บทพิสูจน์เทคโนโลยี “บล็อกเชน” (Blockchain) กับความสำเร็จ ”เอสซีจี”

10 ก.ย. 2562 | 12:02 น.

บทพิสูจน์เทคโนโลยี “บล็อกเชน” (Blockchain) กับความสำเร็จ ”เอสซีจี”

 

                “บล็อกเชน” เทคโนโลยีที่คาดการณ์ว่าจะเข้ามาเปลี่ยนแปลงการทำธุรกรรม  ธุรกิจ การค้า การลงทุน การเงิน บริการ ของโลกไปอย่างสิ้นเชิง  โดยนอกจากจะเป็นเทคโนโลยีที่ช่วยปรับปรุงประสิทธิภาพการทำธุรกิจ และบริการให้ดีขึ้น โปร่งใสมากขึ้นแล้ว ยังเป็นเทคโนโลยีที่เข้ามาดิสรัปชั่น เทคโนโลยีบล็อกเชนเริ่มเป็นที่รู้จักในฐานะเทคโนโลยีที่อยู่เบื้องหลังบิตคอยน์ และคริปโต้เคอเรนซี่ต่างๆ

                บล็อกเชนเป็นเทคโนโลยีที่มีศักยภาพในการเปลี่ยนโลกเช่นเดียวกับเมื่อครั้งที่อินเตอร์เน็ตเข้ามาพลิกรูปแบบการทำธุรกิจในอดีต ทั้งนี้จากรายงานของการ์ทเนอร์ มูลค่าเพิ่มที่บล็อคเชนจะก่อให้เกิดสำหรับธุรกิจทั่วโลกจะสูงถึงกว่า 6 ล้านล้านบาท ($176 billion) ในปี 2568 และสูงถึงกว่า 108 ล้านล้านบาท ($3.1 trillion) ภายในปี 2573  ซึ่งการเติบโตลักษณะนี้เป็นแพทเทิร์นที่มักเกิดขึ้นกับเทคโนโลยีเกิดใหม่ (Emerging technology) ที่สำคัญๆ

                คุณประโยชน์หลักของเทคโนโลยีบล็อกเชนไม่ว่าจะสำหรับงานบริการทางการเงินหรืองานด้านอื่นๆ คือการเป็นแหล่งข้อมูลความจริงหนึ่งเดียวของการทำธุรกรรมของหลายๆ ส่วนงานในเครือข่ายธุรกิจ ที่ไม่ว่าใครก็ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงข้อมูลบนเล็ดเจอร์ได้ สามารถกำหนดความเป็นส่วนตัว (Privacy) และ  ชั้นความลับ (Confidentiality) ได้ จึงเป็นข้อมูลที่ธุรกิจสามารถไว้ใจได้ โปร่งใส และตรวจสอบย้อนหลังได้เสมอ

 

บทพิสูจน์เทคโนโลยี “บล็อกเชน” (Blockchain) กับความสำเร็จ ”เอสซีจี”

 

                บล็อกเชนจะทำให้รูปแบบการทำธุรกรรมที่เราคุ้นเคยในทุกวันนี้เปลี่ยนไปโดยสิ้นเชิง จากความยุ่งยากซับซ้อนอันเกิดจากการผู้มีส่วนเกี่ยวข้องหลายฝ่าย การส่งต่อข้อมูล เอกสารที่เป็นกระดาษ กระบวนการหลายขั้นตอน หรือระยะเวลาในการทำข้อตกลงที่มักจะยาวนานถึง   20 วันหรือมากกว่านั้น สู่การเก็บข้อมูลอ้างอิงแบบเรียลไทม์ มีการตรวจสอบ และแชร์ข้อมูลให้เฉพาะบุคคลหรือหน่วยงานที่ได้รับอนุญาตเท่านั้น จึงเป็นระบบข้อมูลจริงที่มีความเป็นปัจจุบันอยู่เสมอ บล็อกเชนจะทำให้การดำเนินการที่กินเวลาและใช้ต้นทุนสูงหมดไป มีการตรวจสอบความถูกต้องหรือประวัติเครดิตและติดตามได้ในทันที สร้างความเชื่อถือและความโปร่งใสให้กับข้อมูลและธุรกรรมต่างๆ ซึ่งทำให้ธุรกรรมที่ผิดพลาดหรือการฉ้อโกงหมดไป พร้อมกับต้นทุนการทำธุรกรรมที่ลดลงเมื่อเทียบกับระบบการทำธุรกรรมแบบเดิม

