ล้าน.ลบ.ม คงเหลือความต้องการใช้น้ำจากกิจกรรมอื่นตามแผน 105 ล้าน ลบ.ม. ปัจจุบัน (24 ส.ค.62) ใช้น้ำก้นอ่างระบายเพื่อการอุปโภคบริโภคและรักษาระบบนิเวศไปแล้ว 42.73 ล้าน ลบ.ม.

หนุนชาวนาปลูกพืชใช้น้ำน้อยแทนข้าวช่วงหน้าแล้ง

อ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่และขนาดกลางหลายแห่งทั่วประเทศมีน้ำน้อยกว่า 30% ของความจุอ่างซึ่งถือว่า อยู่ในเกณฑ์เฝ้าระวังอย่างใกล้ชิด กระทรวงเกษตรฯ ได้วางแผนส่งเสริมเกษตรกรเพาะปลูกพืชใช้น้ำน้อยแทนการทำนาปรัง ซึ่งจะประหยัดน้ำได้ ทั้งนี้จะกำลังพิจารณาหาพืชที่เหมาะสมและเตรียมสนับสนุนปัจจัยการผลิต ขอให้เกษตรกรไม่ต้องกังวลเรื่องการจำหน่ายผลผลิตเนื่องจากจะประสานกับกระทรวงพาณิชย์ในการหาตลาดให้ จะทำให้เกษตรกรยังคงมีรายได้ต่อเนื่อง

หนุนชาวนาปลูกพืชใช้น้ำน้อยแทนข้าวช่วงหน้าแล้ง

ทั้งนี้จากการคาดการณ์ของกรมอุตุนิยมวิทยาการคาดการณ์น้ำกันยายนระบุว่า ลุ่มน้ำชีนั้นในเดือนกันยายนจะมีฝนตกใกล้เคียงค่าปกติ 30 ปี และเดือนตุลาคมจะมีฝนน้อยกว่าค่าปกติประมาณ 5-10% ดังนั้นจึงสั่งการให้นายสุรสีห์ กิตติมณฑล อธิบดีกรมฝนหลวงและการบินเกษตรเร่งทำฝนหลวงเติมน้ำในอ่าง ส่วนกรมชลประทานต้องเก็บกักน้ำไว้ให้มากที่สุด ตลอดจนวางแผนบริหารจัดการน้ำให้เพียงพอ โดยเฉพาะน้ำเพื่อการอุปโภค-บริโภคนั้นต้องจัดสรรอย่างรอบคอบจนกว่าจะสิ้นสุดฤดูแล้ง

หนุนชาวนาปลูกพืชใช้น้ำน้อยแทนข้าวช่วงหน้าแล้ง

นายทองเปลว กองจันทร์ อธิบดีกรมชลประทาน กล่าวถึงการวางแผนการจัดสรรน้ำในฤดูแล้ง (วันที่ 1 พ.ย.62 - วันที่ 31 พ.ค.63) เขื่อนอุบลรัตน์มีความต้องการใช้น้ำเพื่อการไว้แล้ว โดยจะจัดสรรน้ำตามลำดับความสำคัญดังนี้ น้ำเพื่ออุปโภค-บริโภค รักษาระบบนิเวศ และการอุตสาหกรรมประมาณ 488 ล้าน ลบ.ม. แต่คาดการณ์ว่าว ปริมาณน้ำไหลเข้าเทียบเคียงกับปี 2558 ซึ่งเป็นปีที่มีฝนน้อย แต่ตามแผนบริหารจัดการที่วางไว้เลี้ยงพืชต่อเนื่อง (ไม้ผลและอ้อย) และการอุตสาหกรรมซึ่งจากนี้ไปยังมีโอกาสที่ฝนจะตกลงมาเติมทั้งในแหล่งน้ำธรรมชาติ อ่างเก็บน้ำ และแหล่งน้ำในระบบชลประทาน ซึ่งมั่นใจว่า จะมีน้ำเพียงพอไปจนถึงต้นฤดูฝนหน้า

