“ไวพจน์”หลุดเก้าอี้ส.ส. หลังศาลฎีกาพิพากษาคุก4ปี

11 ก.ย. 2562 | 05:40 น.

เหตุการณ์แกนนำ นปช. บุกล้มการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียนกับประเทศคู่เจรจา ที่ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพ เมื่อปี 2552 ซึ่งจัดขึ้นที่โรงแรมรอยัล คลิฟ บีช รีสอร์ท เมืองพัทยา  ล่าสุด(11 ก.ย.62 )ศาลฎีกาพิพากษายืนตามศาลชั้นต้น และศาลอุธรณ์  ตัดสินจำคุกนายอริสมันต์ กับพวกเป็นเวลา 4 ปี โดยไม่รอลงอาญา

 “ไวพจน์”หลุดเก้าอี้ส.ส. หลังศาลฎีกาพิพากษาคุก4ปี

ที่น่าสนใจคือพ.ต.ท. ไวพจน์ อาภรณ์รัตน์ แกนนำนปช.ที่ย้ายจากพรรคพลังประชาชน มาซบพรรคพลังประชารัฐ และปัจจุบันได้รับเลือกเป็นส.ส.กำแพงเพชร ในการเลือกตั้งครั้งล่าสุด    จากคำพิพากษาดังกล่าว  ส่งผลให้พ.ต.ท.ไวพจน์ พ้นจากการเป็น ส.ส.เพราะศาลได้ตัดสินจำคุกโดยไม่รอลงอาญา  ตำรวจสามารถออกหมายจับได้ทันที  หลังจากนี้ต้องมีการจัดการเลือกตั้งใหม่ ในเขต 2  จังหวัดกำแพงเพชร เช่นเดียวกับที่จะมีการจัดเลือกตั้งใหม่ในจังหวัดนครปฐม
พ.ต.ท. ไวพจน์ อาภรณ์รัตน์

นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี ระบุว่า เมื่อศาลฎีกาพิพากษาแล้ว จึงไม่เกี่ยวกับเอกสิทธิ์คุ้มครอง ส.ส.เพราะเอกสิทธิ์จะคุ้มครองเฉพาะตอนต่อสู้คดีเท่านั้น แต่เมื่อศาลพิพากษาแล้ว จึงไม่เกี่ยวกัน ดังนั้นกรณีนี้ถือว่า พ.ต.ท.ไวพจน์ พ้นจากการเป็น ส.ส.เพราะศาลได้ตัดสินจำคุกโดยไม่รอลงอาญา

 

“เมื่อมีคำพิพากษาจำคุกแล้ว ตำรวจสามารถออกหมายจับได้ทันที ด้วยเหตุนี้จึงต้องมีการจัดการเลือกตั้งใหม่ในเขตของ พ.ต.ท.ไวพจน์ เช่นเดียวกับที่จะมีการจัดเลือกตั้งใหม่ในจังหวัดนครปฐมที่ ส.ส.พรรคอนาคตใหม่ลาออก ซึ่งแน่นอนว่าจะมีผลต่อคะแนนรวมของพรรคด้วย แต่ไม่ทราบว่าจะมีผลมากน้อยเพียงใด”

 

นอกจากนี้ยังมีแกนนำนปช.ล้มประชุมอาเซียนที่ถูกศาลพิพากษาจำคุก 4ปี โดยไม่รอลงอาญา  ประกอบด้วย

อริสมันต์ พงศ์เรืองรอง
นายอริสมันต์ พงศ์เรืองรอง ได้รับเลือกตั้งเป็นส.ส.กทม.ปี 2538  สังกัดพรรคพลังธรรม  ต่อมาในปี 2548 ย้ายสังกัดลงเลือกตั้งพรรคไทยรักไทย  ได้เป็นส.ส.บัญชีรายชื่อ  และเป็นเลขานุการของนายประชา มาลีนนท์  รมว.พัฒนาสังคมและความมั้นคงของมนุษย์ ในขณะนั้น

  

ในการเลือกตั้งส.ส.ปี 2550 อริสมันต์  ลงเลือกตั้งส.ส.กทม. พรรคพลังประชาชนแต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง  และได้เข้าร่วมกับแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.)  


นายนิสิต สินธุไพร  อดีตส.ส.ร้อยเอ็ด  และเป็นผู้อำนวยการสโมสรฟุตบอลร้อยเอ็ด ยูไนเต็ล
 

ขณะที่แกนนำ นปช. ที่ถูกจำคุกและยังเหนียวแน่นอยู่กับพรรคเพื่อไทย   ประกอบด้วย นายนิสิต สินธุไพร  อดีตส.ส.ร้อยเอ็ด  และเป็นผู้อำนวยการสโมสรฟุตบอลร้อยเอ็ด ยูไนเต็ล
 
