อุตฯ-คมนาคมเล็งดัน“เมดอินไทยแลนด์”เทียบ“เมดอินเจแปน”

12 ก.ย. 2562 | 08:15 น.

กระทรวงอุตสาหกรรมร่วมมือคมนาคม  และสมาคมการจัดการญี่ปุ่นฯ ดันสุดยอดเอ็กซ์โป MRA 2019 ครั้งแรกในไทย  เตรียมนำนวัตกรรมและเทคโนโลยียกระดับโรงงานในไทย

                นายภานุวัฒน์ ตริยางกูรศรี ผู้ตรวจราชการกระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวว่า กระทรวงได้ดำเนินการร่วมมือกับสมาคมการบริหารจัดการประเทศญี่ปุ่น หรือ JMA และกระทรวงคมนาคม เตรียมจัดงาน “Maintenance and Resilience Asia 2019” ภายใต้แนวคิด Smart Manufacturing & Smart Infrastructure ระหว่างวันที่ 2-4 ตุลาคม 2562 ที่ไบเทค บางนา  โดยมุ่งหวังยกระดับภาคการผลิต  และโครงสร้างพื้นฐานไทยให้มีประสิทธิภาพเทียบเท่าญี่ปุ่น โดยแนวทางการดำเนินงานด้านหนึ่งที่กระทรวงอุตสาหกรรม ให้ความสำคัญเป็นอย่างมากคือการส่งเสริมภาคการผลิตไปสู่ 4.0 ซึ่งมุ่งผลักดันให้มีการนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่ๆ ปัญญาประดิษฐ์หรือ AI เข้ามามีบทบาทสำคัญในการช่วยเพิ่มศักยภาพของผู้ประกอบการให้สอดคล้องกับนโยบายรัฐบาลในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมแห่งอนาคต

อุตฯ-คมนาคมเล็งดัน“เมดอินไทยแลนด์”เทียบ“เมดอินเจแปน”

ทั้งนี้ แนวทางดังกล่าวนอกจากจะช่วยยกระดับอุตสาหกรรมแล้ว ยังเป็นกลไกที่มีส่วนในการพัฒนาประเทศไทยให้มีความเท่าเทียมกับประเทศอุตสาหกรรมชั้นนำ และสำหรับปัจจัยสำคัญที่ภาคการผลิตต้องให้ความสำคัญในการดำเนินธุรกิจในปีถัดไปนั้นประกอบด้วยการพัฒนาศักยภาพแรงงาน เพื่อให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นตลอดเวลา  การส่งเสริมการตลาดควบคู่การผลิต  การมีแผนงานและระบบเทคโนโลยีที่มีประสิทธิภาพในการจัดการความเสี่ยง  การคิดค้น และนำเทคโนโลยีที่มีประสิทธิภาพมาใช้ในการผลิต  การติดตามสถานการณ์การค้าและอุตสาหกรรมในระดับมหภาค  

นายวิจิตต์  นิมิตรวานิช นักวิชาการขนส่งคุณวุฒิ สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร กระทรวงคมนาคม กล่าวว่า การคมนาคมในปีถัดไปจะเป็นอีกหนึ่งภาคส่วนที่มีความสำคัญต่อการพัฒนาเศรษฐกิจในฐานะการเป็นโครงสร้างพื้นฐานที่มีศักยภาพและความแข็งแกร่งที่มากขึ้น สามารถเชื่อมโยงทุกภาคส่วนเข้าไว้ด้วยกันโดยเฉพาะในการเชื่อมต่อระบบขนส่งกับสิ่งอำนวยความสะดวก การแข่งขันด้านโลจิสติกส์ การเดินทาง และการยกระดับคุณภาพการใช้ชีวิตให้ดีขึ้นตามการเปลี่ยนแปลงของโลกยุคใหม่ตั้งแต่ในระดับภูมิภาค ส่วนกลาง และส่วนท้องถิ่น โดยความท้าทายสำหรับการพัฒนาระบบคมนาคมให้เชื่อมโยงกับการพัฒนาเศรษฐกิจในปีถัดไปมีเรื่องที่ต้องให้ความสำคัญและแข่งขันในภาพรวมได้แก่

