ยังไม่จบ! ไทม์ไลน์ 60 วัน “เอาต์เลตหรู”  ส่งแผนป้องเสี่ยงการบิน“กพท.”

13 ก.ย. 2562 | 09:53 น.

กพท.ยัน“เซ็นทรัล วิลเลจ”ไม่กระทบเขตปลอดภัยการบินทั้งในเรื่องของการรบกวนสัญญาณวิทยุสื่อสารและเครื่องช่วยในการเดินอากาศ ส่วนความเสี่ยงกรณีการถูกก่อการร้ายขณะร่อนลงสู่สนามบินก็อยู่ในระดับต่ำ ทั้งให้เวลาซีพีเอ็น 60 วัน ทำรายงาน-แผนป้องกัน จากการจัดกิจกรรมของโครงการ ที่ต้องไม่กระทบต่อการบิน

สืบเนื่องจากบริษัทท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน)หรือทอท. ทำให้หนังสือด่วนที่สุดมายังสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทยหรือกพท. เมื่อวันที่ 26 สิงหาคม 2562 ให้ตรวจสอบผลกระทบจากการก่อสร้างของโครงการเซ็นทรัล วิลเลจ  ภายในเขตปลอดภัยในการเดินอากาศ ณ ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ

 ยังไม่จบ! ไทม์ไลน์ 60 วัน “เอาต์เลตหรู”  ส่งแผนป้องเสี่ยงการบิน“กพท.”

ซึ่งล่าสุดกพท.ได้ดำเนินการตรวจสอบแล้ว พบว่าการก่อสร้างของโครงการนี้ไม่ได้ส่งผลกระทบต่อการบินในเขตปลอดภัยการบินแต่อย่างใด และได้ทำหนังสือด่วนที่สุด ชี้แจงไปยังทอท.แล้วเมื่อวันที่ 6 กันยายนที่ผ่านมา

 

นายจุฬา  สุขมานพ ผู้อำนวยการสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทยหรือกพท. เปิดเผยกับ “ฐานเศรษฐกิจ”ว่า กพท.ตรวจสอบแล้ว พบว่าการก่อสร้างของโครงการนี้ไม่ได้ส่งผลกระทบต่อการบินในเขตปลอดภัยการบิน ทั้งในเรื่องของการรบกวนสัญญาณวิทยุสื่อสารและเครื่องช่วยในการเดินอากาศ 

 ยังไม่จบ! ไทม์ไลน์ 60 วัน “เอาต์เลตหรู”  ส่งแผนป้องเสี่ยงการบิน“กพท.”

เนื่องจากอาคารคอนกรีตเสริมเหล็กในโครงการเซ็นทรัล วิลเลจ มีขนาดความสูง 23.00 เมตร จากระดับดินเดิม เป็นความสูง สูงสุดของโครงการอยู่ใต้พื้นผิว Visual Surface Segment ของทางวิ่ง 01R ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ซึ่งมีพื้นผิวในตำแหน่งดังกล่าว สูง 208 ฟุต เหนือหัวทางวิ่ง (Threshold) ของทางวิ่ง 01R หรือที่ความสูง 64.76 เมตรเหนือระดับน้ำทะเล ซึ่งไม่ส่งผลกระทบต่อ Instrument Flight Procedure (IFP) ณ ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ

อีกทั้งจากการบินทดสอบและการตรวจสอบของบริษัท วิทยุการบินแห่งประเทศไทย จำกัด พบว่าอาคารดังกล่าวไม่ส่งผลกระทบต่อเครื่องช่วยเดินอากาศที่ใช้สำหรับท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ และยังไม่ส่งผลกระทบต่อพื้นผิวป้องกันสิ่งกีดขวาง (Obstacle Protection Surface) เนื่องจากพื้นที่ดังกล่าวได้รับอนุญาตให้ทำการก่อสร้างและมีความสูงเป็นไปตามหลักเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนด รวมทั้งในช่วงระยะเวลาที่ผ่านมาไม่มีการรายงานการเป็นสิ่งกีดขวางเครื่องช่วยในการเดินอากาศแบบ PAPI จากการบินทดสอบ

 ยังไม่จบ! ไทม์ไลน์ 60 วัน “เอาต์เลตหรู”  ส่งแผนป้องเสี่ยงการบิน“กพท.”