นายพายัพ ปั้นเกตุ  เป็นอดีตส.ส.จังหวัดสิงห์บุรี พรรคไทยรักไทย ในปี 2544 แต่ถูก กกต.ตัดสิทธิให้ใบเหลืองในปีต่อมา   ได้รับเลือกตั้งเข้ามาในการเลือกตั้งซ่อมปี 2548   เป็นส.ส.ในปี 2549  ลงสมัครรับเลือกตั้งส.ส.ครั้งแรกและได้เป็นส.ส. บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทยในปี 2554  

นายวรชัย เหมะ  เข้าเป็นสมาชิกกลุ่มคนเสื้อแดงประจำจังหวัดสมุทรปราการ ช่วงหลังรัฐประหาร 19 ก.ย.2549 ลงเลือกตั้งครั้งแรกและได้เป็นส.ส.จังหวัดสมุทรปราการ พรรคเพื่อไทย ปี 2554  

นายวันชนะ เกิดดี  ก่อนเข้ามามีบทบาทใน นปช. เคยเป็นนักร้องสังกัดบริษัทชัวร์ ออดิโอ จำกัด 

 

นายศักดา นพสิทธิ์  เป็นประธานแนวร่วมนปช.จังหวัดชลบุรี  เคยลงเลือกตั้งส.ส. ชลบุรี พรรคประชาธิปัตย์ ในปี 2544  แต่สอบตก   ลงเลือกตั้งแก้ตัวอีกครั้งในปี 2548 พรรคไทยรักไทย แต่สอบตกอีกครั้งจึงได้รับแต่งเป็นโฆษกพรรคเพื่อไทย ปัจจุบันเป็นรองเลขาธิการพรรคเพื่อชาติ  

 

นายพิเชษฐ์ สุขจินดาทอง  ได้ชื่อว่าเป็นมือขวาของ พล.ต.ขัตติยะ สวัสดิผล หรือ “เสธ.แดง”  มีบทบาทในทางการเมืองผ่านกลุ่มองค์กรพลังแผ่นดินแห่งประเทศไทย ในฐานะเลขาธิการกลุ่มองค์กรพลังแผ่นดิน  และเคยมีตำแหน่งประจำสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี  ในปี 2556

วรชัย เหมะ

นายสำเริง ประจำเรือ อดีตสมาชิกองค์การบริหารส่วนจังหวัด(ส.อบจ.)จันทบุรี เป็นแกนนำกลุ่มเสื้อแดงจันทบุรี ที่เอาการเอางาน และมีบทบาทนำมวลชนในพื้นที่เข้าร่วมเคลื่อนไหวใหญ่กับนปช.ในส่วนกลางอย่างต่อเนื่อง ในช่วงความขัดแย้งทางการเมืองสูงที่ผ่านมา รวมทั้งระดมพลมาสมทบการปิดล้อมและบุกล้มการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียน ในปี 2551 จนเป็นเหตุให้ต้องคดีจนถูกพิพากษาให้ติดคุก

 

นายนพพร นามเชียงใต้ เป็นแกนนำมวลชนต่อต้านการรัฐประหารของคมช.ตั้งแต่แรก ต่อมาเข้าร่วมเคลื่อนไหวในนามกลุ่ม"คนวันเสาร์ไม่เอาเผด็จการ" กับ“วราวุธ ฐานังกูร-สุดชาย บุญไชย-ดารนี ชาญเชิงศิลปกุล ที่ยื่นถวายฎีกาให้ปลดพล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ จากตำแหน่งองคมนตรี โดยกล่าวหาว่ารู้เห็นเป็นใจให้เกิดการยึดอำนาจรัฐบาลทักษิณ 

 

นพ.วัลลภ  ยังตรง จบแพทยศาสตรบัณฑิต จากม.เชียงใหม่ เป็นส.ส.สมุทรปราการครั้งแรก ในการเลือกตั้งปี 2535/2 สังกัดพรรคพลังธรรม หลังเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ  เมื่อทักษิณทิ้งพลังธรรม ได้ติดตามคุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธ์ มาเข้าพรรคไทยรักไทย เป็นส.ส.สมุทรปราการหลายสมัย จนช่วงขัดแย้งทางการเมืองมีบทบาทเด่นคู่กับ"ประชา ประสพดี"  เป็น 1 ใน 111 กรรมการบริหารพรรคไทยรักไทยถูกตัดสิทธิทางการเมือง 5 ปี จึงส่งอนุสรา ภริยาลงสนามแทน โดยนพ.วัลลภยังคงมีบทบาทเคลื่อนไหวทางการเมืองในร่มเงาเพื่อไทยต่อมา

 

นายสิงห์ทอง บัวชุม เป็นคนเชียงใหม่ จบด้านกฎหมายจากม.รามคำแหง และปริญญาโทรัฐประศาสนศาสตร์ ม.ศรีปทุม สิงห์ทองเข้าร่วมเป็นทีมกฎหมายของพรรคเพื่อไทย เคลื่อนไหวยื่นร้องให้ตรวจสอบกรณีการเกณฑ์ทหารของอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ สิงห์ทองเคยเป็นผู้สมัครส.ส.กทม.ของเพื่อไท