                เมื่อข้อมูลการทำธุรกรรมใหม่ๆ ที่ได้รับการจัดเก็บบนบล็อคเชนสามารถตรวจสอบได้ จึงเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพในหลายแง่ อาทิ การระบุตัวตนและข้อมูลเกี่ยวกับลูกค้า (KYC) การเสริมประสิทธิภาพของระบบนิเวศด้านการขนส่ง การตรวจสอบเส้นทางของสินทรัพย์ต่างๆ เป็นต้น

บทพิสูจน์เทคโนโลยี “บล็อกเชน” (Blockchain) กับความสำเร็จ ”เอสซีจี”

 

                กรณีศึกษาองค์กรที่ประสบความสำเร็จจากการนำบล็อกเชนมาประยุกต์ใช้ที่ชัดเจนเห็นจะเป็นบริษัทเอสซีจี ที่นำบล็อกเชนมาช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในกระบวนการจัดซื้อจัดจ้าง-วางบิล-ชำระเงิน  ภายใต้ชื่อแพลตฟอร์ม  “B2P” (Blockchain Solution for Procure-to-Pay) ซึ่งเป็นความร่วมมือกับพาร์ทเนอร์ที่มีความรู้และความเชี่ยวชาญอย่าง “ดิจิทัล เวนเจอร์ส”   โดยหลังจากเปิดให้คู่ค้ากว่า 240 ราย ทำรายการจัดซื้อจัดจ้าง (Purchase Order) ประเภทวัตถุดิบ (Raw Materials) วัสดุสิ้นเปลือง (Supply) วัสดุอะไหล่ (Spare Part) และการให้บริการ (Service)  เข้ามาใช้งานแพลตฟอร์ม 1 ปี  ผลลัพท์ที่ได้ออกมาคือ ช่วยลดระยะเวลาที่ใช้ในกระบวนการจัดซื้อจัดจ้าง-วางบิล-ชำระเงิน ได้กว่าร้อยละ 50 เหลือเฉลี่ย 35 นาที จาก 70 นาทีต่อรายการ จากการลดขั้นตอนในการรับ-ส่งข้อมูลและการตรวจสอบเอกสารต่าง ๆ ทำให้สามารถลดระยะเวลาที่ใช้ในการทำรายการตลอดกระบวนการจัดซื้อจัดจ้างต่อวันได้ 56,000 นาที อ้างอิงจากปริมาณรายการต่อวันเฉลี่ย 1,600 รายการหากมีคู่ธุรกิจเข้าใช้งานแพลตฟอร์มตามแผน

 

บทพิสูจน์เทคโนโลยี “บล็อกเชน” (Blockchain) กับความสำเร็จ ”เอสซีจี”

 

                รวมทั้งยังช่วยลดต้นทุนต่อรายการได้ร้อยละ 70 เมื่อเทียบกับกระบวนการทำงานแบบเดิม และทำให้การทำงานมีความกระชับและคล่องตัว (Lean Process) มากขึ้น จึงสามารถเปิดโอกาสให้พนักงานได้พัฒนาทักษะให้สามารถทำงานอื่นที่มีคุณค่ากับองค์กรและผู้มีส่วนได้เสียได้มากขึ้น เช่น การพัฒนาความรู้ด้านเทคโนโลยีดิจิทัล หรือสามารถนำข้อมูลต่าง ๆ มาวิเคราะห์ต่อยอดเพื่อให้เกิดประโยชน์กับธุรกิจได้

                นอกจากนี้ คู่ธุรกิจยังได้รับประโยชน์จากการใช้งานแพลตฟอร์ม B2P กับเอสซีจี เพราะทำให้สามารถตรวจสอบสถานะของรายการจัดซื้อจัดจ้างต่าง ๆ ได้แบบเรียลไทม์ รวมทั้งได้รับชำระเงินตรงตามกำหนด จากขั้นตอนการตรวจสอบรายการที่มีความรวดเร็วและถูกต้องมากขึ้น อีกทั้งยังเพิ่มโอกาสให้คู่ธุรกิจสามารถทำเรื่องขอสินเชื่อจากธนาคาร (Invoice Financing) บนระบบ B2P ได้สะดวกรวดเร็ว จึงทำให้คู่ธุรกิจเกิดสภาพคล่องทางธุรกิจมากขึ้น ซึ่งเอสซีจีก็ได้การสร้างการมีส่วนร่วมกับคู่ธุรกิจอย่างต่อเนื่อง เพื่อสร้างความรู้ ความเข้าใจ และให้คำปรึกษา ตั้งแต่การเริ่มต้นใช้งานไปจนถึงการช่วยแก้ปัญหาต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้นจากการใช้งาน ให้ทุกฝ่ายสามารถทำงานร่วมกันบนแพลตฟอร์ม B2P ได้อย่างดีที่สุด