หนุนชาวนาปลูกพืชใช้น้ำน้อยแทนข้าวช่วงหน้าแล้ง

สำหรับเขื่อนอุบลรัตน์มีสถานีผลิตน้ำประปาที่ใช้น้ำจากเขื่อนทั้งหมด 58 แห่งได้แก่ การประปาส่วนภูมิภาค 6 แห่ง ประปาหมู่บ้าน 52 แห่งและมีสถานีสูบน้ำด้วยไฟฟ้า 138  แห่ง พื้นที่ 295,060 ไร่ ใช้น้ำ 419 ล้าน ลบ.ม. สถานการณ์น้ำของลุ่มน้ำชีขณะนี้ ทั้งแม่น้ำชีตอนบนตั้งแต่จังหวัดชัยภูมิถึงจังหวัดขอนแก่น ตอนกลางตั้งแต่จังหวัดขอนแก่นถึงจังหวัดกาฬสินธุ์ และตอนล่างตั้งแต่จังหวัดกาฬสินธุ์ถึงจังหวัดยโสธรมีน้ำน้อย แต่ฝนตกลงมาในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมาทำให้ระดับน้ำมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น 

หนุนชาวนาปลูกพืชใช้น้ำน้อยแทนข้าวช่วงหน้าแล้ง

นายทองเปลวกล่าวเพิ่มเติมว่า การบริหารจัดการน้ำลำน้ำชีซึ่งมีเขื่อนขนาดใหญ่ 3 แห่งได้แก่ เขื่อนอุบลรัตน์ เขื่อนลำปาว และเขื่อนจุฬาภรณ์ รวมถึงอ่างเก็บน้ำขนาดกลาง  69 แห่ง  อีกที้งเขื่อนที่ระบายน้ำในแม่น้ำชี 6 แห่ง ที่ผ่านมาการทำการเกษตรใช้น้ำฝนเป็นหลัก จะระบายน้ำสนับสนุนเฉพาะเท่าที่จำเป็นในช่วงภาวะฝนทิ้งช่วง โดยเฉพาะในช่วงกลางเดือนมิถุนายน -ปัจจุบัน เพื่อให้มีน้ำเพียงพอสำหรับการอุปโภค -บริโภค และผลิตประปาตลอดแม่น้ำชีและลำน้ำที่มีการใช้น้ำดิบเพื่อผลิตประปา

หนุนชาวนาปลูกพืชใช้น้ำน้อยแทนข้าวช่วงหน้าแล้ง

นอกจากนั้นยังได้สนับสนุนเครื่องสูบน้ำ รถบรรทุกน้ำ และเครื่องจักร -เครื่องมือ เข้าช่วยเหลือทั้งในเขตชลประทานและนอกเขตชลประทาน เมื่อได้รับการร้องขอจากจังหวัดหรือหน่วยงานอื่นๆ เพื่อช่วยเหลือการประปาส่วนภูมิภาค ,ประปาหมู่บ้าน และประปาท้องถิ่นต่างๆ ที่ขาดแคลนน้ำ สถานการณ์ปัจจุบันในแหล่งน้ำชลประทาน ที่มีการใช้น้ำเพื่อผลิตประปา 37 แห่ง ไม่ขาดแคลนน้ำ และมีปริมาณน้ำเพียงพอจนถึงฤดูแล้ง

หนุนชาวนาปลูกพืชใช้น้ำน้อยแทนข้าวช่วงหน้าแล้ง

ส่วนด้านเขื่อนลำปาว จังหวัดกาฬสินธุ์ปัจจุบันทยอยลดการส่งน้ำ โดยใช้น้ำฝนเป็นหลัก เมื่อปริมาณน้ำในอ่างลดเหลือ 400 ล้าน ลบ.ม.จะส่งน้ำเพื่ออุปโภค-บริโภค ประปาและรักษาระบบนิเวศเท่านั้น ส่วนเขื่อนจุฬาภรณ์ จังหวัดชัยภูมิงดส่งน้ำเพื่อข้าวนาปีเพื่อปัจจุบันเก็บกับน้ำสำหรัยการอุปโภค-บริโภคเป็นสำคัญ

หนุนชาวนาปลูกพืชใช้น้ำน้อยแทนข้าวช่วงหน้าแล้ง

ด้านกรมส่งเสริมการเกษตร แนะนำให้เกษตรกรปลูกพืชชนิดอื่นที่มีอายุสั้นและใช้น้ำน้อย ได้แก่  1. กลุ่มพืชไร่ เช่น ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ข้าวโพดหวานรวมทั้งพืชตระกูลถั่ว 2.กลุ่มพืชผักอายุสั้น ที่มีปริมาณการใช้น้ำน้อยกว่าข้าวถึง 3 เท่า