ส่วนในเรื่องของแสงและไฟที่อาจเป็นอันตรายต่อความปลอดภัยของอากาศยาน และอาจทำให้นักบินสับสนนั้น จากข้อมูลเบื้องต้นที่มีอยู่ในปัจจุบัน ไฟที่ใช้โดยทั่วไปในพื้นที่จะไม่มีผลกระทบต่อความปลอดภัยในการบิน เนื่องจากมีความเข้มของแสงน้อยและไม่ได้ส่องขึ้นฟ้าโดยตรง สำหรับประเด็นเรื่องของ กิจกรรมอันอาจจะทำให้เกิดควัน ทำให้ทัศนวิสัยสนามบินลดลง จากข้อมูลเบื้องต้นที่มีอยู่ในปัจจุบัน ยังไม่พบกิจกรรมของโครงการเซ็นทรัล วิลเลจ ที่อาจทำให้เกิดควันที่ทำให้ทัศนวิสัยของสนามบินลดลง


ขณะที่ประเด็นว่าพื้นที่อันอาจมีกิจกรรมดึงดูดนก เป็นความเสี่ยงที่ทำให้อาจเกิดอุบัติเหตุจากอากาศยานขนนกเพิ่มมากขึ้นปัจจุบัน กพท. ยังไม่มีข้อกำหนดหรือข้อห้ามเกี่ยวกับการใช้พื้นที่บริเวณโดยรอบสนามบินแต่อยู่ในระหว่างการจัดทำกฎหมายลำดับรองเพื่อให้เป็นไปตาม มาตรา 59/2 (4) แห่งพระราชบัญญัติการเดินอากาศ (ฉบับที่ 14) พ.ศ. 2562 กำหนดห้ามมิให้บุคคลใดดำเนินกิจกรรมอื่นตามที่ผู้อำนวยการประกาศกำหนด ซึ่งจะต้องกำหนดเท่าที่จำเป็นและไม่กระทบต่อชีวิตประจำวันหรือสร้างภาระแก่ประชาชนเกินสมควร
 
ทั้งนี้ปัจจุบัน กพท. อยู่ในระหว่างดำเนินการออกประกาศหลักเกณฑ์ดังกล่าว อย่างไรก็ตาม ข้อ 1056 และ 1060 ของข้อกำหนด กพท. ฉบับที่ 14 ว่าด้วยมาตรฐานสนามบิน กำหนดให้สนามบินต้องมีกระบวนการการบริหารจัดการอันตรายที่เกิดจากสัตว์ โดยให้มีการประสานความร่วมมือระหว่างสนามบินและเจ้าของที่ดิน เพื่อทราบถึงแนวทางการพัฒนาห้องที่และการดำเนินกิจกรรมอื่น ๆ ซึ่งอาจมีผลก่อให้เกิดแหล่งที่อยู่อาศัยของนกทำให้เป็นอันตรายต่อการปฏิบัติการบินของอากาศยานในเขตสนามบินและรอบ ๆ สนามบินภายในรัศมี 13 กิโลเมตร จากจุดอ้างอิงสนามบิน

 ยังไม่จบ! ไทม์ไลน์ 60 วัน “เอาต์เลตหรู”  ส่งแผนป้องเสี่ยงการบิน“กพท.”  
สำหรับประเด็นเรื่องการเป็นพื้นที่ Laser Emission Free Zone ตามข้อกำหนดมาตรฐานและข้อแนะนำตาม  ICAO Annex 14 นั้น ตามมาตรา 59/2 (1) แห่งพระราชบัญญัติการเดินอากาศ พ.ศ. 2497 กำหนดห้ามมิให้บุคคลใดปล่อยแสงเลเซอร์ หรือแสงไฟขึ้นไปสู่อากาศภายในเขตปลอดภัยในการเดินอากาศ เว้นแต่ได้ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่ผู้อำนวยการประกาศกำหนด ซึ่งปัจจุบัน กพท. อยู่ในระหว่างดำเนินการออกประกาศหลักเกณฑ์ดังกล่าว 