                ทั้งนี้ เอสซีจีกำลังอยู่ระหว่างการพัฒนาฟังก์ชั่นการใช้งานบนแพลตฟอร์ม B2P เพื่อขยายผลไปยังประเภทการจัดซื้อจัดจ้างอื่น ๆ โดยตั้งเป้าให้มีจำนวนคู่ธุรกิจที่เข้ามาใช้งานแพลตฟอร์ม B2P 2,400 ราย ภายในปี 2563 รวมทั้งยังศึกษากระบวนการส่วนที่เป็นการขายสินค้าและบริการของเอสซีจีให้ลูกค้าหรือผู้แทนจำหน่าย ซึ่งครอบคลุมตั้งแต่กระบวนการส่งใบเรียกเก็บเงิน (Bill Presentment) การเก็บรวบรวมเอกสาร (Collection) และการจ่ายเงิน (Payment) ตลอดจนการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึกในมุมต่าง ๆ ที่จะเป็นประโยชน์ รวมถึงสร้างประสบการณ์ใหม่ให้ลูกค้าด้วย

                นายธรรมศักดิ์ เศรษฐอุดม ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่-การเงินและการลงทุน เอสซีจี กล่าวว่านอกจากเทคโนโลยี บล็อกเชน จะช่วยทำให้ข้อมูลต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในกระบวนการจัดซื้อจัดจ้าง-วางบิล-ชำระเงิน มีความน่าเชื่อถือ (Reliability) แล้ว ยังช่วยเชื่อมโยงผู้เกี่ยวข้องทั้งเครือข่ายเข้าด้วยกันเป็นอีโคซิสเทม (Ecosystem) ที่มีประสิทธิภาพ มีความปลอดภัยสูง (High Security) จากการทำให้แต่ละรายการถูกเข้ารหัสเพื่อความปลอดภัยและไม่สามารถแก้ไขข้อมูลได้ หากไม่ได้รับความยินยอมจากผู้เกี่ยวข้องในเครือข่าย และช่วยลดความผิดพลาดได้ดียิ่งขึ้น จากการที่ระบบสามารถตรวจสอบรายการในจุดต่าง ๆ ได้อย่างอัตโนมัติและแม่นยำ

 

บทพิสูจน์เทคโนโลยี “บล็อกเชน” (Blockchain) กับความสำเร็จ ”เอสซีจี”

 

                “แม้การนำเทคโนโลยีบล็อกเชน หรือเทคโนโลยีอื่น ๆ มาใช้จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพและความถูกต้องแม่นยำในการดำเนินธุรกิจได้ แต่ทุกองค์กรควรคำนึงถึงการใช้งานที่ช่วยทำให้ข้อมูลเกิดความน่าเชื่อถือ โดยองค์กรที่พึ่งเริ่มต้นนำเทคโนโลยีต่าง ๆ มาใช้ ก็อาจทดลองกับอีโคซิสเทมที่มีอยู่แล้ว โดยเฉพาะคู่ธุรกิจที่มีความรู้และความเข้าใจในการใช้งานเทคโนโลยีนั้น ๆ เป็นอย่างดี เพื่อให้คนในองค์กรสามารถปรับตัวได้อย่างรวดเร็วและใช้งบประมาณได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น แต่สิ่งสำคัญคือต้องคิดและเริ่มต้นให้เร็ว เพราะยิ่งองค์กรก้าวได้เร็วเท่าไหร่ก็จะยิ่งได้ประโยชน์ในยุคที่เทคโนโลยีและการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว ซึ่งหากองค์กรใดต้องการเริ่มต้นใช้งานเทคโนโลยีใหม่ ๆ โดยเฉพาะแพลตฟอร์ม B2P เอสซีจีก็ยินดีที่จะแบ่งปันองค์ความรู้ให้กับองค์กรต่าง ๆ ที่สนใจได้เช่นกัน”

 

บทพิสูจน์เทคโนโลยี “บล็อกเชน” (Blockchain) กับความสำเร็จ ”เอสซีจี”

 

บทพิสูจน์เทคโนโลยี “บล็อกเชน” (Blockchain) กับความสำเร็จ ”เอสซีจี”

 

บทพิสูจน์เทคโนโลยี “บล็อกเชน” (Blockchain) กับความสำเร็จ ”เอสซีจี”

 

บทพิสูจน์เทคโนโลยี “บล็อกเชน” (Blockchain) กับความสำเร็จ ”เอสซีจี”

 

ติดตามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ http://bit.ly/2LGfCGN