‘โกงกางเทียม’ โอกาส-ทางรอดอุตสาหกรรมยางพาราไทย

05 ก.ย. 2562 | 11:00 น.

“อุทัย” จับมือ “จ้าวปฐพีการเกษตร” ดึงนวัตกรรม “ซีออส” ผลิตไม้โกงกางเทียมที่ใช้ยางถึง 40% หวังช่วยรัฐเร่งระบายซัพพลายในประเทศ ดึงราคายางขยับพุ่ง ฟุ้งดีกว่าประกันรายได้เงินไม่สูญเปล่า อีกด้านฟื้นฟูป่าชายเลน กัดเซาะชายฝั่งทะเล เล็งจ้างชาวสวนผลิตขายป้อนจีน และตลาดในประเทศ วันละ 500-1 พันบาทต่อวัน

 

“ซีออส” (C-Aoss) เป็นการออกแบบทางวิศวกรรมวัสดุ จำลองลักษณะของต้นไม้โกงกางโดยตัวเสาหลักกันคลื่นทำมาจากวัสดุไม้เทียมโดยใช้เทคโนโลยีการผลิตไม้เทียมของ อาร์โต้วู๊ด(Artowood) ส่วนรากไม้ที่ทำหน้าที่ในการเร่งการตกตะกอนทำมาจากส่วนผสมของยางพารา โดยวัสดุทั้งหมดได้ผ่านการทดสอบว่าไม่มีผลกระทบต่อสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อม และไม่ต้องทาการศึกษาผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม

‘โกงกางเทียม’ โอกาส-ทางรอดอุตสาหกรรมยางพาราไทย

ผลที่ได้รับจากการทดสอบคือ “ซีออส” สามารถสร้างเร่งให้เกิดตะกอนดินเลนมาสะสมและทับถมอย่างหนาแน่นหลังแนวติดตั้ง ภายใน 4 เดือน ซึ่งลักษณะของดินเลนที่ได้มีความหนาแน่นสูง ทำให้สามารถปลูกไม้ป่าชายเลนได้ทันทีโดยเป็นโครงป้องกันการกัดเซาะสาหรับหาดเลนที่ใช้เวลาน้อยที่สุดในการสร้างสภาพความพร้อมของดินเลนในการปลูกป่าชายเลน อันจะทำให้เกิดความยั่งยืนในการแก้ไขปัญหาการกัดเซาะแบบบูรณการ อีกทั้งยังสามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้ โดยการขยับรุกคืบออกไปนอกชายฝั่งเพื่อเร่งตะกอนอีก 1 รอบการใช้งาน และมีสิทธิบัตรรองรับถึง 4 ฉบับรวมถึงรางวัลนวัตกรรมด้านต่างๆ จึงเหมาะสมที่จะเป็นทางเลือกใหม่ที่นำมาใช้งานด้านการฟื้นฟูป่าชายเลน รวมถึงยังได้ขึ้นทะเบียนบัญชี "นวัตกรรม" สำเร็จแล้วเมื่อ มีนาคม 2560

‘โกงกางเทียม’ โอกาส-ทางรอดอุตสาหกรรมยางพาราไทย

นายอุทัย สอนหลักทรัพย์ รักษาการนายกสมาคมสมาพันธ์ชาวสวนยางแห่งประเทศไทย เผยกับ “ฐานเศรษฐกิจ”  ผมรู้สึกตื่นเต้นที่จะได้ช่วยเหลือเกษตรกร โดยความร่วมมือกับ บริษัท จ้าวปฐพีการเกษตร (ประเทศไทย) จำกัด ซึ่งเป็นเจ้าของนวัตกรรมไม้โกงกางเทียมซึ่งมีส่วนผสมจากยางพาราถึง40% และนำไปใช้ในการรักษาสิ่งแวดล้อมป้องกันการกัดเซาะชายฝั่งทะเลและเพื่อเร่งการตกตะกอนเป็นการดึงยางออกจากระบบในสภาวะราคายางตกต่ำจนรัฐบาลจะต้องออกมาประกันรายได้ให้เกษตรกรชาวสวนยางให้ใด้ราคา 60 บาท/กก

‘โกงกางเทียม’ โอกาส-ทางรอดอุตสาหกรรมยางพาราไทย

แต่ถ้ารัฐบาลแทนที่จะใช้เงินประกันรายได้แบบศูนย์เปล่าหันมาสนับสนุนคนว่างงานให้ทำผลิตภัณฑ์ยางที่รัฐบาลจะต้องใช้ เช่น สนามฟุตซอล สนามเด็กเล่น ตัวหนอนยางเดินเพื่อสุขภาพ ทำพาราซอยซีเมนต์ ใมเโกงกางฯลฯ ราคายางก็จะถึง 60 บาท/กก เพราะความต้องการของตลาดโลกนอกจากนั้นเป็นการสร้างงานให้คนว่างงานให้มีงานทำความมั่นคงและเศรษฐกิจก็จะดีขึ้นเพราะคนระดับรากหญ้ามีเงินใช้จ่ายและในอนาคตก็จะนำไปสู่นวัตกรรม ไทยแลนด์ 4.0 ตามแผนยุทธศาสตร์ 20 ปี เกษตรกรไทยก็จะผันตัวเป็นเกษตรอุตสาหกรรมโดยไม่ยากจนต่อไป โครงการดังกล่าวนี้ได้เสนอผ่านท่านอลงกรณ์ พลบุตร ที่ปรึกษารมว.เกษตรฯ ไปเรียบร้อยแล้ว