อุตฯ-คมนาคมเล็งดัน“เมดอินไทยแลนด์”เทียบ“เมดอินเจแปน”

การยกระดับความปลอดภัย ประสิทธิภาพของการเดินทางและการคมนาคมขนส่งด้วยนวัตกรรม เทคโนโลยี รวมถึงหลักการทางวิศวกรรม เพื่อลดค่าใช้จ่ายในการซ่อมแซมและการบำรุงรักษาที่ในภาพรวมมีมูลค่าไม่ต่ำกว่าภาคอุตสาหกรรม รวมถึงต้องขับเคลื่อนระบบคมนาคมขนส่งให้สอดรับกับนโยบายการขับเคลื่อนสมาร์ทซิตี้ของรัฐบาล นอกจากนี้ยังจะได้เห็นเทคโนโลยีที่ทำให้การก่อสร้างระบบคมนาคมมีความรวดเร็วขึ้นด้วยการใช้ AI ทดแทนกิจกรรมที่แรงงานมนุษย์ไม่สามารถกระทำได้ และลดขั้นตอนต่างๆได้อีกด้วย 

อุตฯ-คมนาคมเล็งดัน“เมดอินไทยแลนด์”เทียบ“เมดอินเจแปน”

,การนำระบบเทคโนโลยีและดิจิทัลมาใช้ในการบริหารจัดการ เพื่อให้คนเมือง ระดับหัวเมือง และส่วนอื่นๆ เช่นนักท่องเที่ยว ได้รับข้อมูลข่าวสารสำหรับการเดินทางที่เป็นประโยชน์มากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ ภาคส่วนที่เกี่ยวข้องยังจะต้องมีการแบ่งปันข้อมูล (บิ๊กดาต้า) เพื่อความคล่องตัวในการดำเนินงาน การสร้างผลประโยชน์ร่วมกันในรูปแบบเศรษฐกิจแบ่งปันหรือ Sharing Economy และยกระดับให้การเดินทางมีความสมบูณณ์แบบมากขึ้น

อุตฯ-คมนาคมเล็งดัน“เมดอินไทยแลนด์”เทียบ“เมดอินเจแปน”

,ระบบขนส่งที่ประหยัดพลังงานและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและเป็นสิ่งที่หลายๆประเทศทั่วโลกกำลังดำเนินนโยบายดังกล่าว ไม่ว่าจะเป็นการใช้รถยนต์ไฟฟ้า การขนส่งระบบราง การใช้พลังงานสะอาด ซึ่งจะเป็นประโยชน์ในแง่ของการพัฒนาคุณภาพชีวิต และการเติบโตที่ยั่งยืน  ,การมีระบบคมนาคมที่มีความทนทานต่อสภาวะต่างๆ เช่น อุทกภัย แผ่นดินไหว หรือภัยธรรมชาติต่างๆ ซึ่งปัจจัยเหล่านี้มีแนวโน้มเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง และมักก่อให้เกิดความเสียหายอย่างรุนแรง โดยในการพัฒนาด้านดังกล่าวจะเป็นประโยชน์ในการสร้างความต่อเนื่องให้กับกิจกรรมการเดินทาง การขนส่ง และที่เกี่ยวข้องในเชิงเศรษฐกิจ ซึ่งประเทศไทยถือว่ายังมีจุดด้อยในเรื่องนี้

อุตฯ-คมนาคมเล็งดัน“เมดอินไทยแลนด์”เทียบ“เมดอินเจแปน”

,การพัฒนาบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญในด้านคมนาคม โดยเฉพาะที่มีทักษะด้านวิศวกรรม และทักษะด้านดิจิทัลและเทคโนโลยี เพื่อลดการพึ่งพาบุคลากรกลุ่มดังกล่าวจากต่างประเทศ โดยภาครัฐและภาคเอกชนยังจำเป็นจะต้องมีการเชื่อมโยงกับสถาบันการศึกษาเพื่อผลิตบุคลากรที่มีคุณสมบัติในด้านคมนาคมขั้นสูง เช่น วิศวกรระบบราง ช่างเทคนิค วิศวกรด้านระบบอุโมงค์ใต้ดิน วิศวกรด้านการวิเคราะห์ระบบ ฯลฯ  เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการคมนาคมไทยให้ดียิ่งขึ้น  และการมีระบบขนส่งขนาดรองที่เหมาะสมกับเมือง เช่น รถบัส โมโนเรล ยานพาหนะไฟฟ้าขนาดเล็กที่สอดคล้องกับการใช้ชีวิต เช่น ที่อยู่อาศัย ที่ทำงาน สถานศึกษา สถานพยาบาล และบริการสาธารณะอื่นๆ เพื่อให้การใช้ชีวิตง่ายยิ่งขึ้น

นายอัตสึชิ  เทเรดะ  ผู้จัดการอาวุโส JMA กล่าวว่า ประเทศญี่ปุ่นเล็งเห็นว่าประเทศไทยเป็นประเทศหนึ่งที่มีศักยภาพในด้านอุตสาหกรรม เป็นพันธมิตรและฐานการผลิตให้กับโรงงานอุตสาหกรรมญี่ปุ่นเป็นเป็นจำนวนมาก  รวมทั้งยังอยู่ในช่วงของการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานประเภทต่างๆ เพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศให้เติบโตในทิศทางที่ดีขึ้น ทั้งนี้ ในฐานะพันธมิตรทางการค้าและเศรษฐกิจ จึงได้มีแนวคิดที่จะช่วยขับเคลื่อนภาคส่วนต่างๆของประเทศไทยให้มีความทันสมัยและทัดเทียมกับญี่ปุ่น

อุตฯ-คมนาคมเล็งดัน“เมดอินไทยแลนด์”เทียบ“เมดอินเจแปน”

JMA เชื่อมั่นว่ากิจกรรมดังกล่าวจะช่วยให้ภาคอุตสาหกรรม ภาคคมนาคม และในส่วนของโครงสร้างพื้นฐานของไทยแข็งแกร่งได้เช่นเดียวกับประเทศญี่ปุ่น ซึ่งถือเป็นหนึ่งในผู้นำของโลกในเรื่องความสมบูรณ์แบบของระบบขนส่งและโครงสร้างพื้นฐานสาธารณูปโภค โดยยังจะช่วยให้รู้วิธีการจัดการกับการผลิตที่มีประสิทธิภาพ ระบบขนส่ง ถนน อุโมงค์ สะพาน รถไฟ ฯลฯ ที่ญี่ปุ่นมีการใช้งานมากว่า 50 ปีแต่ยังมีความคงทนและฟื้นฟูได้รวดเร็ว และสามารถรับมือภัยพิบัติทางธรรมชาติที่ประสบครั้งแล้วครั้งเล่า”

นอกจากนี้ ยังจะมีการนำนวัตกรรมและเทคโนโลยี อาทิ เซ็นเซอร์ ปัญญาประดิษฐ์ ระบบอัตโนมัติและหุ่นยนต์ IoT ฯลฯ มาร่วมจัดแสดงและให้ความรู้ การประชุมสัมมนา ตลอด 3 วันการจัดงาน และจะมีการบรรยายและการนำเสนอกรณีศึกษาต่างๆ ที่จะช่วยผลักดันให้ทุกภาคส่วนปรับตัวให้เข้ากับกระแสการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี เพื่อให้ทันต่อการแข่งขันในระดับภูมิภาคอาเซียนและระดับโลก