อย่างไรก็ตามเพื่อป้องกันผลกระทบที่อาจเกิดจากกิจกรรมของ โครงการเซ็นทรัล วิลเลจ กพท. ได้มีการแจ้งให้บริษัท ซีพีเอ็น วิลเลจ จำกัด ให้เวลา 60 วัน ในการจัดทำรายงานผลกระทบความปลอดภัยในการเดินอากาศ เพื่อประเมินความเสี่ยงและบริหารจัดการเพื่อป้องกันความเสี่ยงดังกล่าว และส่งให้ กพท. ให้ความเห็นชอบเพื่อใช้ในการติดตามการดำเนินการกิจกรรมต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นต่อไป 

นายจุฬา ยังกล่าวต่อว่า  ในส่วนของการชี้แจงของกพท.ว่าโครงการนี้ จะมีความเสี่ยงต่อความปลอดภัยทางการบิน กรณีที่อาจถูกแทรกแซงโดยมิชอบด้วยกฎหมายขณะอากาศยานร่อนลงสู่สนามบินในระดับต่ำ จากการฝึกอบรมของ กพท. ร่วมกับ Transportation Security Administration ของสหรัฐอเมริกา เมื่อวันที่ 14 - 23 สิงหาคม 2562 ที่ได้มีการประเมินความเสี่ยงด้าน การรักษาความปลอดภัยในบริเวณโครงการเซ็นทรัล วิลเลจ พบว่า บริเวณพื้นที่ดังกล่าวมีความเสี่ยงต่อการถูกแทรงแซงโดยมิชอบด้วยกฎหมายขณะอากาศยาน Take-off และ Landing ในระดับต่ำ (Low Risk)

 ยังไม่จบ! ไทม์ไลน์ 60 วัน “เอาต์เลตหรู”  ส่งแผนป้องเสี่ยงการบิน“กพท.”

ประเด็นนี้เป็นเรื่องของการรักษาความปลอดภัย จากภัยการก่อการร้ายที่อาจจะเกิดขึ้นได้  ขณะอากาศยาน Take-off และ Landing ในระดับต่ำ (Low Risk)  ซึ่งพื้นที่ที่อยู่ใกล้สนามบินก็จะมีความเสี่ยงในเรื่องนี้เกิดขึ้นในทุกสนามบิน ที่จะมีความเสี่ยงมากน้อยต่างกัน  ดังนั้นท่าอากาศยานสุวรรณภูมิและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจัดทำมาตรการรักษาความปลอดภัยเพื่อบรรเทาความเสี่ยงต่อการถูกแทรงแซงในกรณีนี้ 
 
นอกจากนี้ข้อถามว่าการเกิดขึ้นของโครงการนี้ จะทำให้ขีดความสามารถระบบถนนเข้าสู่สนามบินอาจลดลง ส่งผลกระทบต่อขีดความสามารถสนามบินตามแผนแม่บท และแผนพัฒนาสนามบินในปัจจุบันและอนาคต เรื่องนี้กพท. ไม่มีอำนาจในการกำกับดูแลระบบการขนส่งเชื่อมโยงสนามบิน ทอท. จึงควรประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อวางแผนและบริหารจัดการขีดความสามารถของระบบถนนเข้าออกสนามบินต่อไป เพราะในปัจจุบันแผนแม่บทและแผนพัฒนาสนามบินสุวรรณภูมิถือว่าเป็นแผนในระดับองค์กร (Corporate Plan) ซึ่งไม่อยู่ภายใต้บังคับให้ได้รับความเห็นชอบจาก กพท.