‘โกงกางเทียม’ โอกาส-ทางรอดอุตสาหกรรมยางพาราไทย

นายอุทัย กล่าวว่า ผมในนามของรักษาการนายกสมาคมสหพันธ์ชาวสวนยางแห่งประเทศไทย ซึ่งมีวิสาหกิจชุมชนอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ยางเป็นเครือข่ายทั่วประเทศที่ปลูกยางและเมื่อนวัตกรรมซีออสต้องการให้เกษตรกรทำอาชีพเสริมเราพร้อมขยายเครือข่ายเพราะการผลิตไม้โกงกางใช้ยางธรรมชาติ 40%จำนวนที่ใช้มากกว่ายางล้อซึ่งใช้ไม่เกิน 25% ส่วนถนนลาดยางก็ประมาณ 5-20 % ถ้าใด้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลขยายการทำโกงกางในป่าชายเลนจะทำให้มีปลาเพิ่มขึ้นชายหาดจะขยายเพิ่มขึ้นชาวประมงจะได้รับอานิสงส์ไปด้วย

‘โกงกางเทียม’ โอกาส-ทางรอดอุตสาหกรรมยางพาราไทย

ส่วนเกษตรกรมีงานทำในยามราคายางตกต่ำกว่าต้นทุนการผลิต เป็นจ้าวเหมาได้ใม่ต่ำกว่า500-1 พันบาท/คน โดยวัตถุดิบจะรับไปจำหน่ายที่จีนและหน่วยงานต่างๆ ในประเทศ เมื่อมีการใช้ยางมากขึ้นๆ ดึงยางออกนอกระบบเพื่อใช้ทำผลิตภัณฑ์ในประเทศมากขึ้นราคายางก็จะขึ้นเองโดยไม่ต้องประกันรายได้ให้เกษตรกรเพราะการใช้โกงกางแก้ปัญหา 1 กิโลเมตร ใช้เสา 6,779 ต้นใช้รากไม้ทำจากยาง 27,116 แผ่น (1แผ่นหนัก 5 กิโลกรัม)

‘โกงกางเทียม’ โอกาส-ทางรอดอุตสาหกรรมยางพาราไทย

ดังนั้นรากโกงกาง=135,580 กิโลกรัมจะใช้ยาง40% =54,000 กิโลกรัม =ยางพารา 54 ตัน /1กิโลเมตร เพียงแถวเดียว แต่ถ้าใช้ 2 แถว = 108 ตัน ถ้า3 แถว 162 ตัน ซึ่งประเทศไทยชายทะเลที่มีป่าชายเลน 738 กิโลเมตร ใน 1 กิโลเมตร ใช้เงิน100 ล้านบาท ถ้าเราประกันราคายาง 5 หมื่นล้านบาทจะได้โกงกาง?

‘โกงกางเทียม’ โอกาส-ทางรอดอุตสาหกรรมยางพาราไทย

แต่ถ้าเอาเงินไปช่วยชาวบ้านสร้างงานแล้วได้ประโยชน์ทั้งชาวประมงได้พันธุ์ปลาเพิ่มได้ชายหาดที่สะอาดให้นักท่องเทียวได้เพิ่มพื้นที่ชายหาดและเกษตรกรชาวสวนยางได้ทำอาชีพเสริมและดึงยางออกนอกระบบราคายางขึ้นรัฐก็ไม่ต้องจ่ายเงิน

‘โกงกางเทียม’ โอกาส-ทางรอดอุตสาหกรรมยางพาราไทย

"โกงกางเทียม" เป็นทางรอดของเกษตรกรชาวสวนยางให้ผลิตตั้งแต่ต้นน้ำ  กลางน้ำ และ ปลายน้ำ โดยการพึ่งตนเองเพียงแต่อาศัยเงินเซสส์ (CESS) ที่เก็บ กิโลกรัมละ 2 บาท จากการส่งออกโดยไม่ต้องพึ่งงบประมาณจากรัฐแต่อำนาจอยู่ทีรัฐบาลจะสนับสนุนให้เกษตรกรพึ่งตนเองผันตัวเองจากเกษตรกรรมเป็นเกษตรอุตสาหกรรมจึงขอฝากรัฐมนตรีเกษตรฯ ช่วยพิจารณาด่วน!!